รัฐกับการปฎิวัติ 3 - วี.ไอ.เลนิน |
3.รัฐเป็นเครื่องมือสำหรับขูดรีดชนชั้นผู้ถูกกดขี่
เพื่อให้อำนาจสาธารณะธำรงอยู่เหนือสังคมได้ จำเป็นต้องเก็บภาษีและกู้เงินโดยรัฐ"เมื่อได้ครอบครองอำนาจสาธารณะและสิทธิที่จะเก็บภาษีแล้ว” เองเกิลส์ เขียนต่อไปว่า"พวก ข้าราชการในฐานะองค์กรของสังคมจึงสถิตเสถียรอยู่เหนือสังคม ความเคารพโดยเสรีสมัครใจที่เคยถูกมอบให้กับองค์กรของชาติกุล(เผ่า) มิอาจทำให้พวกเขาพอใจ แม้พวกเขาจะสามารถได้มาซึ่งความเคารพนั้น...” กลับมีการออกกฎหมายประกาศความศักดิ์สิทธิ์ และสิทธิคุ้มครองของบรรดาข้าราชการ "ตำรวจที่เลวทรามที่สุด” มี "อำนาจ”มากกว่าผู้แทนของเผ่าเสียอีก ทว่าแม้เหล่าทัพในรัฐอารยะก็จะต้องอิจฉาผู้อาวุโสของเผ่าซึ่งได้รับ "ความเคารพโดยปราศจากการบังคับ” จากสังคม
ตรงนี้เอง ปัญหาเกี่ยวกับฐานะอภิสิทธิ์ของข้าราชการในฐานะที่เป็นองค์กรแห่งอำนาจรัฐได้ถูกตั้งขึ้น ปัญหาใหญ่ที่ต้องถามก็คือ: อะไรเล่าที่เกื้อหนุนพวกเขาให้อยู่เหนือสังคม?เราจะได้เห็นกันว่าปัญหาทางทฏษฏีนี้ ได้รับคำตอบในทางปฏิบัติอย่างไรจากคอมมูนแห่งปารีสปี 1871 และถูกบิดเบือนในลักษณะปฏิกิริยาอย่างไร จากเคาท์สกี้ในปี 1912
"เนื่องจากรัฐอุบัติขึ้นจากความจำเป็นที่จะสะกัดกั้นความเป็น ปฏิปักษ์ทางชนชั้น แต่ขณะเดียวกันเนื่องจากรัฐอุบัติขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งของชนชั้นเหล่านี้ ฉนั้นโดยทั่วไปย่อมเป็นรัฐของชนชั้นที่ทรงอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยอาศัยรัฐเป็นเครื่องมือและย่อมจะเป็นชนชั้นที่ทรงอำนาจทางการเมือง ไว้ด้วย ทำให้ชนชั้นนี้ได้รับเครื่องมือใหม่ๆ ในการปราบราม และขูดรีดชนชั้นผู้ถูกกดขี่ยิ่งขึ้น” มิเพียงแต่รัฐโบราณและรัฐขุนนางจะเป็นองค์กรสำหรับขูดรีดพวกทาสและพวกเกษตรกรติดที่ดินเท่านั้น “รัฐผู้แทนปัจจุบันก็เป็นเครื่องมือสำหรับขูดรีดแรงงานกรรมกรโดยทุนอย่างไรก็ตาม มีกรณียกเว้นในทางช่วงที่ชนชั้นซึ่งต่อสู้กันมีอำนาจถ่วงดุลย์กันและกัน กระทั่งอำนาจรัฐในฐานะผู้ปรองดองแต่เปลือกนอกมีความเป็นอิสระจากชนชั้นทั้ง สอง” กรณีเช่นว่าได้แก่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในศตวรรษที่ 17 และศตวรรษที่ 18 รัฐบาลโบนาปาร์ตแห่งจักรวรรดิ์ที่ 2 ในฝรั่งเศส และรัฐบาลบิสมาร์กในเยอรมัน
เราอาจเสริมได้ว่ากรณีเช่นว่ารวมทั้งรัฐบาลเกอเรนสกี้สมัยสาธารณรัฐ รัสเซีย 1917 เพราะเป็นรัฐบาลที่พยายามเข่นฆ่าชนชั้นกรรมาชีพที่คิดปฏิวัติในช่วงที่ โซเวียตไร้กำลังแล้ว เนื่องจากอยู่ใต้การนำของพวกประชาธิปัตย์นาย ทุนน้อย ขณะเดียวกันชนชั้นนายทุนก็ยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะจัดการขับรัฐบาล
