วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โมฆียะสังโฆ

โมฆียะสังโฆ

บทความโดย...วิสัน  ปริมาณ


ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ ทำให้สภาพสังคมในปัจจุบันมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อรับกระแส “โลกาภิวัฒน์” เช่น การสื่อสาร กันทางอินเตอร์เน็ต เฟสบุคส์  ไลน์ อินสตาร์แกรม ฯลฯ อันเป็นสภาพสังคม ออนไลน์มีลักษณะเสรีภาพในระดับปัจเจกชน ในการใช้สื่ออย่างไร้ขอบเขต  ตามสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก การดำเนินกิจกรรมในที่มีผลกระทบนั่นก็คือ การบัญญัติตัวบทกฎเกณฑ์ ที่จะนำมาบังคับใช้ในสังคมพระสงฆ์ในปัจจุบัน
โมฆียะ การบังคับกันได้โดยสมบูรณ์ ไม่สามารถบอกล้างกันได้อีกต่อไป [1] นั่นหมายถึง กฎบัญญัติ ศีล 227 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บังคับใช้ใน สังฆปริมณทล เพื่อความเป็นระเบียบในคณะสงฆ์เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงสอดคล้องกับ พุทธบัญญัติ
พระสงฆ์[2] หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้
          สาระสำคัญในการใช้กฎเกณฑ์หรือกฎบัญญัติอันเป็นซึ่งกฎเกณฑ์เกณฑ์เดียวกัน ปัญหาสำคัญในการบวนการใช้กฏเกณฑ์หรือกฎบัญญัติดังกล่าว จะใช้ไม่ได้เลยสำหรับกลุ่มพระสงฆ์ หัวดื้อ หัวรั้น ใช้ข้ออ้างในการเผยแผ่ ในทางที่ผิด เช่น พระสงฆ์ เล่น เฟสบุคส์ กันเกลื่อนเมืองหรือทั่วประเทศ เล่นกันลักษณะเป็นสิ่งเสพติด ชนิด ขาดไม่ได้เพียงเสี้ยว วินาทีอะไรทำนองนั้น ดังนั้น โมฆียะ ที่สามารถบังคับใช้ได้ แต่ไม่ใช้ พระอานนท์ ตรัสถามพระศาสนดา “เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้วใครจะเป็นศาสดาองค์ต่อไป” พระศาสดาตรัสว่า “ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว ให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอนของพระองค์เป็นศาสดาแทนพระองค์ด้วย”[3] ดังนั้นการบัญญัติต่างๆ ในเจตคติส่วนลึกที่ยัง เป็น “สมมุติสงฆ์” ควรใคร่ครวญในการบัญญัติวินัย เพราะไม่มีพระสงฆ์ท่านใด มาลบล้าง พระธรรมะวินัยของพระพุทธเจ้าได้
          พระสงฆ์ คือ กลุ่มที่น้อมรับฟังในพระวินัยของพระพุทธเจ้ามิใช่ ผู้บัญญัติกฎกันขึ้นมาโดยอ้างความสามัคคี เช่น การใช้สีจีวร สีเดียวกัน ฯลฯเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชี้วัดในการบรรลุธรรมแต่ประการใดเลย รังจะสร้างความแตกแยก แตกสามัคคี
          ผู้เขียนมองสารประโยชน์ในการใช้กฎบังคับใช้พระวินัยในการบังคับใช้กับพระสงฆ์หมู่ใหญ่ว่าแต่ล่ะภูมิภาคมี ความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นถ้าจะปกครองโดยใช้กฎเกณฑ์แบบมหาเถรสมาคม ควรใคร่ครวญข้อบังคับใช้ และให้อิสรภาพในด้านความคิดของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ ให้สอดคล้อง กับสังคมสงฆ์ สังคมของฆราวาส ต้องไม่ขัดต่อหลัก อปริหานิยธรรม ข้อที่ 3 กล่าวว่า ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ตามที่พระองค์บัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความสันติภาพ ภารดรภาพ ในคณะสงฆ์สืบไป .





