รวมข่าว AEC ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555
ธุรกิจรับสร้างบ้าน พร้อมรับมือ AEC
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยกระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC” ดึงกูรูแถวหน้าของวงการ จัดสัมมนาให้ข้อมูลแบบเจาะลึกเฉพาะด้านอย่างต่อเนื่องตลอดปี หวังสร้างมาตรฐานผู้รับเหมาอิสระสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านเต็มตัว เตรียมพร้อมสู่การเปิดตลาดเสรี
พัชรา ตัณฑยรรยง นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านนับเป็นอีกหนึ่งภาคของธุรกิจที่อยู่อาศัยที่มีการพัฒนาและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในช่วงที่ผ่านมาในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านและในส่วนของบริษัทผู้รับเหมารายย่อยอิสระ ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานในเรื่องการบริการ การออกแบบ และการก่อสร้าง ดังนั้นในปีนี้สมาคมฯ จึงมีนโยบายและแนวคิดที่จะยกระดับมาตรฐานธุรกิจรับสร้างบ้านครั้งใหญ่จึงได้กำหนดแนวยุทธศาสตร์ คือ “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยกระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC”
ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานทางวิชาชีพให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ มาตรฐานและความน่าเชื่อถือของผู้บริโภค อันจะนำมาซึ่งการขยายฐานตลาดรับสร้างบ้านให้มีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในด้านความรู้ ความสามารถในการบริหาร โครงการให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจรับสร้างบ้าน และลดปัญหา ข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการรับสร้างบ้านกับผู้บริโภค ตลอดจนให้สมาคมฯ เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อันจะนำไปสู่การเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ AEC อีกด้วย
สำหรับยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วยการจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเปิดตัวโครงการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 ภายใต้หัวข้อ “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยก ระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก โดยมีปาฐกถาพิเศษ “ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2555 การปรับตัวรับ AEC และ ทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย” โดยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ยังเตรียมจัดฝึกอบรมแบบเจาะลึกในด้านมาตรฐานวิชาชีพอีกจำนวน 6 ครั้ง โดยกำหนดจัดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเดือนละครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2555 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐาน ของธุรกิจรับสร้างบ้านเฉพาะทาง โดยวิทยากร ผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งโครงการฝึกอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสมาชิก ของสมาคมฯ และยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก อาทิ กลุ่มผู้รับเหมารายย่อย หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมอบรมโครงการดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อเป็นการพัฒนากลุ่มผู้รับเหมารายย่อยอิสระ และผู้ที่สนใจสามารถที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานต่อไป
ปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมของบ้านสร้างเองทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 55,000 ล้านบาทต่อปี โดยในปีที่ผ่านมาในส่วนของบริษัทรับสร้างบ้านมีส่วนแบ่งประมาณ 20% จากมูลค่าตลาดรวม จะเห็นได้ว่ามูลค่าของส่วนแบ่งการตลาด ที่เหลือจะเป็นของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมาอิสระทั่วไป ซึ่งนับว่ามีปริมาณที่มาก อย่างไรก็ดี ถ้าสามารถให้บริษัทผู้รับเหมา และผู้รับเหมาอิสระเข้าสู่ในระบบได้ก็จะทำให้มูลค่าของตลาดรวม ของธุรกิจรับสร้างบ้านมีการเติบโตมากขึ้น และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานทั้งธุรกิจไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริษัทรับสร้างบ้านที่ครบวงจร และมีมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
“ที่ผ่านมาสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานของธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับกับผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่ในปีนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมาตรฐาน ในการพัฒนาทางด้านวิชาชีพในเชิงรุกและให้ความสำคัญมากขึ้น เป็นทวีคูณ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจของธุรกิจรับสร้างบ้านแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามากระทบในเรื่องการบริหารงาน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสู่เวที AEC ในอนาคต” พัชรากล่าว
สามารถคลิกอ่านข่าวและดูภาพประกอบได้ที่ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=94599
--ผู้จัดการ 360 องศา ฉบับประจำเดือน พฤษภาคม 2555--
โพสต์ทูเดย์ -ซีฟโก้ฯ รับเหมาเจาะเสาเข็ม เตรียมลุยอาเซียนเปิดเออีซี ชี้ภาพรวมก่อสร้างดีขึ้น คาดรายได้โตจากปีก่อน 20%
นายณรงค์ ทัศนนิพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีฟโก้ คอนสตรัคชั่น เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทมีแผนจะรับงานก่อสร้างในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี2558 เนื่องจากความต้องการด้านการก่อสร้างในหลายประเทศยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในประเทศที่เปิดใหม่อย่างเช่นพม่า ที่กำลังเปิดประเทศมากขึ้น รวมไปถึงลาวกัมพูชา สิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณางานที่จะเข้าไปดำเนินการ
ขณะที่งานก่อสร้างในประเทศนั้นยังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างจากภาคเอกชน ส่วนงานก่อสร้างของภาครัฐเริ่มมีมากขึ้นด้วย ซึ่งหากการเมืองในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น จะยิ่งทำให้บรรยากาศการลงทุนคึกคักมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังประสบกับวิกฤตทำให้การลงทุนมุ่งมายังประเทศในแถบเอเชียมากขึ้นด้วย
"เวลานี้บริษัทอยู่ระหว่างเข้าไปร่วมประมูลงานจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นงานของภาคเอกชนทั้งหมด เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองมีมากขึ้นจึงทำให้มีการก่อสร้างโครงการแนวสูงมากขึ้นตามไปด้วย และยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่บริษัทจะเข้าไปประมูลก่อสร้างมูลค่า 300 ล้านบาทด้วย"นายณรงค์ กล่าว
สำหรับปีนี้บริษัทได้ตั้งงบลงทุนไว้ 50 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในเครื่องจักรเสาเข็มปัจจุบันมียอดแบ็กล็อกหรือยอดรอรับรู้รายได้จำนวน 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้ในปีนี้ได้เกือบหมด คงเหลือประมาณ 100-200 ล้านบาท โดยรายได้รวมปีนี้ตั้งไว้ที่ 1,800 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 15-20%ที่มีรายได้ 1,500 ล้านบาท ขณะที่กำไรในไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ของปีนี้คงใกล้เคียงกันอยู่ที่ 37 ล้านบาทต่อไตรมาส
นายณรงค์ ย้ำว่า ธุรกิจของบริษัทในปีนี้ภาพรวมจะมีกำไรแน่หลังจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุนปีละ 58 ล้านบาท จึงได้หันมารับงานก่อสร้างที่มีกำไรมากขึ้นเช่น งานก่อสร้างเสาเข็มที่ได้กำไรมากขึ้นถึง 70% จากเมื่อ2 ปีก่อนนั้นได้ไม่ถึง 50% m--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
คอลัมน์: AEC Monitor: ศักยภาพแบงก์ไทยในเวทีอาเซียน
Source - การเงินธนาคาร (Th)
Tuesday, November 29, 2011 11:18
38086 XTHAI XECON XCORP XBANK XFINMKT IKEY V%MAGL P%MNYM
'รุ่ง' หรือ'ร่วง'หากไทยเข้าสู่ AEC
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 23, 2012 02:45
35227 XTHAI XCLUSIVE XECON DAS V%PAPERL P%PTK
ปี2558 หรือ ค.ศ. 2015 ประเทศไทยรวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมตัวกันเพื่อเป็น "ประชาคมอาเซียน" ทำให้หลายภาคส่วนตื่นตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของภาคเศรษฐกิจที่จะต้องปรับตัวกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)จึงร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นจัดสัมมนาพิเศษหัวข้อ "รุ่ง หรือ ร่วง AEC" เพื่อร่วมเสนอความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นายอรินทร์ จิรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากมองไปในอนาคตถือว่า AEC จะรุ่งและไปได้แน่นอน แต่จะเป็นประเทศไทยหรือไม่ที่จะได้ประโยชน์ ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจในเรื่องดังกล่าว ถ้าหากบริษัทเตรียมพร้อมก็สามารถเป็นไปได้ด้วยดี แต่หากไม่พร้อม คงจะลำบาก โดยเฉพาะธุรกิจประเภทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME)เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มีบุคลากรและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่ถ้าเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีต้องตระหนักเป็นอย่างมาก เพราะการแข่งขันสูง หากไม่มีการเตรียมพร้อมที่ดี ก็อาจลำบาก
"ถือว่าธุรกิจเอสเอ็มอีมีเวลา 3 ปีในการจะปรับตัว จึงควรตระหนักและใส่ใจในเรื่องนี้ให้มาก"