ในสาธาณรัฐประชาธิปไตยนั้น, เองเกิลส์กล่าวต่อไป “ทรัพย์สำแดงอำนาจโดยทางอ้อมแต่แน่นเหนียวมั่นคง” 1. ใช้วิธี“ติดสินบนข้าราชการ โดยตรง” (อเมริกา) 2. ใช้วิธี “รวมหัวรัฐบาลกับตลาดหุ้น” (ฝรั่งเศส, อเมริกา)
ในปัจจุบันลัทธิจักรพรรดินิยมและการครองอำนาจของธนาคารได้ “พัฒนา” กลวิธีค้ำชูตัวเองทั้งสองนี้ ส่งผลให้มหิทธานุภาพของทรัพย์แผ่ซ่าน ครอบคลุมสาธารณรัฐประชาธิปไตยไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด ยกตัวอย่างในระยะเดือนแรกๆ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยรัสเซีย (หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคเฟื่องของพวกสมาชิกพรรคปฏิวัติสังคม) ซึ่งพวกเมนเชวิคยอมร่วมหัวจมท้ายกับชนชั้นนายทุน นายปาลชินสกี้ ในคณะรัฐบาลผสมได้ขัดขวางมาตรการทุกอย่างที่มุ่งสะกัดกั้นพวกนายทุน และพฤติการณ์ทำนองปล้นสดมภ์ของพวกเขา ต่อมานายปาลชินสกี้ลาออกพวกนายทุนได้ “ตกรางวัล”ให้กับเขาด้วยงาน “เบาๆ” ในอัตราเงินเดือน 120,000 รูเบิ้ลต่อปี อย่างนี้ท่านจะเรียกมันว่ากระไร - ติดสินบนโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม?
เหตุผลว่าทำไมมหิทธานุภาพของทรัพย์จึงมีความมั่นคงในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ก็คือว่ามหิทธานุภาพดังกล่าว หาได้พึ่งพิงอยู่กับปราการการเมืองของระบอบนายทุนไม่สาธารณรัฐประชาธิปไตยต่างหากที่เป็นปราการการเมืองที่ดีที่สุดเท่าที่จะดี ได้ของระบอบทุนนิยม ฉนั้นทันทีที่ทุนมีอำนาจควบคุมปราการที่ดีที่สุดนี้แล้ว (ผ่านบุคคลเช่นนาย ปาลชินสกี้ เชอร์นอฟ และคนอื่นๆ) มันก็จะสถาปนาอำนาจของมันลงอย่างมั่นคงและอย่างปลอดภัย กระทั่งว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันใด ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือสถาบัน หรือพรรค การเมืองในสาธารณรัฐประชาธิปไตยของนายทุน จะสามารถสั่นคลอนมันได้เลย
เราต้องสังเกตด้วยว่า เองเกิลส์ ได้กล่าวอย่างตรงประเด็นที่สุดที่ท่านเรียก “สิทธิลงคะแนนเสียงทั่วไป” ว่าเป็นเครื่องมือการปกครองของเหล่านายทุน ท่านกล่าวว่าสิทธิลงคะแนนเสียงทั่วไปก็คือ “เครื่องวัด วุฒิภาพของชนชั้นคนงาน มันไม่สามารถและไม่มีทางเป็นอย่างอื่นมากกว่านี้ไปได้เป็นอันขาดในรัฐปัจจุบัน”
พวกประชาธิปัตย์นายทุนน้อย เช่นพวกสมาชิกพรรคปฏิวัติสังคม พวกเมนเชวิค รวมทั้งพวกคลั่งชาติสังคม และพวกฉวยโอกาสในยุโรปตะวันตก ต่างพากันหวังจากสิทธิลงคะแนนเสียงทั่วไป พวกเขาเห็นร่วมกันและยัดเยียดความคิดผิดๆ ให้กับประชาชนว่าสิทธิลงคะแนนเสียงทั่วไป “ในรัฐปัจจุบัน” สามารถแสดงเจตนารมย์ของผู้ใช้แรงงานส่วนข้างมาก สามารถทำให้เจตนารมย์ดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ
