จูล่ง "สุภาพบุรุษจากเสียงสัน"
บุคคลที่โดดเด่นทั้งคุณธรรมและความสามารถ ต้องยกให้ “จูล่ง”
หนึ่งในห้าขุนพลทหารเสือของท่านเล่าปี่
เป็นตัวละครหนึ่งเดียวในเรื่องสามก๊กที่ไม่มีใครในยุคหลังหาจุดด่างพร้อยใน
ประวัติชีวิตและการกระทำของท่านได้
นอกจากนี้คุณธรรมที่แสดงออกมาและได้รับบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ก็เป็นความ
จริงใจที่มิได้เกิดจากการเสแสร้ง
จู
ล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสัน" เกิดที่อำเภอเจินติ้ง
เมืองเสียงสัน มีแซ่เตียว (จ้าว) แต่ไม่มีใครเรียกว่า เตียวจูล่ง สูงประมาณ
6 ศอก (1.89 เมตร)
หน้าผากกว้างดั่งเสือ ตาโต คิ้วดก กรามใหญ่กว้างบ่งบอกถึงนิสัยซื่อสัตย์
สุภาพเรียบร้อย น้ำใจกล้าหาญ สวมเกราะเงิน ใช้ทวนยาวเป็นอาวุธ พาหนะคู่ใจ
คือ ม้าสีขาว
จู
ล่งเดิมเป็นชาวเมืองเสียงสัน ต่อมาได้มาเป็นทหารของอ้วนเสี้ยว
แต่อ้วนเสี้ยวเป็นคนที่หยาบช้า ไร้น้ำใจ จูล่งจึงหนีไปอยู่กับกองซุนจ้าน
เจ้าเมืองปักเพ้ง โดยที่ขณะนั้นกองซุนจ้านได้ทำศึกกับอ้วนเสี้ยว
จูล่งยังได้ช่วยชีวิตกองซุนจ้านไว้แล้วสู้กับบุนทิวถึง 60 เพลง
จนบุนทิวหนีไป ต่อมาจูล่งได้มีโอกาสรู้จักกับเล่าปี่
ทั้งสองต่างเลื่อมใสซึ่งกันและกัน
เมื่อกองซุนจ้านฆ่าตัวตายเพราะแพ้อ้วนเสี้ยว
จูล่งจึงได้ร่อนเร่พเนจรจนมาถึงเขาโงจิวสัน
ซึ่งมีโจรป่ากลุ่มหนึ่งมีหุยง่วนเสียวเป็นหัวหน้า
หุยง่วนเสียวคิดชิงม้าจากจูล่ง
จูล่งจึงฆ่าหุยง่วนเสียวตายแล้วได้เป็นหัวหน้าโจรป่าแทน
ต่อมากวนอูได้ใช้ให้จิวฉองมาตามหุยง่วนเสียวและโจรป่าไปช่วยรบ
จิวฉองเมื่อเห็นจูล่งคุมโจรป่าจึงคิดว่า จูล่งคิดร้ายฆ่าหุยง่วนเสียว
จิวฉองจึงตะบันม้าเข้ารบกับจูล่ง
ปรากฏว่าจิวฉองต้องกลับไปหากวนอูในสภาพเลือดโทรมกาย ถูกแทงถึง 3 แผล
จิวฉองเล่าว่าคนผู้นี้มีฝีมือระดับลิโป้
ดังนั้นกวนอูกับเล่าปี่จึงต้องรุดไปดูด้วยตนเอง
แต่เมื่อได้พบกันจูล่งก็เล่าความจริงทั้งหมด
ตั้งแต่นั้นมาจูล่งก็ได้เป็นทหารเอกของเล่าปี่
จูล่งสร้างวีรกรรมครั้งสำคัญคือ ฝ่าทัพรับอาเต๊า บุตรชายของเล่าปี่ที่เกิดจากนางกำฮูหยิน ซึ่งพลัดหลงกับเล่าปี่ที่ทุ่งเตียงบันโบ๋ จูล่งทำการครั้งนี้เพียงคนเดียว ท่ามกลางทหารและองครักษ์มากมายของโจโฉที่ยกทัพลงทางใต้หวังรวบรวมแผ่นดิน และได้ฆ่าทหารเอกและทหารเลว ของโจโฉมากมาย ตั้งแต่ 03.00 น. จนถึง 15.00 น. ของอีกวัน และบุกไปชิงตัวอาเต๊าคืนมาจากซุนฮูหยิน ที่ต้องกลของซุนกวนหวังจะดึงไปเป็นตัวประกันที่ง่อก๊ก