ด้าน นายสุภัฒ สงวนดีกุล ผู้อำนวยการสำนักยุโรปและละตินอเมริกา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเข้าเป็น AEC นั้น ไทยจะลงทุนหรือทำธุรกิจในอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งก็มีทั้งผลได้และผลเสีย ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการของไทยว่าจะ ปรับตัวอย่างไร
"AEC เป็นโอกาสของธุรกิจในทุกขนาด ดังนั้นควรจะใช้ยุทธศาสตร์ในเชิงรุก มากกว่าตั้งรับ และควรมองการใช้ประโยชน์จากตลาดที่ใหญ่ขึ้น การแข่งขันใน AEC ไทยจะได้เปรียบ หากผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ"
ส่วน นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม แสดงมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า ไทยจะรุ่งหรือร่วงนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้ หากมีการปรับตัว ก็สามารถอยู่รอดได้ แต่ถ้าไม่มี ก็ถือว่าร่วง
"โอกาสของไทยน่าจะเป็นเรื่องของที่ตั้งของประเทศ เพราะล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยยังมีจุดด้อย คือเรื่องการขนส่งและการดำเนินธุรกิจรวมถึงธุรกิจ เอสเอ็มอีมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นต้องปรับตัวสร้างมาตรฐานในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์)--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 พ.ค. 2555--
ดีเอชแอลผุดศูนย์ขนส่งไฮเทคปักธงใช้ไทยฮับตลาด'เออีซี'
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 23, 2012 02:56
39663 XTHAI XECON XCORP XSALES XCONSUME DAS V%PAPERL P%PTK
"ดีเอชแอล" ลุยขนาดศูนย์ขนส่งในกรุงเทพฯแห่งที่ 5 "พระราม 3" ทุ่มใช้ไฮเทค WDL หวัง 3 ปีขึ้นแท่นเบอร์ 1 พร้อมไทยเป็นฮับโลจิสติกส์ตลาดเออีซี
นางชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์ กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และภาคพื้นอินโดจีน เปิดเผยว่า วางกลยุทธ์ให้ไทยเป็นศูนย์กระจายสินค้ารับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 พร้อมขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการขนส่งภูมิภาคนี้ไปพร้อมกับประเทศไทย ซึ่งประกาศภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะยกระดับเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เอเชีย (Logistic Hub of Asia) ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดีเอชแอลจึงได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่แห่งที่ 5 ในกรุงเทพฯ บนถนนพระรามที่ 3 เป็นศูนย์แรกที่ใช้ระบบ Dual Weight Dimension Length : WDL รวมการลงทุน 124 ล้านบาท ในพื้นที่ 2,448 ตารางเมตร รองรับสินค้าได้มากถึงวันละ 3,700 ชิปเมนต์ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการ มองหาโอกาสใหม่ ที่มีบริการเป็นเลิศ โดยคำนึงถึงการบริหารต้นทุนจึงได้นำอุปกรณ์สแกนเนอร์เทคโนโลยีสูงเข้ามาใช้ตรวจวัตถุต้องห้ามทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ
ส่วนค่าบริการขนส่งทางดีเอชแอลจะปรับขึ้นลงทุกเดือนตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน ตามวิธีปฏิบัติได้แจ้งลูกค้าล่วงหน้าทุกเดือน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหลักรายใหญ่ คือ การขนส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) สินค้าอัญมณีส่งออก โดยเฉพาะการขนส่งด่วนดีเอชแอลสามารถสร้างการเติบโตในเอเชียได้ถึง 3 เท่า โดยใช้กรุงเทพฯเป็นศูนย์เชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในตลาดอาเซียน ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ขณะนี้ในพม่าก็มีศูนย์ของดีเอชแอลด้วยเช่นกัน
นายยาสมิน อลาดาด คาน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่า ตั้งเป้าจะใช้ศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ตรงพระราม 3 เป็นตัวเร่งและขับเคลื่อนดีเอชแอลให้เติบโตเร็วกว่าคู่แข่งทุกประเทศในอาเซียน พร้อมขึ้นเป็นผู้นำโลจิสติกส์ตลาดเออีซี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 พ.ค. 2555--
นักธุรกิจเหนือชี้เออีซีหนุนเอสเอ็มอีจี้รัฐป้อนองค์ความรู้แข่งเพื่อนบ้าน
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Friday, May 25, 2012 05:30
55263 XTHAI XECON XGEN XINTER IKEY V%NETNEWS P%WKT
ประภาภรณ์ เครืองิ้ว
"ภาครัฐควรกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตื่นตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากพบที่จะแข่งขันตลาดอาเซียน"
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในปี 2558 ทำให้นักธุรกิจของประเทศดังกล่าว
จำเป็นต้องปรับตัวแสวงหาความรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในเวทีอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ที่จะมีโอกาสก้าวสู่เวทีระดับประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องสนับสนุนป้อนองค์ความรู้ของผู้ประกอบการในตลาดอาเซียนแก่นักธุรกิจไทย
นายสิชา สิงห์สมบุญ ประธานกรรมการ บริษัท เอเอซี กรีนซิตี้ลาว จำกัด ดำเนินงานโครงการนาคราชนคร บนพื้นที่ 1,200 ไร่ในเขตห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว กล่าวว่า การเข้าสู่เวทีเออีซี ปี 2558 นั้น ประเทศไทยจะได้เปรียบด้านการค้า เนื่องจากมีแรงงานมีฝีมือในการผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี หรือกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล (บริษัท) จะมีโอกาสได้พบคู่ค้าต่างประเทศมากขึ้น และสามารถต่อยอดผลงาน เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ภาครัฐควรกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตื่นตัว พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากพอที่จะแข่งขันในตลาดอาเซียน ที่มีการเปิดเสรีการค้ามากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ยังเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ถูก และมีคุณภาพ จากผลประโยชน์ทางภาษีนำเข้าเป็น 0% อีกด้วย
ส่วนแนวโน้มในอนาคตคาดว่า กลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ก็จะมีการพัฒนามากขึ้น เพราะมีความพร้อมในการขนส่งทางเรือผ่านแม่น้ำโขง รวมถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (ห้วยทราย-เชียงของ)
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้น ภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการให้มากกว่านี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นขีดความสามารถของ ตนเอง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าแข่งขันกับตลาดอาเซียน ตลอดจนผู้ประกอบการเองจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมการค้าชายแดน ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยรัฐบาลต้องมีแหล่งข้อมูลศึกษาให้กับผู้ประกอบการ
นายอภิชา ตระสินธุ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า อำเภอเชียงของได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง ที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะนิยมใช้เส้นทางของอำเภอเชียงของ เดินทางทางน้ำเพื่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน
แต่ทั้งนี้หากมองเรื่องของความพร้อมในด้านการรองรับนักท่องเที่ยว ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 นั้น อำเภอเชียงของยังไม่มีจุดรองรับโดยต้องมีการพัฒนาอำเภอเชียงของ ให้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอนุภาคลุ่มน้ำโขง เช่น อำเภอเชียงของจะต้องมีจุดพักรถ ซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนถ่าย หัวลากรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ผ่านถนนอาร์ 3 เอ และเชื่อมต่อมายังสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว
อำเภอเชียงของ ควรมีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างจุดสนใจ หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อระดับประเทศ ให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ได้แวะพักก่อนเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น การสร้างอควาเรียม หรือจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำโขง การจัดศูนย์วัฒนธรรมเรื่องชาติพันธุ์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นพื้นที่ของตนเอง
นอกจากนั้นควรมีการพัฒนาเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง เชื่อมโยงสามเหลี่ยมทองเหลี่ยมทองคำ มายังเมืองโบราณอำเภอเชียงแสน เชื่อมต่ออำเภอเชียงของ และสิ้นสุดที่แหล่งท่องเที่ยว ภูชี้ฟ้า โดยมีจุดบริการนักท่องเที่ยว หรือมีกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำได้ ให้กับนักท่องเที่ยว หลังจากที่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 หากอำเภอเชียงของสามารถพัฒนาได้จะทำให้อำเภอเชียงของเป็นอำเภอหนึ่งที่สามารถสร้างรายมูลค่าทางการค้าให้กับจังหวัดเชียงรายได้
จากข้อมูลการค้า พบว่าพื้นที่ภาคเหนือ มีการค้าชายแดน หลายจุดที่จะสามารถรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ทั้งด่านชายแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นด่านชายแดนข้ามไปยังประเทศพม่า ที่กลุ่มธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบี ได้ผลักดันให้อำเภอแม่สอด เป็นประตู East-West Corridor