ในที่นี้เราไม่เพียงแต่แนะให้เห็นความคิดผิดๆนี้เท่านั้น เรายังต้องการชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวอันเป็นรูปธรรมอันแน่นอนและสมบูรณ์ที่ สุดของเองเกิลส์ ได้ถูกบิดเบือนทุกขั้นตอนในการโฆษณาเผยแพร่ปลุกปั้นของบรรดาพรรคสังคมนิยม “แบบทางการ” (คือฉวยโอกาส)ส่วนการตีแผ่อย่างละเอียดถึงความผิดพลาดของความคิดนี้ (ซึ่งเองเกิลส์กล่าวผ่านๆเอาไว้) จะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในการกล่าวถึงทัศนะของมาร์คซ์และเองเกิลส์เกี่ยวกับรัฐ “ในปัจจุบัน”
เองเกิลส์ได้ให้ข้อสรุปกว้างๆ เกี่ยวกับทัศนะของท่าน ไว้ในบทนิพนธ์ที่ แพร่หลายที่สุด
ดังนี้ :
“เคยมีสังคมที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่มีรัฐ ไม่มีแม้แต่แนวคิดเกี่ยวกับรัฐและ อำนาจรัฐ ทว่าในขั้นหนึ่งขั้นใดแห่งพัฒนาการ (อันเกี่ยวเนื่องอยู่กับการแตกแยกของ สังคมออกเป็นชนชั้น) รัฐกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะการแตกแยกดังกล่าวนี้ ขณะนี้เรากำลังเข้าใกล้ขั้นหนึ่งอย่างรวดเร็วในกระบวนพัฒนาการแห่งการผลิต ซึ่งการทรงอยู่ของชนชั้นเหล่านี้นอกจากจะสิ้นความจำเป็นแล้ว ยังกลายเป็นอุสรรคขัดขวางการผลิต ด้วยชนชั้นเหล่านี้จะต้องแตกดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นกับที่มันเคยอุบัติขึ้นในต้นๆ พร้อมๆกับการแตกดับของชนชั้นรัฐก็จะแตกดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สังคมซึ่งจะจัดตั้งการผลิตบนพื้นฐานแห่งการร่วมมมือกันอย่างเสรีเทียมกัน ย่อมจะต้องจับจักรกลรัฐทั้งมวลยัดใส่ที่ที่มันควรต้องอยู่ : คือพิพิธภัณฑ์ของโบราณเคียงข้างกับล็อกกรอด้ายและขวานบรอนซ์” เรามักไม่ใคร่พบข้อความข้างต้นในหนังสือโฆษณาเผยแพร่ปลุกปั้นของฝ่าย ลัทธิสังคมประชาธิปไตยในทุกวันนี้เลย แต่ถึงแม้เราจะพบ มันก็เป็นการยกมาอ้างเกือบลักษณะเดียวกับการหมอบกราบรูปเคารพ กล่าวคือเป็นการกระทำเพื่อแสดงความเคารพเป็นทางการแก่เองเกลิส์ มิได้มีความพยายามอันใดที่จะทำความเข้าใจความลุ่มลึกของการปฏิวัติและใน เกือบทุกกรณี เราจะไม่พบแม้แต่ความเข้าใจสิ่งที่เองเกลิส์เรียกว่าจักรกลรัฐเอาด้วย4. “การสลายตัว” ของรัฐและการปฏิวัติอย่างรุนแรงถ้อยคำของ เองเกิลส์เกี่ยวกับ “การสลายตัว” ของ รัฐเป็นที่รู้จักแพร่หลาย นับเป็นถ้อยคำที่ยกมาอ้างกันอยู่เนืองๆ และเผยให้เห็นอย่างแจ่มชัดถึงสารัตถะของการปลอมปนลัทธิมาร์คซ์ที่ปฏิบัติ กันเป็นประจำ อันเราจะต้องพูดถึงโดยละเอียด เราขอยกข้อความทั้งหมดจากแหล่งที่อ้างดังนี้:
“ชนชั้นกรรมาชีพต้องยึดอำนาจรัฐ และจัดการเปลี่ยนปัจจัยผลิตมาเป็นทรัพย์สินของรัฐเป็นอันดับแรก แต่การกระทำดังนี้ เท่ากับชนชั้นกรรมาชีพล้มล้างตนเองในฐานะชนชั้นกรรมาชีพ ล้มล้างความแตกต่าง ทางชนชั้นและความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้นทั้งปวงพร้อมกันนั้นก็ล้มล้างรัฐในฐานะรัฐด้วย สังคมแต่ก่อนเป็นสังคมที่เวียนวนอยู่ในความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้น จึงจำต้องมีรัฐ นั่นก็คือองค์กรจัดตั้งของชนชั้นผู้ขูดรีดในแต่ละยุคเพื่อธำรงไว้ซึ่งเงื่อนไขภายนอกแห่งการผลิตของชนชั้นนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่การใช้กำลังปราบปรามชนชั้นผู้ถูกขูดรีดให้ตกอยู่ภายใต้ สภาพแห่งการถูกกดขี่ (ระบบทาสระบบเกษตรกรติดที่ดิน ระแบบแรงงานรับจ้าง) ซึ่งก็ถูกกำหนดด้วยรูปการผลิตที่เป็นอยู่อีกชั้นหนึ่ง รัฐคือตัวแทนเป็นทางการของสังคมโดยส่วนรวม เป็นจุดรวมยอดของสังคมในรูปบรรษัทที่มองเห็นได้ แต่มันจะเป็นอย่างนี้ได้ต่อเมื่อมันเป็นรัฐของชนชั้น ซึ่งตัวเองเป็นตัวแทนโดยส่วนรวมของยุคนั้น: สมัยโบราณได้แก่รัฐของพลเมืองที่เป็นเจ้าของทาส, ในยุคกลางได้แก่รัฐของพวกขุนนาง, ในยุคของเราได้แก่ รัฐของชนชั้นนายทุน จนในท้ายที่สุดเมื่อรัฐกลายเป็นตัวแทนอย่างแท้จริงของสังคมโดยส่วนรวมแล้ว มันก็จะทำให้ตัวเองหมดความหมาย เมื่อใดที่ไม่มีชนชั้นใดสำหรับให้กดขี่อีกต่อไป (พร้อมกับการครอบงำทางชนชั้น และการต่อสู้เพื่อมีชีวิตของเอกชนโดยมีพื้นฐาน อยู่บนความไร้แบบแผนในการผลิตดังก่อน) เมื่อใดที่การกระทบกระทั่งและความเลยเถิด อันเกิดจากสิ่งดังกล่าวนี้ได้ถูกขจัดสิ้นไป เมื่อนั้นย่อมไม่มีสิ่งใดให้ปราบปรามกดขี่ อันจะทำให้กำลังปราบปรามพิเศษหรือรัฐ ไม่มีความจำเป็น การกระทำเบื้องแรกซึ่งรัฐก้าวออกมาในฐานะตัวแทนอย่างแท้จริงของสังคมโดย ส่วนรวม - คือการเข้ายึดกุมปัจจัยผลิตในนามของสังคม - ในขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำอันเป็นอิสระครั้งสุดท้ายในฐานะรัฐ การเข้าแทรกแซงของอำนาจรัฐในความสัมพันธ์ทางสังคมกลายเป็นสิ่งหมด ความหมาย แล้วสิ้นสุดลงโดยตัวมันเอง การบริหารบุคคลจะถูกแทนที่ด้วยการบริหารสิ่งของและการควบคุมกระบวนการผลิต รัฐมิได้ถูก “ล้มล้าง” แต่มันสลายตัว จากจุดยืนดังกล่าวมานี้เองที่เราต้องใช้ประเมินวลี ‘รัฐของประชาชนเสรี’ ...พร้อมทั้งใช้ประเมิน ข้อเรียกร้องของพวกอนาธิปัตย์ที่เรียกร้องให้ล้มเลิกรัฐเสียโดยฉับพลัน”
(บทความ "ต่อต้านดือห์ริง" หน้า 301-303 ฉบับภาษาเยอรมันพิมพ์ ครั้งที่ 3)
