ซี.พี. ร่วมประชุมชี้แจงมาตรการเฝ้าระวังภัยเหตุรังสีปนเปื้อนในอาหาร เมื่อ : 2011-05-10
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ดร.ฤทธิชาติ อินโสม สำนักพัฒนาความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดการประชุมเรื่องการตรวจวัดกัมมันตรังสีในสิ่งแวดล้อมและเครือข่ายเฝ้าระวังภัยทางรังสีของประเทศไทย ณ ห้องบอร์ดรูม ชั้น 30 โดย ดร.ยุทธนา ตุ้มน้อย และ อ.สุชิน อุดมสมพร จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชี้แจงมาตราการเฝ้าระวังภัย เหตุการรั่วไหลของรังสีในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้หลายประเทศวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ในฐานะที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจด้านผู้ผลิตอาหารต่อประชาคมโลก จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งต่อพนักงานและการดำเนินธุรกิจ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจึงได้ชี้แจงรายละเอียดมาตรการความปลอดภัย หากมีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์มายังประเทศไทยและมาตรการรองรับการปนเปื้อนรังสีในทะเลและสิ่งมีชีวิตในทะเล เพื่อสร้างความความใจในข้อปฎิบัติร่วมกันจึงมีแนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับประชาชน ดังนี้
กรณีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในบรรยากาศ มีแนวทางการปฎิบัติ คือ
1. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ อยู่ในระดับปกติ จะมีการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้นดิน อาคารบ้านเรือน
2. ถ้าวัดระดับรังสีในอากาศได้มากกว่า 1 ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมงขึ้นไป จะแจ้งให้ประชาชนหลบอยู่ในที่พักอาศัย โดยปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา และปิดระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในอากาศเข้ามาในที่พักอาศัยได้
3. รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป
4. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ สูงจนเป็นอันตราย จะมีการแนะนำให้อพยพออกนอกบริเวณ และไปอยู่ในบริเวณที่มีระดับรังสีไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
นอกจากนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยังได้เสนอวิธีการลดสารปนเปื้อนรังสีในน้ำทะเลและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยให้ใช้น้ำทะเลจากบริเวณที่ไม่มีการปนเปื้อน, ใช้น้ำทะเลสังเคราะห์ หรือเติมปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียมลงไปเพื่อลดการสะสมของ Cs-137 (ซีเซียม137) ในสัตว์ทะเล
ซึ่งเป็นวิธีการที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในรัสเซียเมื่อ 20 ปีก่อน
1. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ อยู่ในระดับปกติ จะมีการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้นดิน อาคารบ้านเรือน
2. ถ้าวัดระดับรังสีในอากาศได้มากกว่า 1 ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมงขึ้นไป จะแจ้งให้ประชาชนหลบอยู่ในที่พักอาศัย โดยปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา และปิดระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในอากาศเข้ามาในที่พักอาศัยได้
3. รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป
4. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ สูงจนเป็นอันตราย จะมีการแนะนำให้อพยพออกนอกบริเวณ และไปอยู่ในบริเวณที่มีระดับรังสีไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
นอกจากนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยังได้เสนอวิธีการลดสารปนเปื้อนรังสีในน้ำทะเลและสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยให้ใช้น้ำทะเลจากบริเวณที่ไม่มีการปนเปื้อน, ใช้น้ำทะเลสังเคราะห์ หรือเติมปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของโปแตสเซียมลงไปเพื่อลดการสะสมของ Cs-137 (ซีเซียม137) ในสัตว์ทะเล
ซึ่งเป็นวิธีการที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในรัสเซียเมื่อ 20 ปีก่อน
ที่มา : สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น