ขณะที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นประตูผ่านระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) ส่วนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สามารถขนถ่ายสินค้าไปยังประเทศพม่า ด่านท่าเรือเชียงแสน เป็นจุดกระจายสินค้า สำหรับสินค้าที่ไม่ต้องใช้ระยะเวลานาน และมีค่าขนส่งต่ำ เช่น ยางพารา หรือเครื่องสุขภัณฑ์ เชื่อว่า ในปี 2558 เมื่อมีการเปิดเออีซี จะเอื้ออำนวยให้การขนส่งสินค้า หรือรับสินค้าเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์: AEC Monitor: ศักยภาพแบงก์ไทยในเวทีอาเซียน
Source - การเงินธนาคาร (Th)
Tuesday, November 29, 2011 11:18
38086 XTHAI XECON XCORP XBANK XFINMKT IKEY V%MAGL P%MNYM
24-05-12 ก.เกษตรฯ พร้อมรับมือผลกระทบจาก AEC-เสนอไทยเป็น HUB ข้าวอาเซียน
Source - บ้านเมือง (Th)
Thursday, May 24, 2012 08:25
41353 XTHAI XGEN DAS V%PAPERL P%BMND
ก.เกษตร เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจาก AEC ระบุสินค้าภาคเกษตรจะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากเปิดเสรีภาษีเป็น 0 มาตั้งแต่ปี 2553 เสนอทางออกให้ไทยเป็น HUB ข้าวของอาเซียนและเอเชีย
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ว่า ในภาคเกษตรนับว่าเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยให้สินค้าเกษตรของ 6 ประเทศในอาเซียนมีภาษีเป็น 0% ฉะนั้นยังเหลืออีก 4 ประเทศ คือเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ที่จะปรับภาษีให้เป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศก็มีสินค้าเกษตรบางตัวเท่านั้นที่มีความอ่อนไหวที่จะต้องมาตกลงกัน เช่น ไทยมีกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งปัจจุบันกำหนดภาษีอยู่ที่ 20-40%
ส่วนผลกระทบที่สำคัญในเรื่องของอุปสงค์หรือความต้องการที่ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลไทยและรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียน เดิมได้วางมาตรการอารักขาพืชในการกีดกันทางการค้า หรือการใช้โรคระบาดในเรื่องปากเท้าเปื่อย ตลอดจนชนิดสายพันธุ์ที่ต่างถิ่นกัน เป็นข้อกำหนดที่ห้ามนำเข้าสินค้าระหว่างอาเซียนด้วยกัน โดยคาดว่าเมื่อถึงวันที่เปิด AEC ในปี 2558 ก็จะเกิดกรณีเช่นเดียวกันที่จะมีประเด็นเรื่องของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือที่เรียกว่า SPS เข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ ไทยอาจใช้เรื่องของโรคแมลงเป็นข้อกำหนดในการอารักขาพืชชนิดสายพันธุ์ข้าวที่มีอยู่ในเมืองไทย เพื่อป้องกันปัญหาการระบาดของโรคแมลง ส่วนสาขาประมงก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย เพราะเราต้องนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญคือเราจะได้อะไรจาก AEC เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องหาคำตอบร่วมกัน สุดท้ายประเทศไทยจะยืนอยู่ที่จุดไหน เกษตรกรจะได้อะไร ประเทศเราจะได้ประโยชน์อะไร ต้องไม่ลืมว่าไม่มีใครอยากเป็นผู้เสียประโยชน์ และก็ไม่สามารถเป็นผู้ได้ประโยชน์อยู่เพียงฝ่ายเดียว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเข้าใจให้ตรงกันว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว" นายนิวัติ กล่าว
นายนิวัติ กล่าวต่อไปว่า หากประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำของอาเซียน ทั้งการผลิต การตลาด เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และก้าวไปถึงเอเชีย จำเป็นต้องพิจารณาศักยภาพพื้นฐานของสินค้าแต่ละตัว อาทิ ข้าว โดยต้องมองว่าไทยไม่ได้เป็นผู้ผลิตข้าวได้มากที่สุดในอาเซียน แต่สามารถผลิตเหลือจากการบริโภคภายในประเทศมากที่สุด จึงทำให้มีปริมาณส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง การมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลาย รวมทั้งมีโรงสีข้าวขนาดกลางถึงใหญ่ 1,600 โรง ประกอบกับมีผู้ส่งออกมากกว่า 30 ราย ทำให้จากโครงสร้างพื้นฐานที่เรามีอยู่ สามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของข้าวได้ ทั้งในแง่ของการผลิต การค้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การส่งออก ความสะดวกในการขนส่ง การมีตลาดล่วงหน้าของสินค้าข้าว มีการสร้างโอกาสร่วมมือการค้าข้าวระหว่างไทย เวียดนาม และจีน เข้ามาเป็นผู้ทำการค้า (Trader) ในตลาดค้าล่วงหน้า โดยลดปัญหาด้านการกีดกันทางการค้าและการสร้างสิทธิพิเศษให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าว ทั้งนี้ หากเราทำได้ก็จะมีตลาดข้าวที่มีระบบการค้าขนาด 10-50 ล้านตัน หรือ 5 เท่าของปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการแย่งตลาดขายข้าวระหว่างไทย เวียดนาม อันจะส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น พร้อมเพิ่ม Productivity ลดพื้นที่การปลูกข้าวผลผลิตต่ำ รวมทั้งสร้างสินค้าเกษตรชนิดอื่นทดแทนในพื้นที่ที่มีผลผลิตข้าวต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย หรือปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
บรรยายใต้ภาพ
เปิดงานสัมมนา...ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานประชุมและสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง "อนาคตเกษตรกรไทยภายใต้ AEC" โดยมี ศ.ดร.กำพล อดุลวิทย์ นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารสมาคมฯ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
คอลัมน์: มองหลากมิติ: อัญมณีไทยฟันฝ่าให้ได้โอกาสจริง...ใน AECเราไม่ใช่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้ แท้จริงเป็นสิงคโปร์และมาเลเซีย
Source - สยามรัฐ (Th)
Tuesday, May 22, 2012 04:21
16318 XTHAI XECON DAS V%PAPERL P%SRD
ศิริพล ยอดเมืองเจริญ
AEC จะสมบูรณ์เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวในปี 2558 ทุกภาคส่วนของเอกชนและรัฐบาลกำลังเตรียมการไปสู่จุดนั้นอย่างเร่งรีบ มองว่าเป็นโอกาสและปัญหาเพราะตลาดใหญ่ขึ้น
และคู่แข่งก็แข็งแรงด้วย หาก SMEs ดูแลไม่ดีเกิดผลกระทบแน่ ส่วนอัญมณีและเครื่องประดับไทยปลอบใจกันใหญ่ว่ามีโอกาสดีกว่าสินค้าอื่น
ใครว่าเราเป็นหนึ่งในอาเซียนด้านอัญมณีและเครื่องประดับ...ขอตอบว่าถ้าเรื่องการค้าไม่ใช่แน่นอน ตามตัวเลขของ Global Trade Atlas ในปี 2554 แสดงมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 71 (ไม่รวมทองคำที่ไม่ขึ้นรูป) ของประเทศกลุ่มอาเซียนระหว่างสมาชิก 10 ประเทศ มีมูลค่ารวม 3,940.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าระหว่างกัน 2,319.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งออกมูลค่า 1,620.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสิงคโปร์มีมูลค่าส่งออกและนำเข้าในกลุ่มอาเซียนรวมเป็นอันดับ 1 มีมูลค่ารวม 2,357.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯอันดับ 2 เป็นประเทศมาเลเซียมีมูลค่ารวม1,174.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 3 ประเทศไทยมีมูลค่ารวม 247.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯอันดับ 4 ประเทศอินโดนีเซียมีมูลค่ารวม141.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามด้วยอันดับ 5 ประเทศฟิลิปปินส์มีมูลค่ารวม 19.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นต้น
เมื่อตลาดอาเซียนเปิดกว้างขึ้นโดยหลักการแล้วจะเกิดค้าขายเพิ่มมูลค่ามากกว่าเดิม โดยนัยนี้สิงคโปร์อยู่ในฐานะผู้ค้าและฐานะผู้จ้างประเทศอื่นผลิตในลักษณะ OEM ทั้งจากในและนอกกลุ่มอาเซียนย่อมได้ประโยชน์มากกว่า ตามจี้ติดมาก็คงเป็นมาเลเซีย ไม่เป็นอะไรและไม่ใช่เรื่องแปลก...ขอให้รับรู้จริง-ตระหนักจริงแล้ว ย่อมมีเส้นทางที่สร้างโอกาสได้ก่อนถูกเพื่อนประเทศอื่นเขาคว้าเอาไปหมด
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2554 ไปทุกภูมิภาคของโลกได้ร่วม 12,300.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 3 (จำนวนนี้ได้รวมมูลค่าส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปด้วยซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 48.06 ) ของไทยรองจาก 1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ฉะนั้น การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในสัดส่วนที่เหลือจะมีมูลค่า6,403.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 192,980.47 ล้านบาท โดยขยายเพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 24.14 ในเทอมเงินเหรียญสหรัฐฯ ดูแล้วมีการขยายตัวที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากที่ผมได้เดินทางไปดูงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องประดับJCK Las Vegas Show ประเทศสหรัฐอเมริกาHong Kong Gems & Jewelry Fair เมืองฮ่องกง และ Basel World ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น พบว่าการขยายตัวการส่งออกของเราในเชิงปริมาณ (จำนวนชิ้น) ไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าใด ส่วนข้อมูลในเชิงมูลค่าดีขึ้นเนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น พลอย เพชร และทอง เงิน แพลตตินัมสูงขึ้น จึงเป็นผลให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นดังกล่าวและที่น่าประหวั่นพรั่นพรึง คือ ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ส่วนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่SMEs ไทยหดหายไปมากทีเดียว ในประเด็นนี้ได้มีการหารือกับทางกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ไว้แล้วระดับหนึ่ง