อาจกล่าวได้โดยไม่กลัวผิดว่าจากข้ออภิปรายของเองเกิลส์ที่ยกมานี้ ซึ่งอุดมด้วยความคิดยิ่งนัก คงมีอยู่ประเด็นเดียวเท่านั้นที่กลายเป็นส่วนสำคัญแห่งแนวคิดสังคมนิยมใน หมู่พรรคสังคมนิยมปัจจุบัน นั่นก็คือตามทัศนะของมาร์คซ์รัฐต้อง “สลายตัว” อันตรงกันข้ามกับหลักการของพวกอนาธิปัตย์ที่เน้น “การล้มล้าง“รัฐ ทว่าการบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์ในลักษณะเช่นนั้นก็เท่ากับลดทอนลัทธิมาร์คซ์ลง เป็นลัทธิฉวยโอกาส เพราะ “การตีความ“ เช่นนั้นมีแต่ทำให้เกิดแนวคิดอันคลุมเครือว่าการเปลี่ยนแปลง ต้องเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ปราศจากมิคสัญญี ปราศจากการปฏิวัติ ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับ “การสลายตัว” ของรัฐที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน จึงหมายถึงการลดทอนความสำคัญของการปฏิวัติ แม้ไม่ถึงกับปฏิเสธการปฏิวัติก็ตาม
“การตีความ” เช่นนั้นเป็นการบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์อย่างหยาบที่สุดเพื่อให้ประโยชน์จำเพาะชนชั้นนายทุน เมื่อพิจารณาในแง่ทฤษฏีแล้ว การตีความดังกล่าวนับว่าตั้งอยู่บนการมองข้ามสภาวการณ์และข้อพิจารณาอัน สำคัญที่สุดที่แนะเอาไว้อย่างเช่นในข้ออภิปราย“สรุป“ของเองเกิลส์ที่เรา เพิ่งอ้างอย่างสิ้นกระทงความข้างต้น
ประการแรกทีเดียว ในตอนต้นแห่งข้ออภิปรายของเองเกิลส์ กล่าวไว้ว่าในการยึดอำนาจรัฐชนชั้นกรรมาชีพจะ“ล้มล้างรัฐในฐานะรัฐ” พร้อมกันไปด้วย ทว่ามันหาใช่รูปแบบที่ดีไม่ที่จะมามัวสนใจใคร่ครวญ กับความหมายของความข้อนี้ โดยทั่วไปก็มักมองข้ามไปเสียหรือไม่ก็ยกให้เป็น“ความบกพร่องของระบบเฮเกิล” ซึ่งสืบทอดมาสู่เองเกิลส์ อย่างไรก็ดีโดยความเป็นจริงแล้ว ความข้อนี้ได้แสดงอย่างกระชับให้ประจักษ์ถึงประสบการณ์ของการปฏิวัติชนชั้น กรรมาชีพครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง คือคอมมูนแห่งปารีส1871 ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในที่อันควรต่อไป โดยความเป็นจริงแล้วในที่นี้เองเกิลส์พูดถึงว่าการปฏิวัติของชนชั้น กรรมาชีพที่ “ล้มล้าง” รัฐของชนชั้นนายทุน ส่วนคำว่ารัฐสลายตัวหมายถึงรัฐของชนชั้นกรรมาชีพภายหลังการปฏิวัติ สังคมนิยมต่างหาก ตามทัศนะของเองเกิลส์นั้นรัฐของชนชั้นนายทุนมิได้ “สลายตัว” แต่ “ถูกล้มล้าง” โดยชนชั้นกรรมาชีพในช่วงแห่งการปฏิวัตินี้ และสิ่งที่สลายตัวได้แก่รัฐหรือกึ่งรัฐของชนชั้นกรรมาชีพนั่นเอง