ยอดทหารโดยแท้จริง
ความ
เก่งกล้าเกรียงไกรของนักรบผู้นี้ โดดเด่นจนกระทั่งยอดนักรบด้วยกันยังคาราวะ
ครั้งหนึ่งในคราวที่รบกับเล่าเจี้ยง
เล่าปี่ได้ม้าเฉียวซึ่งเป็นยอดขุนศึกหนุ่มรุ่นใหม่มาเข้าเป็นพวก
ม้าเฉียวเป็นทายาทของม้าเท้ง
ผู้นำแห่งเสเหลียงซึ่งเป็นดินแดนแถบตะวันตกตกเฉียงเหนือของประเทศ
ได้ถูกโจโฉฆ่าตาย
ตัวเขาจึงนำกองทัพบุกเมืองเตียงฮันของโจโฉเพื่อแก้แค้นให้บิดา
แต่พ่ายแพ้จึงหนีเข้าเขตแดนเสฉวน
และด้วยแผนการของขงเบ้งก็ทำให้เขายอมสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ กล่าวกันว่า
ม้าเฉียวนั้นเป็นยอดขุนพลหนุ่มที่มีความเก่งกล้ามาก
สามารถรบเสมอกับเคาทูทหารเอกของโจโฉ
จนโจโฉถึงกับออกปากชมว่าม้าเฉียวนั้นห้าวหาญดุจลิโป้ในวัยหนุ่ม
ลิโป้นั้นคือยอดขุนพลที่ถูกขนานนามว่าเป็นผู้ที่เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น
บางคนถึงกับยกให้เป็นเทพแห่งสงคราม
เมื่อเล่าปี่ได้ม้าเฉียวมาร่วมศึกจึงดีใจมากจัดการเลี้ยง
ฉลองใหญ่ ขณะที่กำลังกินเลี้ยงอยู่นั้น ทหารเล่าเจี้ยงก็ยกทัพมาพอดี
จูล่งจึงอาสาลงไปรบ ใช้เวลาเพียง 3 นาที
เมื่อเล่าปี่ร้องเรียกอาหารมาเสิร์ฟ
จูล่งก็ได้หัวของขุนพลฝ่ายตรงข้ามมาฉลองชัย ม้าเฉียวซึ่งอยู่ในงาน
เลี้ยงด้วยถึงกับตะลึงว่า จะมีคนที่ทำสงครามเยี่ยมยุทธได้ปานนี้
เพราะสภาพของจูล่งที่เดินกลับเข้ามานั้นยังคงเหมือนเมื่อตอนที่เดินออกไปทุก
ประการ ไม่มีบาดแผลหรือเหงื่อแม้สักหยด
หน้าตายังคงสะอาดสะอ้านเรียบร้อยดูไม่เหมือนกับคนที่เพิ่งจะไปออกรบมาสักนิด
ม้าเฉียวจึงนึกชื่นชมจูล่งว่าเป็นยอดทหารโดยแท้จริง
ความ
เก่งกล้าของจูล่ง คือ ภาพแห่งสมรภูมิที่สวยงามที่สุด
ภาพของบุรุษยอดนักรบควบม้าขาวที่ตะลุยไปทางไหน
ทหารฝ่ายข้าศึกก็แตกฮือเมื่อนั้น เป็นสิ่งที่หาไม่ได้อีกแล้วในสมรภูมิใด
แม้แต่จอมทัพฝ่ายศัตรูตัวฉกาจอย่างโจโฉ ถึงกับหลุดปากออกมาว่า “ไอ้นี่มันช่างเป็นยอดเสือจริงๆ”
ขุนศึกผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์
เรื่อง
ความซื่อสัตย์ของจูล่งนั้น ปรากฏเป็นที่ประทับใจแก่เล่าปี่
ตั้งแต่ครั้งที่ยังพบกันไม่นาน
เล่าปี่ประทับใจในความเก่งกาจและความสุภาพชนของจูล่งมาก