สัดส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ(ไม่รวมทองคำ)ของไทยไปยังภูมิภาคต่างๆระหว่างปี 2551-2554 พบว่าไปสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฮ่องกง อินเดียในสัดส่วนที่สูงและเมื่อเทียบสัดส่วนการค้าเข้าไปในกลุ่มอาเซียนแล้วได้ค่อนข้างน้อยกล่าวคือ จากเดิมร้อยละ 1.02 ในปีสุดท้ายเป็นร้อยละ 1.39 นับว่าเติบโตขึ้นบ้าง แต่ขอให้ได้รับทราบว่าประชากรในกลุ่มอาเซียนปีละประมาณ 625 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรโลกประมาณ 7,000 ล้านคน
แต่เราส่งออกได้จริงสัดส่วนเพียงร้อยละ1.39 นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่เป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรและมีสัดส่วนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น อาจจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตเกิดจากปัญหาของภูมิภาคนี้ที่ประเทศแต่ละแห่งมีระบบประชาธิปไตยและสังคมนิยมยังต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศลาวเขมร พม่า และเวียดนาม ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำอำนาจซื้อย่อมมีน้อย และประการสำคัญอันหนึ่ง คือ ช่วงยุครุ่งเรืองของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้มุ่งขายไปยังตลาดอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพราะยังได้ราคาดีทำให้ความสนใจในตลาดอื่นย่อมน้อยลง แต่สถานการณ์ปัจจุบันนี้ทุกตลาดในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะตลาดใหม่เป็นเรื่องที่ต้องเร่งเข้าห-
เข้าถึง เพื่อโอกาสทางธุรกิจของทุกประเทศคิดทำเหมือนกัน ด้วยตลาดเดิม เช่น สหภาพยุโรปเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากปัญหาของกรีซและการซื้อขายทั่วไปลดลง ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาก็เพิ่มในอัตราถดถอยและนับเป็นประเทศที่มีพลังต่อรองสูงจากเกณฑ์ของสหรัฐอเมริกาที่สร้างขึ้นและมีอำนาจตลาดในฐานะผู้ค้าด้วย
ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีบทบาทการค้าสำคัญ คือ สิงคโปร์ เพราะมีเครือข่ายทางการค้า และเครือข่ายทางการเงินดีเป็นพิเศษ บทบาท ณ เวลานี้มีแต่เพิ่มขึ้น ผมทราบว่าผู้ประกอบการการค้าของสิงคโปร์ได้เข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนเกือบทั้งหมด ด้วยความสามารถหลายๆประการรวมทั้งภาครัฐให้การสนับสนุนส่วนประเทศมาเลเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ค้าอันดับ 2ของกลุ่มอาเซียน
ตลาดเขาแข็งแรงเติบใหญ่มากในกลุ่มประเทศนับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตะวันออกกลาง ขอเรียนเพิ่มเติมว่าผมเคยไปเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หลายครั้ง ก่อนหน้านั้นเดิมมีข้อมูลไม่เพียงพอ เมื่อไปแล้วจึงทราบว่าตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับและตลาดทอง-ตลาดเงินใหญ่โตมาก โดยที่มีการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากอินเดียมาเลเซีย สิงคโปร์ในมูลค่าสูง
ด้วยเหตุนี้มั่นใจว่ามาเลเซียก็ยังสามารถอยู่ในอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียนอย่างมั่นคง และในระยะหลังๆนี้ภาครัฐมาเลเซียได้ให้การสนับสนุนอัญมณีและเครื่องประดับแบบเข้มข้นกว่าในอดีต เช่น มีการจัดงานในมาเลเซียส่งเสริมให้ผู้ที่รับเชิญ (Visitor) และผู้ซื้อ(Buyers) ที่เข้าร่วมงานจะได้รับบริการที่พักเกือบตลอดช่วงเข้าไปร่วมงาน เป็นต้น
เมื่อวิเคราะห์โอกาสของอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผมยังมั่นใจว่าถึงแม้เราจะอยู่อันดับ 3 และดีกว่าอินโดนีเซียเล็กน้อย แต่เราก็ยังเป็นผู้มีความแข็งแกร่งในตลาดการผลิตต้นน้ำด้านการเผาพลอยที่นำวัตถุดิบมาจากมาดากัสการ์ ศรีลังกาและอีกหลายประเทศมาเผาได้เนื้อพลอยที่มีคุณภาพสีสันดีและสร้างราคาเพิ่มได้ มั่นใจว่ายังเป็นจุดขายได้อันหนึ่ง
คำกล่าว " Ploy-Thai...ภูมิปัญญาเรา"ทรัพย์สินปัญญาไทยยังใช้ได้อยู่ ส่วนอุตสาหกรรมกลางน้ำ การผลิต-การออกแบบการเข้ารูปก็ยังได้แต่ดูเหมือนจะเริ่มเสียเปรียบและอุตสาหกรรมปลายน้ำ ที่เป็นด้านการตลาดค้าและการส่งออกพิเคราะห์แล้วจะเสียเปรียบชัดเจนขึ้นมีความเข้มแข็งได้เฉพาะบางราย เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ขอความกรุณาจะต้องเข้ามาเป็นผู้ถือบังเหียนโดยตรงและมากขึ้น ส่วนสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับสมาคมเครื่องประดับเงิน สมาคมผู้ผลิตต่างๆต้องเป็นล้อรถยนต์หรือล้อรถบรรทุกด้วยความเข้มแข็ง สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) ก็เป็นทั้งกงล้อและน้ำมันหล่อลื่นและเพลาข้อเหวี่ยงด้วยจึงร่วมกันขับเคลื่อนไปได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญที่ต้องหยิบยกขึ้นมากล่าวคือ โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วสถาบัน GIT มีห้อง Lab ซึ่งเป็นของไทยเองมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและนักอัญมณีศาสตร์ที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานโลกดีกว่าประเทศใดในกลุ่มอาเซียน อันนี้จะเป็นจุดแข็งและสร้างความน่าเชื่อถือได้ สถาบัน GIT คงประชาสัมพันธ์ได้ส่วนหนึ่งเพื่อเกิดการรับรู้ภาคราชการและสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง ต้องปลุกกระแสให้เกิดความน่าเชื่อถือด้วย เพราะจะปล่อยให้สถาบัน GIT โอ้อวดตัวเอง...คงทำไม่ได้
ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีที่มีชื่อเสียงในระดับโลก 5 อันดับ คือ (1) GIA :Gemologocal Institute of America ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1931 เป็นองค์กรของเอกชนสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่คาลซบาด อเมริกา (2)CISGEM Italy ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่มิลานอิตาลี (3) GRS : Gem Research Swiss Lab ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ลูเซิร์นสวิตเซอร์แลนด์ (4) AIGS : Asoam Institute of Gemological Science ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1978 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประเทศไทย
(5) GIT : The Gem and Jewelry Institute of Thailand ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1978 เป็นสถาบันของรัฐ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประเทศไทย และต่อมาได้อยู่ในรูปแบบองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ "เป็นสถาบันหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก"โดย GIT เรามีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและได้รับการรับรองจากสมาพันธ์อัญมณีโลก (The World Jewellery Confederation หรือมีชื่อย่อว่าCIBJO) ให้เป็น CIBJO Registered Laboratory เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียกลุ่มในอาเซียนแล้วถือว่า Lab ของ GIT ล้ำหน้ากว่าใคร ตัวนี้ก็จะเป็นจุดหนึ่งที่สามารถเพิ่มโอกาสสร้างความเชื่อมั่นในอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่กลุ่มประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี
อัญมณีและเครื่องประดับแท้และเทียมเป็นตัวเพิ่มสีสันในชีวิตความเป็นอยู่ของสุภาพสตรีและสรรค์สร้างสังคมเป็นอย่างมากนั่นเป็นสิ่งที่คนไทยและคนเอเชียตะวันออกรวมทั้งคนชาวตะวันตกได้จัดซื้อสิ่งที่สวยงามมีคุณค่านี้ต่อเนื่องมา แต่ทิศทางปัจจุบันการใช้อัญมณีและเครื่องประดับในส่วนของประเทศตะวันออกกลางมูลค่าของเพศชายมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากความนิยมชมชอบของชายตะวันออกกลางไม่เพียงแสดงความมั่งคั่งและการสะสมทรัพย์สินแล้ว ยังแสดงถึงรสนิยมแต่งกายชั้นสูง ทัศนคติของชายกลุ่มนี้สามารถนำมาประยุกต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งผู้ประกอบการที่เป็นรายใหญ่ระดับชาติและ SMEs จะต้องเข้าถึงพฤติกรรมของตลาดเชิงลึกผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงไปสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในเชิง OTOP และ SMEs ให้รู้แนวโน้มของรูปแบบและผลิตภัณฑ์ สีสันและรสนิยมที่คนอาเซียนต้องการเพื่อเกิดการขยายโอกาสทางการตลาดและลดความสูญเสีย (ขายไม่ออก) และพิถีพิถันในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น มีการจัดระบบสร้างกลุ่มสมาชิกและชมรม รวมทั้งสมาคมการค้าเครื่องประดับไทยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิค รวมทั้งการสร้างพันธมิตรทางการค้าและป้องกันการตัดราคาที่ไม่สมควร
เชื่อมั่นว่าเราสามารถเพิ่มยอดขายส่วนนี้ไปสู่ตลาดได้ ผมได้หารือกับผู้อำนวยการGIT (คุณวิลาวัณย์ อติชาติและรองผู้อำนวยการ (คุณจุมพล เด่นเมฆา) ร่วมกันยืนยันว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ (นายสมชาย พรจินดารักษ์) และสมาคมต่างๆก็เห็นพ้องต้องกัน น่าจะเดินทางไปสู่การบรรลุผลได้ระดับหนึ่ง
AEC : ASEAN Economic Community เป็นโอกาสที่ควรจะได้รับจริงๆหากมีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เฉพาะ"อัญมณีไทยสู่ AEC" เชื่อมั่นว่าการทำงานแบบโฟกัสจะได้ผล ขอ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริวัฒน์ขจรประศาสน์) ในฐานะผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลสถาบัน GIT ช่วยเป็นผู้นำของเราครับ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
http://oweera.blogspot.com/2012/05/aec-28-may-1-jun-2012.html?m=1แหล่งข้อมูล
ธุรกิจรับสร้างบ้าน พร้อมรับมือ AEC