ประการที่สอง รัฐคือ “กำลังปราบปรามพิเศษ” นับเป็นคำนิยามที่ เองเกิลส์ให้ไว้อย่างกระจ่างลึกซึ้งยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วย่อมหมายถึงว่า “กำลังปราบปรามพิเศษ” เพื่อปราบปรามชนชั้นกรรมาชีพโดยชนชั้นนายทุน, เพื่อกดขี่ผู้ใช้แรงงานนับล้านโดยคนรวยกลุ่มย่อย ซึ่งจะต้องถูกแทนที่ด้วย “กำลังปราบปรามพิเศษ” เพื่อปราบปรามชนชั้นนายทุนโดยชนชั้นกรรมาชีพ(เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ) นี่คือความหมายของคำว่า“ล้มล้างรัฐในฐานะรัฐ” นี่คือ “การกระทำ” เข้ายึดกุมปัจจัยผลิตในนามของสังคม และย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การแทนที่ “กำลังพิเศษ” (ของชนชั้นนายทุน) เช่นนั้น ด้วย “กำลังพิเศษ” (ของชนชั้นกรรมาชีพ) จะเกิดขึ้นไม่ได้ในรูปของ “การสลายตัว”
ประการที่สาม ในการพูดถึงรัฐ “สลายตัว” และ “สิ้นสุดลงโดยตัวมันเอง” เองเกิลส์หมายถึงช่วงหลังจากที่ “รัฐเข้ายึดกุมปัจจัยผลิตในนามของสังคมส่วนรวม” กล่าวคือภายหลังการปฏิวัติสังคมนิยม เราทุกคนล้วนรู้ดีว่ารูปแบบการเมืองของ“รัฐ” ขณะนั้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สุด ทว่าพวกฉวยโอกาสซึ่งบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์อย่างไร้ยางอายหา ได้ตระหนักไม่ว่าเองเกิลส์ได้พูดถึงว่า ประชาธิปไตยจะ“สิ้นสุดลงโดยตัวมันเอง” หรือ “สลายตัว” อีกด้วย ข้อนี้ดูผิวเผินจะแปลกอยู่ ทว่ามันจะเป็นเรื่อง“ที่ไม่อาจเข้าใจได้“จำเพาะแต่ผู้ที่ไม่ใส่ใจใคร่ครวญ ความจริงที่ว่าประชาธิปไตยก็คือรัฐด้วย ฉนั้นประชาธิปไตยจึงย่อมจะดับสิ้นไปเมื่อรัฐดับสิ้นไป การปฏิวัติเท่านั้นที่สามารถ “ล้มล้าง“รัฐของชนชั้นนายทุนได้ แต่รัฐโดยทั่วไป กล่าวคือประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สุดได้แต่“สลายตัว“ไป
ประการที่สี่ หลังจากเสนอมติอันลือชื่อของท่านที่ว่า “รัฐสลายตัว” แล้ว เองเกิลส์ก็อธิบายอย่างเจาะจงในทันทีว่า มตินี้มุ่งต่อต้านทั้งพวกฉวยโอกาสและ พวกอนาธิปัตย์เราอาจพนันกันได้ว่าในคนทุกหมื่นคนที่ได้อ่านหรือได้ยินเกี่ยวกับ “การสลายตัว” ของรัฐ, 9990 คน ไม่รู้หรือไม่อาจรำลึกได้ว่าเองเกิลส์ได้พุ่งข้อสรุปของท่านที่ดึงจากมติ นี้เข้าโจมตีคนอื่นด้วยนอกจากพวกอนาธิปัตย์ ส่วนสิบคนที่เหลือ, บางทีเก้าคนอาจไม่เข้าใจความหมายของ“รัฐของประชาชนเสรี” หรือไม่รู้ว่าทำไมการโจมตีคำขวัญนี้จึงหมายถึงการโจมตีพวกฉวยโอกาสด้วย นี่แหละคือวิถีที่ประวัติศาสตร์ถูกเขียนขึ้น! นี่แหละคือวิถีที่คำสอนปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ถูกบิดเบือน ถูกปรับให้เข้ากับลัทธิหยาบเขลาที่แพร่หลาย!ข้อสรุปที่มุ่งต้านพวกอนาธิปัตย์ถูกยกขึ้นอ้างเป็นพันๆครั้ง แต่ข้อสรุปที่มุ่งต้านพวกฉวยโอกาสกลับถูกปัดผ่านและ “ถูกลืม”!