จึงพยายามทาบทามจูล่งให้มาอยู่ด้วยกันกับตน
ตัวจูล่งเองก็รู้สึกประทับใจอะไรบางอย่างในตัวเล่าปี่เช่นกัน แต่ก็ปฏิเสธ
โดยให้เหตุผลว่า ตนได้พูดไปแล้วว่าจะรับใช้กองซุน จ้าน จึงไม่ควรกลับคำพูด
ซึ่งทำให้เล่าปี่ประทับใจในคุณธรรมของเขามากขึ้นไปอีก
ภายหลังต้องลาจากเล่าปี่กลับไปช่วยงานกองซุนจ้านที่กำลังเตรียมรบกับอ้วน
เสี้ยว ซึ่งก่อนลานั้นเล่าปี่ถึงกับร้องไห้หนักที่ต้องจากจูล่ง
ซึ่งจูล่งเองนั้นคงจะประทับใจมากจนพูดในแสดงเจตนาว่า
หากกองซุนจ้านต้องมีอันเป็นไป เขาจะขอมาอยู่กับเล่าปี่แทน
ในความรู้สึกของจูล่งขณะนั้น คิดว่าตนเองได้พบนายที่แท้จริงแล้ว
ภาย
หลังเมื่อกองซุนจ้านทำตัวเหลวแหลกเมื่อตอนแก่และต้องฆ่าตัวตายพร้อมกับลูก
เมียอย่างน่าเศร้า ในคราวที่อ้วนเสี้ยวยกทัพใหญ่มาประชิดเมือง
จูล่งได้พบกับเล่าปี่ ที่หนีจากอ้วนเสี้ยวมา และได้เข้าร่วมกับเล่าปี่
นับจากนี้เป็นต้นไปจูล่งก็ได้อยู่ทำหน้าที่เป็นองครักษ์ของเล่าปี่และครอบ
ครัวตราบไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
จูล่ง กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
จู
ล่ง กล้าเตือนและให้สติเจ้านาย เมื่อเห็นว่า เริ่มออกนอกทาง มีคราวหนึ่ง
เล่าปี่ได้แต่งงานและลุ่มหลงในความงามของนางซุนหยิน
และเพลิดเพลินอยู่กับความสำราญที่ทางซุนกวนปรนเปรอให้
ซึ่งเล่าปี่นั้นไม่เคยได้รับมาก่อนก็ทำให้เล่าปี่ไม่ได้สนใจกิจการสงครามอีก
จนเวลาผ่านไปถึงครึ่งปี ร้อนจนจูล่งต้องกล่าวเตือนสติ ซึ่งเมื่อเล่าปี่
ได้คิดและคิดได้ จึงตัดสินใจกลับมาเกงจิ๋ว ในตอนที่เล่า
ปี่จะหนีจากมานั้นได้ถูกทหารของซุนกวนสกัดไว้
แต่นางซุนหยินซึ่งได้เข้าข้างสามีมากกว่าพี่ชายนั้น
ได้ด่าว่าจนทหารเหล่านั้นต้องยอมกลับไป
และขงเบ้งก็ได้ส่งเรือเล็กมารอรับเล่าปี่ตามที่นัดแนะกับจูล่งไว้ล่วงหน้า
ถ้าจะเป็นนักสู้ จงสู้อย่าง "จูล่ง"สู้ด้วยเกียรติและอุดมการณ์
|
จูล่ง ขุนศึกผู้ไม่เห็นแก่ลาภยศ
ใน
ประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ชัดเจนว่า
หลังจากที่เล่าปี่ยึดเมืองเสฉวนได้นั้น ก็ทำการฉลองความสำเร็จอย่างใหญ่โต
และได้นำเอาทรัพย์สินเงินทองที่ได้จากเล่าเจี้ยงมาแจกจ่ายเป็นรางวัลให้แก่
พรรคพวกดังนี้ กวนอู เตียวหุย ขงเบ้ง ได้รับทองคำแท่งคนละห้าร้อยชั่ง