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยกระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC” ดึงกูรูแถวหน้าของวงการ จัดสัมมนาให้ข้อมูลแบบเจาะลึกเฉพาะด้านอย่างต่อเนื่องตลอดปี หวังสร้างมาตรฐานผู้รับเหมาอิสระสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านเต็มตัว เตรียมพร้อมสู่การเปิดตลาดเสรี
พัชรา ตัณฑยรรยง นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจรับสร้างบ้านนับเป็นอีกหนึ่งภาคของธุรกิจที่อยู่อาศัยที่มีการพัฒนาและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในช่วงที่ผ่านมาในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านและในส่วนของบริษัทผู้รับเหมารายย่อยอิสระ ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานในเรื่องการบริการ การออกแบบ และการก่อสร้าง ดังนั้นในปีนี้สมาคมฯ จึงมีนโยบายและแนวคิดที่จะยกระดับมาตรฐานธุรกิจรับสร้างบ้านครั้งใหญ่จึงได้กำหนดแนวยุทธศาสตร์ คือ “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยกระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC”
ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานทางวิชาชีพให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ มาตรฐานและความน่าเชื่อถือของผู้บริโภค อันจะนำมาซึ่งการขยายฐานตลาดรับสร้างบ้านให้มีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในด้านความรู้ ความสามารถในการบริหาร โครงการให้กับผู้ประกอบการในธุรกิจรับสร้างบ้าน และลดปัญหา ข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการรับสร้างบ้านกับผู้บริโภค ตลอดจนให้สมาคมฯ เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อันจะนำไปสู่การเตรียมพร้อมสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือ AEC อีกด้วย
สำหรับยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วยการจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเปิดตัวโครงการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 ภายใต้หัวข้อ “2012 ธุรกิจรับสร้างบ้าน ยก ระดับมาตรฐาน เพื่อการแข่งขันในเวที AEC” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก โดยมีปาฐกถาพิเศษ “ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2555 การปรับตัวรับ AEC และ ทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย” โดยผู้แทนจากกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ยังเตรียมจัดฝึกอบรมแบบเจาะลึกในด้านมาตรฐานวิชาชีพอีกจำนวน 6 ครั้ง โดยกำหนดจัดขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเดือนละครั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน 2555 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐาน ของธุรกิจรับสร้างบ้านเฉพาะทาง โดยวิทยากร ผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งโครงการฝึกอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสมาชิก ของสมาคมฯ และยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก อาทิ กลุ่มผู้รับเหมารายย่อย หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมอบรมโครงการดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อเป็นการพัฒนากลุ่มผู้รับเหมารายย่อยอิสระ และผู้ที่สนใจสามารถที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจรับสร้างบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานต่อไป
ปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมของบ้านสร้างเองทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 55,000 ล้านบาทต่อปี โดยในปีที่ผ่านมาในส่วนของบริษัทรับสร้างบ้านมีส่วนแบ่งประมาณ 20% จากมูลค่าตลาดรวม จะเห็นได้ว่ามูลค่าของส่วนแบ่งการตลาด ที่เหลือจะเป็นของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้รับเหมาอิสระทั่วไป ซึ่งนับว่ามีปริมาณที่มาก อย่างไรก็ดี ถ้าสามารถให้บริษัทผู้รับเหมา และผู้รับเหมาอิสระเข้าสู่ในระบบได้ก็จะทำให้มูลค่าของตลาดรวม ของธุรกิจรับสร้างบ้านมีการเติบโตมากขึ้น และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานทั้งธุรกิจไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ยังตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการบริษัทรับสร้างบ้านที่ครบวงจร และมีมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
“ที่ผ่านมาสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานของธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับกับผู้บริโภคมาโดยตลอด แต่ในปีนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมาตรฐาน ในการพัฒนาทางด้านวิชาชีพในเชิงรุกและให้ความสำคัญมากขึ้น เป็นทวีคูณ นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจของธุรกิจรับสร้างบ้านแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามากระทบในเรื่องการบริหารงาน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสู่เวที AEC ในอนาคต” พัชรากล่าว
สามารถคลิกอ่านข่าวและดูภาพประกอบได้ที่ http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=94599
--ผู้จัดการ 360 องศา ฉบับประจำเดือน พฤษภาคม 2555--
โพสต์ทูเดย์ -ซีฟโก้ฯ รับเหมาเจาะเสาเข็ม เตรียมลุยอาเซียนเปิดเออีซี ชี้ภาพรวมก่อสร้างดีขึ้น คาดรายได้โตจากปีก่อน 20%
นายณรงค์ ทัศนนิพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีฟโก้ คอนสตรัคชั่น เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทมีแผนจะรับงานก่อสร้างในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี2558 เนื่องจากความต้องการด้านการก่อสร้างในหลายประเทศยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในประเทศที่เปิดใหม่อย่างเช่นพม่า ที่กำลังเปิดประเทศมากขึ้น รวมไปถึงลาวกัมพูชา สิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณางานที่จะเข้าไปดำเนินการ
ขณะที่งานก่อสร้างในประเทศนั้นยังคงเข้ามาอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างจากภาคเอกชน ส่วนงานก่อสร้างของภาครัฐเริ่มมีมากขึ้นด้วย ซึ่งหากการเมืองในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น จะยิ่งทำให้บรรยากาศการลงทุนคึกคักมากขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังประสบกับวิกฤตทำให้การลงทุนมุ่งมายังประเทศในแถบเอเชียมากขึ้นด้วย
"เวลานี้บริษัทอยู่ระหว่างเข้าไปร่วมประมูลงานจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นงานของภาคเอกชนทั้งหมด เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยในเมืองมีมากขึ้นจึงทำให้มีการก่อสร้างโครงการแนวสูงมากขึ้นตามไปด้วย และยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่บริษัทจะเข้าไปประมูลก่อสร้างมูลค่า 300 ล้านบาทด้วย"นายณรงค์ กล่าว
สำหรับปีนี้บริษัทได้ตั้งงบลงทุนไว้ 50 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในเครื่องจักรเสาเข็มปัจจุบันมียอดแบ็กล็อกหรือยอดรอรับรู้รายได้จำนวน 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้ในปีนี้ได้เกือบหมด คงเหลือประมาณ 100-200 ล้านบาท โดยรายได้รวมปีนี้ตั้งไว้ที่ 1,800 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปีก่อน 15-20%ที่มีรายได้ 1,500 ล้านบาท ขณะที่กำไรในไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ของปีนี้คงใกล้เคียงกันอยู่ที่ 37 ล้านบาทต่อไตรมาส
นายณรงค์ ย้ำว่า ธุรกิจของบริษัทในปีนี้ภาพรวมจะมีกำไรแน่หลังจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุนปีละ 58 ล้านบาท จึงได้หันมารับงานก่อสร้างที่มีกำไรมากขึ้นเช่น งานก่อสร้างเสาเข็มที่ได้กำไรมากขึ้นถึง 70% จากเมื่อ2 ปีก่อนนั้นได้ไม่ถึง 50% m--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
คอลัมน์: AEC Monitor: ศักยภาพแบงก์ไทยในเวทีอาเซียน
Source - การเงินธนาคาร (Th)
Tuesday, November 29, 2011 11:18
38086 XTHAI XECON XCORP XBANK XFINMKT IKEY V%MAGL P%MNYM
'รุ่ง' หรือ'ร่วง'หากไทยเข้าสู่ AEC
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 23, 2012 02:45
35227 XTHAI XCLUSIVE XECON DAS V%PAPERL P%PTK
ปี2558 หรือ ค.ศ. 2015 ประเทศไทยรวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมตัวกันเพื่อเป็น "ประชาคมอาเซียน" ทำให้หลายภาคส่วนตื่นตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของภาคเศรษฐกิจที่จะต้องปรับตัวกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)จึงร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นจัดสัมมนาพิเศษหัวข้อ "รุ่ง หรือ ร่วง AEC" เพื่อร่วมเสนอความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นายอรินทร์ จิรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากมองไปในอนาคตถือว่า AEC จะรุ่งและไปได้แน่นอน แต่จะเป็นประเทศไทยหรือไม่ที่จะได้ประโยชน์ ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจในเรื่องดังกล่าว ถ้าหากบริษัทเตรียมพร้อมก็สามารถเป็นไปได้ด้วยดี แต่หากไม่พร้อม คงจะลำบาก โดยเฉพาะธุรกิจประเภทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME)เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มีบุคลากรและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่ถ้าเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีต้องตระหนักเป็นอย่างมาก เพราะการแข่งขันสูง หากไม่มีการเตรียมพร้อมที่ดี ก็อาจลำบาก
"ถือว่าธุรกิจเอสเอ็มอีมีเวลา 3 ปีในการจะปรับตัว จึงควรตระหนักและใส่ใจในเรื่องนี้ให้มาก"