“รัฐของประชาชนเสรี” เป็นโครงการและคำขวัญของพวกสังคมนิยมประชาธิปัตย์เยอรมันในทศวรรษที่เจ็ด ของศตวรรษที่ 19 คำขวัญนี้หาสาระทางการเมืองมิได้ เว้นแต่มันได้ประทับแนวคิดประชาธิปไตยอันสวยหรูเอาไว้ และตราบเท่าที่มันเป็นคำขวัญที่เรียกร้องเป็นนัยๆ ให้ได้มาซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยในขอบเขตของกฎหมายแล้ว เองเกิลส์ก็พร้อมที่จะยอมรับ “ความสมเหตุผล” ของมัน “อยู่ชั่วขณะหนึ่ง” (เพื่อใช้ในการปลุกปั่นก่อกวน) ทว่าถึงอย่างไรมันก็เป็นคำขวัญแบบฉวยโอกาสอยู่นั่นเอง เราสนับสนุนการได้มาซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย เพราะเป็นรูปแบบรัฐของนายทุนที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ทว่าเราไม่มีสิทธิที่จะลืมว่าระบบทาสค่าจ้างคือฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งมวล แม้ในสาธารณรัฐของนายทุนที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ยิ่งกว่านั้น รัฐทุกรัฐก็คือ“กำลังพิเศษสำหรับปราบปราม“ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ ฉนั้นรัฐทุกรัฐจึงไม่เป็น “เสรี” และไม่เป็น “รัฐของประชาชน” มาร์คซ์และเองเกิลส์ เองก็ได้อธิบายความข้อนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าแก่สหายร่วมพรรคของท่านในทศวรรษ ที่เจ็ดของศตวรรษที่แล้ว
ประการที่ห้า บทนิพนธ์ของเองเกิลส์เล่มเดียวกันนี้ (ซึ่งทำให้คนทั้งหลาย พากันรำลึกถึงข้ออภิปรายเกี่ยวกับการสลายตัวของรัฐ) ยังได้บรรจุข้ออภิปรายเกี่ยวกับความสำคัญของการปฏิวัติอย่างรุนแรงไว้ด้วย การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ของเองเกิลส์ถึงบทบาทของมันได้กลายเป็นคำยกย่องสดุดีการปฏิวัติอย่างรุนแรง ความข้อนี้“ไม่มีใครจำได้“สักคนเดียว มันหาใช่“รูปแบบที่ดี“ไม่ ที่พรรคสังคมนิยมทั้งหลายในปัจจุบันจะพูดหรือคิดถึงความสำคัญของความคิดนี้ ทว่าความคิดนี้กลับมีความเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับ“การสลายตัว” ของรัฐกระทั่งเรียกได้ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทีเดียว
นี่คือข้ออภิปรายของเองเกิลส์ :
“...อย่างไรก็ดี กำลังนั้นนับว่าได้แสดงบทบาทอีกด้านหนึ่ง”(นอกเหนือจากเป็นพลังที่ชั่วร้าย) “ใน ประวัติศาสตร์ ได้แก่บทบาทปฏิวัติ; กล่าวโดยใช้คำของมาร์คซ์ได้ว่า กำลังคือนางผดุงครรภ์ของสังคมเก่าทุกสังคมที่ตั้งครรภ์ด้วยสังคมใหม่ กำลังคือเครื่องมือที่ช่วยให้ขบวนการทางสังคมเผยตัวออกมาได้ แล้วทำลายล้างรูปแบบการเมืองที่ตายซากความข้อนี้นายดือห์ริงมิได้กล่าวถึงเลยสักคำ” (หน้า193 ฉบับภาษาเยอรมันพิมพ์ครั้งที่สาม ภาค 2, ตอนสุดท้ายของบทที่ 4)
ก็แล้วคำยกย่องสดุดีการปฏิวัติอย่างรุนแรงดังกล่าวนี้จะผสานกับทฤษฏี “การสลายตัว”ของรัฐเข้าเป็นหลักการอันหนึ่งอันเดียวได้อย่างไรเล่า?