เงินแท่งหนึ่งพันชั่ง เงินเหรียญห้าสิบล้านอีแปะ ผ้าแพรหนึ่งหมื่นพับ
และเรือกสวนไร่นาซึ่งมิได้มีผู้ใดจับจองทำมาหากินนั้นให้แบ่งแก่ขุนนางใหญ่
น้อยเป็นกำลังทำราชการสืบไป
แต่
จูล่งคัดค้านว่าเมืองเสฉวนนี้มีศึกราษฎรต่างพลัดพรากจากภูมิลำเนาที่ทำมาหา
กิน ซึ่งจะเอาเรือกสวนไร่นามอบให้ขุนนางนั้น
ราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของก็จะได้รับความเดือดร้อน
ท่านจงให้ป่าวร้องไพร่บ้านพลเมืองว่า
ภูมิลำเนาและเรือกสวนไร่นาของผู้ใดก็ให้เข้ามาอยู่ทำมาหากินดังเก่า
ราษฎรจึงมีความสุขสืบไป เล่าปี่เห็นชอบด้วย
ก็ให้ทหารไปประกาศป่าวร้องแก่ราษฎรตามที่จูล่งว่า
จากตรงนี้จะเห็นอะไรได้หลายอย่างว่าเล่าปี่นั้นเมื่อสามารถเข้ายึดเมือง
เสฉวนได้แล้วก็เริ่มเผยธาตุแท้อีกด้านของตนออกมา
หากไม่เพราะจูล่งเป็นผู้ที่ออกมาคัดค้านแบบนั้นราษฎรคงจะได้รับความเดือด
ร้อนไปทั่ว
จู
ล่งเป็นขุนศึกเพียงไม่กี่คนของยุคนั้นที่ไม่หลวงระเริงไปกับของรางวัลและ
เงินทองที่ได้รับ เขาไม่เคยร้องขอสิ่งใดๆ จากเล่าปี่เลย
แม้ตนจะมีความชอบมากมายแต่ก็มักไม่พูดถึงความชอบของตนนัก
และไม่ชอบโอ้อวดหรือยกตนข่มท่าน
เขาไม่เคยโอ้อวดตัวเองหรือขอท้าตีกับคนอื่นที่เป็นพวกเดียวกันแม้แต่ครั้ง
เดียว อันเป็นวิสัยที่ตรงข้ามกกับกวนอูอย่างยิ่ง นี่จึงเป็นเหตุ
หนึ่งที่ทำให้เขาทำงานต่างๆไม่ค่อยพลาด
ทั้งนี้เพราะเขารู้จักที่จะอ่อนน้อมต่อผู้อื่น สุขุมเยือกเย็น
และรู้จักใช้สติปัญญา ที่สำคัญเลยคือยึดถือคุณธรรมเป็นที่ตั้ง
เหตุนี้เขาจึงเป็นขุนศึกเพียงคนเดียวในจ๊กก๊กของเล่าปี่ที่ขงเบ้งนิยมใช้งาน
มากที่สุด
เวลาที่ต้องอาศัยคนที่เชื่อใจได้เพราะในยามคับขันที่จำต้องใช้ความกล้าและ
ฝีมือรบพุ่งเข้าแก้ไข จูล่งก็มีฝีมือที่ไม่เป็นสองรองใครติดตัว
นายพลพยัคฆ์เดช
จูล่ง เป็นผู้ที่ติดตามเล่าปี่ตลอด แม้จะไม่ได้สาบานเป็นพี่น้องกันเหมือน กวนอูและเตียวหุย แต่
จูล่งก็เรียกกวนอูและเตียวหุยว่า "พี่สองและพี่สาม" แต่กับเล่าปี่
จูล่งจะเรียกว่า "นายท่าน" เล่าปี่ยกย่องจูล่งเป็น หู่เวยเจียงจวุน หรือ
นายพลพยัคฆ์เดช ตอนที่เล่าปี่จะสิ้นใจได้เรียก ขงเบ้งเข้าพบ พร้อมกับจูล่ง
แล้วทรงตรัสว่า " ท่านกับเรานั้นต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กันมา เเต่มาบัดนี้
ชะตากรรมกำลังพรากเราสอง