ด้าน นายสุภัฒ สงวนดีกุล ผู้อำนวยการสำนักยุโรปและละตินอเมริกา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การเข้าเป็น AEC นั้น ไทยจะลงทุนหรือทำธุรกิจในอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งก็มีทั้งผลได้และผลเสีย ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการของไทยว่าจะ ปรับตัวอย่างไร
"AEC เป็นโอกาสของธุรกิจในทุกขนาด ดังนั้นควรจะใช้ยุทธศาสตร์ในเชิงรุก มากกว่าตั้งรับ และควรมองการใช้ประโยชน์จากตลาดที่ใหญ่ขึ้น การแข่งขันใน AEC ไทยจะได้เปรียบ หากผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ"
ส่วน นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม แสดงมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า ไทยจะรุ่งหรือร่วงนั้น ไม่สามารถคาดเดาได้ หากมีการปรับตัว ก็สามารถอยู่รอดได้ แต่ถ้าไม่มี ก็ถือว่าร่วง
"โอกาสของไทยน่าจะเป็นเรื่องของที่ตั้งของประเทศ เพราะล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยยังมีจุดด้อย คือเรื่องการขนส่งและการดำเนินธุรกิจรวมถึงธุรกิจ เอสเอ็มอีมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นต้องปรับตัวสร้างมาตรฐานในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์)--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 พ.ค. 2555--
ดีเอชแอลผุดศูนย์ขนส่งไฮเทคปักธงใช้ไทยฮับตลาด'เออีซี'
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Wednesday, May 23, 2012 02:56
39663 XTHAI XECON XCORP XSALES XCONSUME DAS V%PAPERL P%PTK
"ดีเอชแอล" ลุยขนาดศูนย์ขนส่งในกรุงเทพฯแห่งที่ 5 "พระราม 3" ทุ่มใช้ไฮเทค WDL หวัง 3 ปีขึ้นแท่นเบอร์ 1 พร้อมไทยเป็นฮับโลจิสติกส์ตลาดเออีซี
นางชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์ กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และภาคพื้นอินโดจีน เปิดเผยว่า วางกลยุทธ์ให้ไทยเป็นศูนย์กระจายสินค้ารับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 พร้อมขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการขนส่งภูมิภาคนี้ไปพร้อมกับประเทศไทย ซึ่งประกาศภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะยกระดับเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เอเชีย (Logistic Hub of Asia) ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดีเอชแอลจึงได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่แห่งที่ 5 ในกรุงเทพฯ บนถนนพระรามที่ 3 เป็นศูนย์แรกที่ใช้ระบบ Dual Weight Dimension Length : WDL รวมการลงทุน 124 ล้านบาท ในพื้นที่ 2,448 ตารางเมตร รองรับสินค้าได้มากถึงวันละ 3,700 ชิปเมนต์ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการ มองหาโอกาสใหม่ ที่มีบริการเป็นเลิศ โดยคำนึงถึงการบริหารต้นทุนจึงได้นำอุปกรณ์สแกนเนอร์เทคโนโลยีสูงเข้ามาใช้ตรวจวัตถุต้องห้ามทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติดหรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ
ส่วนค่าบริการขนส่งทางดีเอชแอลจะปรับขึ้นลงทุกเดือนตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน ตามวิธีปฏิบัติได้แจ้งลูกค้าล่วงหน้าทุกเดือน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหลักรายใหญ่ คือ การขนส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) สินค้าอัญมณีส่งออก โดยเฉพาะการขนส่งด่วนดีเอชแอลสามารถสร้างการเติบโตในเอเชียได้ถึง 3 เท่า โดยใช้กรุงเทพฯเป็นศูนย์เชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในตลาดอาเซียน ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ขณะนี้ในพม่าก็มีศูนย์ของดีเอชแอลด้วยเช่นกัน
นายยาสมิน อลาดาด คาน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวเสริมว่า ตั้งเป้าจะใช้ศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ตรงพระราม 3 เป็นตัวเร่งและขับเคลื่อนดีเอชแอลให้เติบโตเร็วกว่าคู่แข่งทุกประเทศในอาเซียน พร้อมขึ้นเป็นผู้นำโลจิสติกส์ตลาดเออีซี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 พ.ค. 2555--
นักธุรกิจเหนือชี้เออีซีหนุนเอสเอ็มอีจี้รัฐป้อนองค์ความรู้แข่งเพื่อนบ้าน
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Friday, May 25, 2012 05:30
55263 XTHAI XECON XGEN XINTER IKEY V%NETNEWS P%WKT
ประภาภรณ์ เครืองิ้ว
"ภาครัฐควรกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตื่นตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากพบที่จะแข่งขันตลาดอาเซียน"
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในปี 2558 ทำให้นักธุรกิจของประเทศดังกล่าว
จำเป็นต้องปรับตัวแสวงหาความรู้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในเวทีอาเซียน โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ที่จะมีโอกาสก้าวสู่เวทีระดับประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ภาครัฐต้องสนับสนุนป้อนองค์ความรู้ของผู้ประกอบการในตลาดอาเซียนแก่นักธุรกิจไทย
นายสิชา สิงห์สมบุญ ประธานกรรมการ บริษัท เอเอซี กรีนซิตี้ลาว จำกัด ดำเนินงานโครงการนาคราชนคร บนพื้นที่ 1,200 ไร่ในเขตห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว กล่าวว่า การเข้าสู่เวทีเออีซี ปี 2558 นั้น ประเทศไทยจะได้เปรียบด้านการค้า เนื่องจากมีแรงงานมีฝีมือในการผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี หรือกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล (บริษัท) จะมีโอกาสได้พบคู่ค้าต่างประเทศมากขึ้น และสามารถต่อยอดผลงาน เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ภาครัฐควรกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตื่นตัว พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากพอที่จะแข่งขันในตลาดอาเซียน ที่มีการเปิดเสรีการค้ามากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ยังเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ถูก และมีคุณภาพ จากผลประโยชน์ทางภาษีนำเข้าเป็น 0% อีกด้วย
ส่วนแนวโน้มในอนาคตคาดว่า กลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ก็จะมีการพัฒนามากขึ้น เพราะมีความพร้อมในการขนส่งทางเรือผ่านแม่น้ำโขง รวมถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4 (ห้วยทราย-เชียงของ)
นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้น ภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการให้มากกว่านี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นขีดความสามารถของ ตนเอง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเข้าแข่งขันกับตลาดอาเซียน ตลอดจนผู้ประกอบการเองจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมการค้าชายแดน ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยรัฐบาลต้องมีแหล่งข้อมูลศึกษาให้กับผู้ประกอบการ
นายอภิชา ตระสินธุ์ นายกสมาคมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า อำเภอเชียงของได้เปรียบในเรื่องของที่ตั้ง ที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะนิยมใช้เส้นทางของอำเภอเชียงของ เดินทางทางน้ำเพื่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน
แต่ทั้งนี้หากมองเรื่องของความพร้อมในด้านการรองรับนักท่องเที่ยว ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 นั้น อำเภอเชียงของยังไม่มีจุดรองรับโดยต้องมีการพัฒนาอำเภอเชียงของ ให้เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังอนุภาคลุ่มน้ำโขง เช่น อำเภอเชียงของจะต้องมีจุดพักรถ ซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนถ่าย หัวลากรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ผ่านถนนอาร์ 3 เอ และเชื่อมต่อมายังสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว
อำเภอเชียงของ ควรมีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างจุดสนใจ หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อระดับประเทศ ให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ได้แวะพักก่อนเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น การสร้างอควาเรียม หรือจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำโขง การจัดศูนย์วัฒนธรรมเรื่องชาติพันธุ์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นพื้นที่ของตนเอง
นอกจากนั้นควรมีการพัฒนาเส้นทางเลียบแม่น้ำโขง เชื่อมโยงสามเหลี่ยมทองเหลี่ยมทองคำ มายังเมืองโบราณอำเภอเชียงแสน เชื่อมต่ออำเภอเชียงของ และสิ้นสุดที่แหล่งท่องเที่ยว ภูชี้ฟ้า โดยมีจุดบริการนักท่องเที่ยว หรือมีกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำได้ ให้กับนักท่องเที่ยว หลังจากที่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 หากอำเภอเชียงของสามารถพัฒนาได้จะทำให้อำเภอเชียงของเป็นอำเภอหนึ่งที่สามารถสร้างรายมูลค่าทางการค้าให้กับจังหวัดเชียงรายได้
จากข้อมูลการค้า พบว่าพื้นที่ภาคเหนือ มีการค้าชายแดน หลายจุดที่จะสามารถรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ ทั้งด่านชายแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นด่านชายแดนข้ามไปยังประเทศพม่า ที่กลุ่มธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบี ได้ผลักดันให้อำเภอแม่สอด เป็นประตู East-West Corridor
