Pages

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

บทความ..บัญญัติสังฆกรรม

บัญญัติสังฆกรรม
บทความโดย พระวิสัน  ปริมาณ

          ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลักดันให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้แบบลักษณะเสรีภาพในระดับปัจเจกชนและเกิดกระแสประชาธิปไตยอย่างรุนแรงปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้เช่นนี้ทำให้หลายประเทศจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อ  กระแสโลกาภิวัตน์นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น การสร้างถนน ประปา เขื่อน ฯลฯ เพราะอันสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก การดำเนินกิจกรรมในที่มีผลกระทบคือการบัญญัติตัวบทกฎเกณฑ์ที่ต้องนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม
บัญญัติสังฆกรรมเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความเป็นระเบียบในคณะสงฆ์เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงสอดคล้องกับ พุทธบัญญัติ[1] เกิดขึ้นจากการที่มีภิกษุหรือภิกษุณีประพฤติไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม หรือประพฤติเสียหายขึ้นจนชาวบ้านพากันตำหนิโพนทะนา ทรงรับทราบแล้วจึงให้ประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามไว้ การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้ามีลักษณะเช่นนี้ทั้งหมด
สาระสำคัญในการบัญญัติกฎเกณฑ์ในการใช้ร่วมกันในหมู่ “พระสงฆ์”[2]จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการตั้งกฏบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ปัญหาสำคัญในการตั้ง 1.บัญญัติ การบัญญัติปลายเหตุโดยไม่คำนึงถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน เช่นการบัญญัติห้ามพระขับรถ [3] เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันถึงใช้หลักนิติธรรม(กฏ) ที่ใช้กับพระสงฆ์ในปัจจุบันจึงกลายเป็นเรื่องบานปลายและพาดพิงถึง เถระสมาคมถึงการวางมาตรการในการคุ้มครองสิทธิพระสงฆ์ ปัญหาข้อที่ 2. สังฆกรรม การบัญญัติกฎเกณฑ์ต้องไม่เป็นสภาพที่ตรึงจนเกินเหตุ เป็นสภาพที่สุ่มเสี่ยงในการแบ่งแยก ลัทธิและรวมถึงพระสงฆ์ในปัจจุบันก็ออกมาคัดค้านในกฏบัญญัติตัวนี้แต่นั่นยังไม่เป็นสาระสำคัญเพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
ผู้เขียนมองเห็นว่าสาระประโยชน์ในการสร้างกฏเกณฑ์ที่สร้างสรรค์นั้นมีอยู่จริงในสภาสังฆปริมณฑลแต่ควรจะนำบัญญัติในสอดคล้องกับหลักความจริงที่ปรากฏในปัจจุบันให้สอดคล้อง กับสังคมสงฆ์ สังคมของฆราวาส ต้องไม่ขัดต่อหลัก อปริหานิยธรรม ข้อที่ 3 กล่าวว่า ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ตามที่พระองค์บัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความสันติภาพ ภารดรภาพ ในคณะสงฆ์สืบไป .



[1] พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
[2] http://th.wikipedia.org/wiki
[3] http://www.dailynews.co.th/Content/education

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น