ขอให้ท่านนึกถึงนำใจเก่าก่อนช่วยเหลือบุตรเราเเละท่านขงเบ้ง
ฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นอัญเชิญราชวงศ์ฮั่นกลับสู่ราชธานีลกเอี๋ยงด้วย "
ตอน
ที่ขงเบ้งยกทัพไปที่เขากิสาน แถบราบลุ่มกิก๊ก แม้ว่าทัพจะแตกพ่าย
แต่จูล่งพาทหารทั้งกอง กลับมาอย่างปลอดภัย แม้ม้าตัวเดียว ก็ไม่ขาดหายไป
โดยเขาปล่อยให้ทัพล่วงหน้าไป 12 กิโล
ส่วนตัวเอง คอยเป็นคนระวังหลังอยู่เพียงลำพัง ยามเมื่อกองทัพพ่าย
เขารู้ทันทีว่าต้องทำหน้าที่กองระวังหลัง โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งจาก “ขงเบ้ง” ใน
หนังสือสามก๊กพูดถึงตรงนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า
เมื่อตอนที่ขงเบ้งกลับมาถึงค่ายนั้น
รู้สึกกังวลใจกับจูล่งที่ตนได้สั่งให้แยกไปปฏิบัติการโดยลำพัง
เพราะในขณะที่ทุกทัพถอยกลับมาหมดแล้วยังไม่ได้ข่าวคราวจากทัพของจูล่งเลย
จนเมื่อจูล่งกับเตงจี๋นำกองทหารกลับมาโดยที่ไม่เสียไพร่พลแม้แต่คนเดียวนั้น
ขงเบ้งถึงกับพิศวงว่า จูล่งทำได้อย่างไร จึงสอบถาม
แต่จูล่งไม่สนใจที่จะตอบ โดยพูดในทำนองที่ว่า
นั่นไม่ได้เป็นผลงานยิ่งใหญ่แต่อย่างใด เพราะทัพใหญ่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้
เตงจี๋ทนเฉยไม่ไหวจึงบอกต่อขงเบ้งถึงการกระทำอันห้าวหาญและเปี่ยมด้วยปัญญา
ของจูล่งที่นำทหารถอยทัพกลับมาได้ เมื่อขงเบ้งได้ยินแล้ว
ก็ถึงกับมีหนังสือคารวะต่อจูล่งว่า “เป็นทหารเอกหาผู้เสมอมิได้” จากนั้นจึงปูนบำเหน็จให้อย่างงาม แต่จูล่งปฏิเสธที่จะรับและกล่าวว่า “ขอให้นำทองซึ่งได้เป็นบำเหน็จนี้คืนแก่ท้องพระคลังเถิด และถ้าถึงกำหนดเบี้ยหวัดแล้วจงเอาแจกแก่ทหารทั้งปวง” สิ่งนี้ได้แสดงถึงความ ไม่โลภ หรือหลุ่มหลงไปกลับลาภยศ เงินทอง และด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนของจูล่งนี้ หนังสือสามก๊กได้บันทึกว่า “นับแต่นั้นไปขงเบ้งก็มีความคารวะจูล่งเป็นอันมาก”
เมื่อยามศึกยังสู้แม้ตัวเองแก่แล้ว
มีครั้งหนึ่ง ก่อนรบศึกกับฝ่ายวุยก็ก ช่วงนั้นขงเบ้งเลือกทหารให้ไปรบ แต่กลับไม่เลือกจูล่ง จูล่งในยามนั้นมีอายุได้ 70 กว่า
ปีแล้ว ผมขาวไปทั้งหัว หน้าตามีร่องรอยแห่งความชรา
แต่ความห้าวหาญและฝีมือรบอันเลื่องลือนั้นยังคงดังเดิม จูล่ง
จึงเข้าพบขงเบ้งและถามว่า ทำไมศึกใหญ่แบบนี้จึงไม่มีชื่อตนอยู่ด้วย
ขงเบ้งจึงบอกว่า