ขณะที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นประตูผ่านระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) ส่วนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สามารถขนถ่ายสินค้าไปยังประเทศพม่า ด่านท่าเรือเชียงแสน เป็นจุดกระจายสินค้า สำหรับสินค้าที่ไม่ต้องใช้ระยะเวลานาน และมีค่าขนส่งต่ำ เช่น ยางพารา หรือเครื่องสุขภัณฑ์ เชื่อว่า ในปี 2558 เมื่อมีการเปิดเออีซี จะเอื้ออำนวยให้การขนส่งสินค้า หรือรับสินค้าเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์: AEC Monitor: ศักยภาพแบงก์ไทยในเวทีอาเซียน
Source - การเงินธนาคาร (Th)
Tuesday, November 29, 2011 11:18
38086 XTHAI XECON XCORP XBANK XFINMKT IKEY V%MAGL P%MNYM
24-05-12 ก.เกษตรฯ พร้อมรับมือผลกระทบจาก AEC-เสนอไทยเป็น HUB ข้าวอาเซียน
Source - บ้านเมือง (Th)
Thursday, May 24, 2012 08:25
41353 XTHAI XGEN DAS V%PAPERL P%BMND
ก.เกษตร เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจาก AEC ระบุสินค้าภาคเกษตรจะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากเปิดเสรีภาษีเป็น 0 มาตั้งแต่ปี 2553 เสนอทางออกให้ไทยเป็น HUB ข้าวของอาเซียนและเอเชีย
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ว่า ในภาคเกษตรนับว่าเริ่มมีการเปิดเสรีการค้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยให้สินค้าเกษตรของ 6 ประเทศในอาเซียนมีภาษีเป็น 0% ฉะนั้นยังเหลืออีก 4 ประเทศ คือเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ที่จะปรับภาษีให้เป็น 0% ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศก็มีสินค้าเกษตรบางตัวเท่านั้นที่มีความอ่อนไหวที่จะต้องมาตกลงกัน เช่น ไทยมีกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งปัจจุบันกำหนดภาษีอยู่ที่ 20-40%
ส่วนผลกระทบที่สำคัญในเรื่องของอุปสงค์หรือความต้องการที่ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลไทยและรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียน เดิมได้วางมาตรการอารักขาพืชในการกีดกันทางการค้า หรือการใช้โรคระบาดในเรื่องปากเท้าเปื่อย ตลอดจนชนิดสายพันธุ์ที่ต่างถิ่นกัน เป็นข้อกำหนดที่ห้ามนำเข้าสินค้าระหว่างอาเซียนด้วยกัน โดยคาดว่าเมื่อถึงวันที่เปิด AEC ในปี 2558 ก็จะเกิดกรณีเช่นเดียวกันที่จะมีประเด็นเรื่องของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือที่เรียกว่า SPS เข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ ไทยอาจใช้เรื่องของโรคแมลงเป็นข้อกำหนดในการอารักขาพืชชนิดสายพันธุ์ข้าวที่มีอยู่ในเมืองไทย เพื่อป้องกันปัญหาการระบาดของโรคแมลง ส่วนสาขาประมงก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย เพราะเราต้องนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญคือเราจะได้อะไรจาก AEC เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องหาคำตอบร่วมกัน สุดท้ายประเทศไทยจะยืนอยู่ที่จุดไหน เกษตรกรจะได้อะไร ประเทศเราจะได้ประโยชน์อะไร ต้องไม่ลืมว่าไม่มีใครอยากเป็นผู้เสียประโยชน์ และก็ไม่สามารถเป็นผู้ได้ประโยชน์อยู่เพียงฝ่ายเดียว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเข้าใจให้ตรงกันว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว" นายนิวัติ กล่าว
นายนิวัติ กล่าวต่อไปว่า หากประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำของอาเซียน ทั้งการผลิต การตลาด เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และก้าวไปถึงเอเชีย จำเป็นต้องพิจารณาศักยภาพพื้นฐานของสินค้าแต่ละตัว อาทิ ข้าว โดยต้องมองว่าไทยไม่ได้เป็นผู้ผลิตข้าวได้มากที่สุดในอาเซียน แต่สามารถผลิตเหลือจากการบริโภคภายในประเทศมากที่สุด จึงทำให้มีปริมาณส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง การมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลาย รวมทั้งมีโรงสีข้าวขนาดกลางถึงใหญ่ 1,600 โรง ประกอบกับมีผู้ส่งออกมากกว่า 30 ราย ทำให้จากโครงสร้างพื้นฐานที่เรามีอยู่ สามารถผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของข้าวได้ ทั้งในแง่ของการผลิต การค้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การส่งออก ความสะดวกในการขนส่ง การมีตลาดล่วงหน้าของสินค้าข้าว มีการสร้างโอกาสร่วมมือการค้าข้าวระหว่างไทย เวียดนาม และจีน เข้ามาเป็นผู้ทำการค้า (Trader) ในตลาดค้าล่วงหน้า โดยลดปัญหาด้านการกีดกันทางการค้าและการสร้างสิทธิพิเศษให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าว ทั้งนี้ หากเราทำได้ก็จะมีตลาดข้าวที่มีระบบการค้าขนาด 10-50 ล้านตัน หรือ 5 เท่าของปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการแย่งตลาดขายข้าวระหว่างไทย เวียดนาม อันจะส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้น พร้อมเพิ่ม Productivity ลดพื้นที่การปลูกข้าวผลผลิตต่ำ รวมทั้งสร้างสินค้าเกษตรชนิดอื่นทดแทนในพื้นที่ที่มีผลผลิตข้าวต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย หรือปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
บรรยายใต้ภาพ
เปิดงานสัมมนา...ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานประชุมและสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง "อนาคตเกษตรกรไทยภายใต้ AEC" โดยมี ศ.ดร.กำพล อดุลวิทย์ นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้บริหารสมาคมฯ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
คอลัมน์: มองหลากมิติ: อัญมณีไทยฟันฝ่าให้ได้โอกาสจริง...ใน AECเราไม่ใช่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคนี้ แท้จริงเป็นสิงคโปร์และมาเลเซีย
Source - สยามรัฐ (Th)
Tuesday, May 22, 2012 04:21
16318 XTHAI XECON DAS V%PAPERL P%SRD
ศิริพล ยอดเมืองเจริญ
AEC จะสมบูรณ์เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวในปี 2558 ทุกภาคส่วนของเอกชนและรัฐบาลกำลังเตรียมการไปสู่จุดนั้นอย่างเร่งรีบ มองว่าเป็นโอกาสและปัญหาเพราะตลาดใหญ่ขึ้น
และคู่แข่งก็แข็งแรงด้วย หาก SMEs ดูแลไม่ดีเกิดผลกระทบแน่ ส่วนอัญมณีและเครื่องประดับไทยปลอบใจกันใหญ่ว่ามีโอกาสดีกว่าสินค้าอื่น
ใครว่าเราเป็นหนึ่งในอาเซียนด้านอัญมณีและเครื่องประดับ...ขอตอบว่าถ้าเรื่องการค้าไม่ใช่แน่นอน ตามตัวเลขของ Global Trade Atlas ในปี 2554 แสดงมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 71 (ไม่รวมทองคำที่ไม่ขึ้นรูป) ของประเทศกลุ่มอาเซียนระหว่างสมาชิก 10 ประเทศ มีมูลค่ารวม 3,940.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าระหว่างกัน 2,319.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และส่งออกมูลค่า 1,620.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสิงคโปร์มีมูลค่าส่งออกและนำเข้าในกลุ่มอาเซียนรวมเป็นอันดับ 1 มีมูลค่ารวม 2,357.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯอันดับ 2 เป็นประเทศมาเลเซียมีมูลค่ารวม1,174.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับ 3 ประเทศไทยมีมูลค่ารวม 247.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯอันดับ 4 ประเทศอินโดนีเซียมีมูลค่ารวม141.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามด้วยอันดับ 5 ประเทศฟิลิปปินส์มีมูลค่ารวม 19.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นต้น
เมื่อตลาดอาเซียนเปิดกว้างขึ้นโดยหลักการแล้วจะเกิดค้าขายเพิ่มมูลค่ามากกว่าเดิม โดยนัยนี้สิงคโปร์อยู่ในฐานะผู้ค้าและฐานะผู้จ้างประเทศอื่นผลิตในลักษณะ OEM ทั้งจากในและนอกกลุ่มอาเซียนย่อมได้ประโยชน์มากกว่า ตามจี้ติดมาก็คงเป็นมาเลเซีย ไม่เป็นอะไรและไม่ใช่เรื่องแปลก...ขอให้รับรู้จริง-ตระหนักจริงแล้ว ย่อมมีเส้นทางที่สร้างโอกาสได้ก่อนถูกเพื่อนประเทศอื่นเขาคว้าเอาไปหมด
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2554 ไปทุกภูมิภาคของโลกได้ร่วม 12,300.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญเป็นอันดับ 3 (จำนวนนี้ได้รวมมูลค่าส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปด้วยซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 48.06 ) ของไทยรองจาก 1.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ2. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ฉะนั้น การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในสัดส่วนที่เหลือจะมีมูลค่า6,403.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 192,980.47 ล้านบาท โดยขยายเพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 24.14 ในเทอมเงินเหรียญสหรัฐฯ ดูแล้วมีการขยายตัวที่ค่อนข้างน่าพอใจ จากที่ผมได้เดินทางไปดูงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องประดับJCK Las Vegas Show ประเทศสหรัฐอเมริกาHong Kong Gems & Jewelry Fair เมืองฮ่องกง และ Basel World ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นั้น พบว่าการขยายตัวการส่งออกของเราในเชิงปริมาณ (จำนวนชิ้น) ไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าใด ส่วนข้อมูลในเชิงมูลค่าดีขึ้นเนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น พลอย เพชร และทอง เงิน แพลตตินัมสูงขึ้น จึงเป็นผลให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นดังกล่าวและที่น่าประหวั่นพรั่นพรึง คือ ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ยอดขายไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ส่วนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับที่SMEs ไทยหดหายไปมากทีเดียว ในประเด็นนี้ได้มีการหารือกับทางกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ไว้แล้วระดับหนึ่ง