เราได้กล่าวข้างต้นแล้ว และเราจะกล่าวโดยละเอียดต่อไปว่า คำสอนของมาร์คซ์และเองเกิลส์เกี่ยวกับความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของการปฏิวัติ อย่างรุนแรงนั้น พุ่งตรงไปยังรัฐของชนชั้นนายทุน รัฐของชนชั้นนายทุนไม่อาจถูกแทนที่ด้วยรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ(เผด็จการของชน ชั้นกรรมาชีพ) โดยผ่านกระบวนการ “สลายตัว” มีแต่ต้องผ่านการปฏิวัติอย่างรุนแรงเท่านั้น คำยกย่องสุดดีการปฏิวัติอย่างรุนแรงของเองเกิลส์ นับว่าสอดคล้องทุกกระเบียดกับคำประกาศครั้งแล้วครั้งเล่าของมาร์คซ์ (ขอให้นึกถึงข้อความสรุปลงท้ายของบทนิพนธ์ชื่อความอับจนของปรัชญา และ คำประกาศพรรคคอมมิวนิสต ซึ่งประกาศอย่างหยิ่งทรนงและเปิดเผยถึงความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของการปฏิวัติ อย่างรุนแรงขอให้นึกถึงสิ่งที่มาร์คซ์เขียนเอาไว้เกือบสามสิบปีต่อมา ในการวิจารณ์โครงการ“โกธา” ปี 1875 ท่านได้กระชากหน้ากากความเป็นนักฉวยโอกาสของโครงการนั้นอย่างไม่ปรานี) อีกทั้งคำยกย่องสดุดีนั้นก็หาได้เป็นเพียง “แรงกระตุ้น” เป็นเพียง สุนทรพจน์ หรือเป็นเพียงคำคมแต่อย่างใดไม่ ความจำเป็นที่จะต้องพร่ำสอนมวลชนให้ซึมซาบถึงทรรศนะแห่งการปฏิวัติอย่าง รุนแรงอันนี้ นับเป็นรากเง่าแห่งคำสอนทั้งปวงของมาร์คซ์และเองเกิลส์
การแทนที่รัฐของชนชั้นนายทุนด้วยรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่มีทางเป็นไปได้อย่างเด็ดขาดหากปราศจากการปฏิวัติอย่างรุนแรง และการล้มล้างรัฐของชนชั้นกรรมาชีพไม่มีทางเป็นไปได้เว้นแต่ผ่านกระบวนการ “สลายตัว” เท่านั้น
มาร์คซ์และเองเกลส์เป็นผู้ให้คำอรรถาธิบายเกี่ยวกับทัศนะเหล่านี้อย่าง ละเอียดและอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อท่านได้ศึกษาสถานการณ์ปฏิวัติแต่ละรายแยกออกไป, เมื่อท่านได้วิเคราะห์บทเรียนจากความจัดเจนของการปฏิวัติแต่ละครั้งแยกออกไป ต่อไปนี้เราจะได้ผ่านไปสู่ส่วนนี้อันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคำสอนของ ท่านทั้งสอง
|
รัฐกับการปฎิวัติ 3 - วี.ไอ.เลนิน