เมื่อครั้งไปปราบเบ้งเฮ็กก็เสียม้าเฉียวซึ่งป่วยหนักไปคนหนึ่งแล้ว
บัดนี้ห้าทหารเสือผู้ยิ่งยงแห่งจ๊กก๊กเหลือเพียงจูล่งเป็นคนสุดท้าย
และมีอายุมากแล้ว เกรงว่าจะพลาดท่าในสนามรบและทำให้เสียเกียรติประวัติไป จู
ล่งจึงแย้งว่า ข้าทำศึกมาตั้งแต่หนุ่มจนอายุเพียงนี้
ก็ยังไม่เคยพ่ายแพ้แก่ผู้ใด
ในที่สุดขงเบ้งก็ยอมให้จูล่งเป็นแม่ทัพหน้าในการเข้าตีข้าศึกก่อนผู้อื่น
และฝ่ายตรงข้ามก้ประจักษ์ถึงอานุภาพของนักรบแก่ที่บั่นหัวขุนพลหนุ่มๆ ถึง
๓-๔ หัวได้ในพริบตา เป็นที่ครั้นคร้ามแก่แม่ทัพนายกองฝ่ายศัตรูยิ่งนัก
ยอดขุนพลในดวงใจของมหาชน
จูล่งเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 229 หลัง
จากที่จูล่งตาย ขงเบ้งได้รำพันออกมาว่า "แขนซ้ายพระเจ้าเล่าเสี้ยนขาดแล้ว"
และเป็นลมสิ้นสติไปด้วยความเสียใจ จูล่ง คือ
ยอดขุนพลในดวงใจของมหาชนทั้งหลาย เพราะเป็นคนซื่อสัตย์
ทำการโดยไม่เห็นแก่ลาภยศ แม้แต่พระเจ้าเล่าเสี้ยนหลังได้รับแจ้งว่า
จูล่งถึงแก่ความตายแล้วก็ทรงพระกันแสงรำพันไปถึงความหนหลังครั้งที่จูล่ง
พิทักษ์รักษาชีวิตของท่านตลอดมา แล้วก็ให้แต่งการศพจูล่งไปฝังไว้ที่สมควร
สร้างเป็นศาลเทพารักษ์ไว้บูชามาตราบเท่าทุกวันนี้ พระเจ้าเล่าเสี้ยน
ตั้งบรรดาศักดิ์ย้อนหลังแก่จูล่งเป็น “ซุ่นผิงโหว” หรือพระยาสามัญนิยม แล้วตั้งให้บุตรจูล่งทั้งสองเป็นทหารผู้ใหญ่
ถ้าจะเป็นนักสู้ จงสู้อย่างจูล่ง
ขุน
ศึกที่มิเคยพ่ายศึกแม้แต่ครั้งเดียว
มากพร้อมทั้งความสามารถในเชิงยุทธและสติปัญญาในการวางกลอุบาย
เป็นขุนศึกที่มีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนและเปี่ยมไปด้วยความสุขุมรอบคอบ
ไม่มีข้อด่างพร้อยในเรื่องผู้หญิงเลยสักครั้ง
เขาเป็นยอดนักรบที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ในยามรบแน่นอนว่า
เราไม่อาจเลี้ยงการเข่นฆ่าอริราชศัตรูได้ แต่จูล่ง จะฆ่าเพียงบุคคล 2 พวก
เท่านั้น คือคนที่เป็นศัตรูกับคนเลวที่สมควรตาย
แต่ในยามปกติขุนศึกผู้นี้เป็นสุภาพชนที่พูดน้อยและนอบน้อมต่อผู้อื่นเสมอ
โดยไม่มีลักษณะของนักรบที่เข่นฆ่าผู้อื่นเลย ขุนพล แม่ทัพส่วนใหญ่
มักจะจบชีวิตลงไปกับการต่อสู้ ในสนามรบ แต่ “เตียวจูล่ง” กลับจากไปอย่างสงบ บนเตียงนอนของเขาเอง จึงได้ชื่อว่า เป็นสุดยอดนักรบ ผู้ซึ่งเริ่มและจบลงอย่างสวยงาม
จูล่ง "สุภาพบุรุษจากเสียงสัน"