สัดส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ(ไม่รวมทองคำ)ของไทยไปยังภูมิภาคต่างๆระหว่างปี 2551-2554 พบว่าไปสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฮ่องกง อินเดียในสัดส่วนที่สูงและเมื่อเทียบสัดส่วนการค้าเข้าไปในกลุ่มอาเซียนแล้วได้ค่อนข้างน้อยกล่าวคือ จากเดิมร้อยละ 1.02 ในปีสุดท้ายเป็นร้อยละ 1.39 นับว่าเติบโตขึ้นบ้าง แต่ขอให้ได้รับทราบว่าประชากรในกลุ่มอาเซียนปีละประมาณ 625 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรโลกประมาณ 7,000 ล้านคน
แต่เราส่งออกได้จริงสัดส่วนเพียงร้อยละ1.39 นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่เป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรและมีสัดส่วนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น อาจจะเป็นเหตุการณ์ในอดีตเกิดจากปัญหาของภูมิภาคนี้ที่ประเทศแต่ละแห่งมีระบบประชาธิปไตยและสังคมนิยมยังต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศลาวเขมร พม่า และเวียดนาม ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำอำนาจซื้อย่อมมีน้อย และประการสำคัญอันหนึ่ง คือ ช่วงยุครุ่งเรืองของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้มุ่งขายไปยังตลาดอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพราะยังได้ราคาดีทำให้ความสนใจในตลาดอื่นย่อมน้อยลง แต่สถานการณ์ปัจจุบันนี้ทุกตลาดในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะตลาดใหม่เป็นเรื่องที่ต้องเร่งเข้าห-
เข้าถึง เพื่อโอกาสทางธุรกิจของทุกประเทศคิดทำเหมือนกัน ด้วยตลาดเดิม เช่น สหภาพยุโรปเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากปัญหาของกรีซและการซื้อขายทั่วไปลดลง ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาก็เพิ่มในอัตราถดถอยและนับเป็นประเทศที่มีพลังต่อรองสูงจากเกณฑ์ของสหรัฐอเมริกาที่สร้างขึ้นและมีอำนาจตลาดในฐานะผู้ค้าด้วย
ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีบทบาทการค้าสำคัญ คือ สิงคโปร์ เพราะมีเครือข่ายทางการค้า และเครือข่ายทางการเงินดีเป็นพิเศษ บทบาท ณ เวลานี้มีแต่เพิ่มขึ้น ผมทราบว่าผู้ประกอบการการค้าของสิงคโปร์ได้เข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนเกือบทั้งหมด ด้วยความสามารถหลายๆประการรวมทั้งภาครัฐให้การสนับสนุนส่วนประเทศมาเลเซียถือว่าเป็นประเทศผู้ผลิตและประเทศผู้ค้าอันดับ 2ของกลุ่มอาเซียน
ตลาดเขาแข็งแรงเติบใหญ่มากในกลุ่มประเทศนับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตะวันออกกลาง ขอเรียนเพิ่มเติมว่าผมเคยไปเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หลายครั้ง ก่อนหน้านั้นเดิมมีข้อมูลไม่เพียงพอ เมื่อไปแล้วจึงทราบว่าตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับและตลาดทอง-ตลาดเงินใหญ่โตมาก โดยที่มีการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากอินเดียมาเลเซีย สิงคโปร์ในมูลค่าสูง
ด้วยเหตุนี้มั่นใจว่ามาเลเซียก็ยังสามารถอยู่ในอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียนอย่างมั่นคง และในระยะหลังๆนี้ภาครัฐมาเลเซียได้ให้การสนับสนุนอัญมณีและเครื่องประดับแบบเข้มข้นกว่าในอดีต เช่น มีการจัดงานในมาเลเซียส่งเสริมให้ผู้ที่รับเชิญ (Visitor) และผู้ซื้อ(Buyers) ที่เข้าร่วมงานจะได้รับบริการที่พักเกือบตลอดช่วงเข้าไปร่วมงาน เป็นต้น
เมื่อวิเคราะห์โอกาสของอัญมณีและเครื่องประดับไทย ผมยังมั่นใจว่าถึงแม้เราจะอยู่อันดับ 3 และดีกว่าอินโดนีเซียเล็กน้อย แต่เราก็ยังเป็นผู้มีความแข็งแกร่งในตลาดการผลิตต้นน้ำด้านการเผาพลอยที่นำวัตถุดิบมาจากมาดากัสการ์ ศรีลังกาและอีกหลายประเทศมาเผาได้เนื้อพลอยที่มีคุณภาพสีสันดีและสร้างราคาเพิ่มได้ มั่นใจว่ายังเป็นจุดขายได้อันหนึ่ง
คำกล่าว " Ploy-Thai...ภูมิปัญญาเรา"ทรัพย์สินปัญญาไทยยังใช้ได้อยู่ ส่วนอุตสาหกรรมกลางน้ำ การผลิต-การออกแบบการเข้ารูปก็ยังได้แต่ดูเหมือนจะเริ่มเสียเปรียบและอุตสาหกรรมปลายน้ำ ที่เป็นด้านการตลาดค้าและการส่งออกพิเคราะห์แล้วจะเสียเปรียบชัดเจนขึ้นมีความเข้มแข็งได้เฉพาะบางราย เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ขอความกรุณาจะต้องเข้ามาเป็นผู้ถือบังเหียนโดยตรงและมากขึ้น ส่วนสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับสมาคมเครื่องประดับเงิน สมาคมผู้ผลิตต่างๆต้องเป็นล้อรถยนต์หรือล้อรถบรรทุกด้วยความเข้มแข็ง สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) ก็เป็นทั้งกงล้อและน้ำมันหล่อลื่นและเพลาข้อเหวี่ยงด้วยจึงร่วมกันขับเคลื่อนไปได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญที่ต้องหยิบยกขึ้นมากล่าวคือ โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วสถาบัน GIT มีห้อง Lab ซึ่งเป็นของไทยเองมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและนักอัญมณีศาสตร์ที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานโลกดีกว่าประเทศใดในกลุ่มอาเซียน อันนี้จะเป็นจุดแข็งและสร้างความน่าเชื่อถือได้ สถาบัน GIT คงประชาสัมพันธ์ได้ส่วนหนึ่งเพื่อเกิดการรับรู้ภาคราชการและสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง ต้องปลุกกระแสให้เกิดความน่าเชื่อถือด้วย เพราะจะปล่อยให้สถาบัน GIT โอ้อวดตัวเอง...คงทำไม่ได้
ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีที่มีชื่อเสียงในระดับโลก 5 อันดับ คือ (1) GIA :Gemologocal Institute of America ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1931 เป็นองค์กรของเอกชนสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่คาลซบาด อเมริกา (2)CISGEM Italy ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่มิลานอิตาลี (3) GRS : Gem Research Swiss Lab ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1966 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ลูเซิร์นสวิตเซอร์แลนด์ (4) AIGS : Asoam Institute of Gemological Science ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1978 เป็นองค์กรของเอกชน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประเทศไทย
(5) GIT : The Gem and Jewelry Institute of Thailand ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1978 เป็นสถาบันของรัฐ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครประเทศไทย และต่อมาได้อยู่ในรูปแบบองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ "เป็นสถาบันหลักในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก"โดย GIT เรามีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและได้รับการรับรองจากสมาพันธ์อัญมณีโลก (The World Jewellery Confederation หรือมีชื่อย่อว่าCIBJO) ให้เป็น CIBJO Registered Laboratory เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคเอเชียกลุ่มในอาเซียนแล้วถือว่า Lab ของ GIT ล้ำหน้ากว่าใคร ตัวนี้ก็จะเป็นจุดหนึ่งที่สามารถเพิ่มโอกาสสร้างความเชื่อมั่นในอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่กลุ่มประเทศอาเซียนได้เป็นอย่างดี
อัญมณีและเครื่องประดับแท้และเทียมเป็นตัวเพิ่มสีสันในชีวิตความเป็นอยู่ของสุภาพสตรีและสรรค์สร้างสังคมเป็นอย่างมากนั่นเป็นสิ่งที่คนไทยและคนเอเชียตะวันออกรวมทั้งคนชาวตะวันตกได้จัดซื้อสิ่งที่สวยงามมีคุณค่านี้ต่อเนื่องมา แต่ทิศทางปัจจุบันการใช้อัญมณีและเครื่องประดับในส่วนของประเทศตะวันออกกลางมูลค่าของเพศชายมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากความนิยมชมชอบของชายตะวันออกกลางไม่เพียงแสดงความมั่งคั่งและการสะสมทรัพย์สินแล้ว ยังแสดงถึงรสนิยมแต่งกายชั้นสูง ทัศนคติของชายกลุ่มนี้สามารถนำมาประยุกต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งผู้ประกอบการที่เป็นรายใหญ่ระดับชาติและ SMEs จะต้องเข้าถึงพฤติกรรมของตลาดเชิงลึกผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ลงไปสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในเชิง OTOP และ SMEs ให้รู้แนวโน้มของรูปแบบและผลิตภัณฑ์ สีสันและรสนิยมที่คนอาเซียนต้องการเพื่อเกิดการขยายโอกาสทางการตลาดและลดความสูญเสีย (ขายไม่ออก) และพิถีพิถันในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น มีการจัดระบบสร้างกลุ่มสมาชิกและชมรม รวมทั้งสมาคมการค้าเครื่องประดับไทยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิค รวมทั้งการสร้างพันธมิตรทางการค้าและป้องกันการตัดราคาที่ไม่สมควร
เชื่อมั่นว่าเราสามารถเพิ่มยอดขายส่วนนี้ไปสู่ตลาดได้ ผมได้หารือกับผู้อำนวยการGIT (คุณวิลาวัณย์ อติชาติและรองผู้อำนวยการ (คุณจุมพล เด่นเมฆา) ร่วมกันยืนยันว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ (นายสมชาย พรจินดารักษ์) และสมาคมต่างๆก็เห็นพ้องต้องกัน น่าจะเดินทางไปสู่การบรรลุผลได้ระดับหนึ่ง
AEC : ASEAN Economic Community เป็นโอกาสที่ควรจะได้รับจริงๆหากมีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์เฉพาะ"อัญมณีไทยสู่ AEC" เชื่อมั่นว่าการทำงานแบบโฟกัสจะได้ผล ขอ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริวัฒน์ขจรประศาสน์) ในฐานะผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลสถาบัน GIT ช่วยเป็นผู้นำของเราครับ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
http://oweera.blogspot.com/2012/05/aec-28-may-1-jun-2012.html?m=1แหล่งข้อมูล
รวมข่าว AEC ประจำวันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555