[1] http://www.bu.ac.th/th/bunews/2546/Aug23/law.html
[2]http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C
[3] guru.google.co.th/guru/thread?tid=519c5f7dd41ee2f0





วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ความภาคภูมิใจจาก ผู้ที่มีความเพียรพยามเท่านั้นจึงได้ความสำเร็จนั้นๆมา และความสำเร็จดังกล่าวหากขาดผู้ชี้นำแนวทางก็จะสำเร็จได้โดยยาก ขอขอบคุณท่าน อาจารย์ ผศ.ดร. เพ็ญศรี ฉิรินัง ได้พยามขัดเกลาจากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งให้ถึงฝั่งฝัน เป็นความภาคภูมิใจที่หาประมาณมิได้ ......." ความไว้วางใจของอาจารย์.....เป็นสิ่งที่ศิษย์คนนี้เทิดทูลที่สุด......จากใจ ศิษย์เอก อาจารย์ หญิง



วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

ภาพบรรยากาศการนำเสนอผลงานวิชาการ ในงานการประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการวิจัยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (SAU NATIONAL INTERDISCIPINARY CONFERENCES 2014) ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท26 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 โดยได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เป็น SESSION CHAIR ในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ PUBLIC ADMINISTRATION




วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

อมยิ้ม P1

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

บัญญัติสังฆกรรม
บทความโดย พระวิสัน  ปริมาณ

          ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ผลักดันให้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้แบบลักษณะเสรีภาพในระดับปัจเจกชนและเกิดกระแสประชาธิปไตยอย่างรุนแรงปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้เช่นนี้ทำให้หลายประเทศจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อ  กระแสโลกาภิวัตน์นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น การสร้างถนน ประปา เขื่อน ฯลฯ เพราะอันสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก การดำเนินกิจกรรมในที่มีผลกระทบคือการบัญญัติตัวบทกฎเกณฑ์ที่ต้องนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม
บัญญัติสังฆกรรมเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความเป็นระเบียบในคณะสงฆ์เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงสอดคล้องกับ พุทธบัญญัติ[1] เกิดขึ้นจากการที่มีภิกษุหรือภิกษุณีประพฤติไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม หรือประพฤติเสียหายขึ้นจนชาวบ้านพากันตำหนิโพนทะนา ทรงรับทราบแล้วจึงให้ประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเป็นข้อห้ามไว้ การบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้ามีลักษณะเช่นนี้ทั้งหมด
สาระสำคัญในการบัญญัติกฎเกณฑ์ในการใช้ร่วมกันในหมู่ “พระสงฆ์”[2]จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการตั้งกฏบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ปัญหาสำคัญในการตั้ง 1.บัญญัติ การบัญญัติปลายเหตุโดยไม่คำนึงถึงสภาพการณ์ในปัจจุบัน เช่นการบัญญัติห้ามพระขับรถ [3] เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันถึงใช้หลักนิติธรรม(กฏ) ที่ใช้กับพระสงฆ์ในปัจจุบันจึงกลายเป็นเรื่องบานปลายและพาดพิงถึง เถระสมาคมถึงการวางมาตรการในการคุ้มครองสิทธิพระสงฆ์ ปัญหาข้อที่ 2. สังฆกรรม การบัญญัติกฎเกณฑ์ต้องไม่เป็นสภาพที่ตรึงจนเกินเหตุ เป็นสภาพที่สุ่มเสี่ยงในการแบ่งแยก ลัทธิและรวมถึงพระสงฆ์ในปัจจุบันก็ออกมาคัดค้านในกฏบัญญัติตัวนี้แต่นั่นยังไม่เป็นสาระสำคัญเพราะเป็นการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
ผู้เขียนมองเห็นว่าสาระประโยชน์ในการสร้างกฏเกณฑ์ที่สร้างสรรค์นั้นมีอยู่จริงในสภาสังฆปริมณฑลแต่ควรจะนำบัญญัติในสอดคล้องกับหลักความจริงที่ปรากฏในปัจจุบันให้สอดคล้อง กับสังคมสงฆ์ สังคมของฆราวาส ต้องไม่ขัดต่อหลัก อปริหานิยธรรม ข้อที่ 3 กล่าวว่า ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ตามที่พระองค์บัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความสันติภาพ ภารดรภาพ ในคณะสงฆ์สืบไป .



[1] พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
[2] http://th.wikipedia.org/wiki
[3] http://www.dailynews.co.th/Content/education

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557



ครู    เปรียบดังสมอง    สอนให้ศิษย์ได้ คิด และความจำ และจินตนาการ
ครู    เปรียบดังปาก    สอนให้ศิษย์ได้ ใช้วาทกรรม ในการโต้ตอบได้อย่างปรีชา
ครู    เปรียบดังใบหู      สอนให้ศิษย์ ได้รับฟังตามทัศนะคติของผู้อื่นให้ได้ความรู้มากขึ้น

ครู   เปรียบดังมือ       สอนให้เราได้เขียนวรรณกรรม ผลงานเขียน ได้อย่างสมภูมิ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557




ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งความรู้ ความปรีชาญาณ อาจารย์คือแสงสว่างนำพาพวกเราชาว MPA_12 สู่ความสำเร็จทั้งหน้าที่การงาน ขออาจารย์จงมีแต่ความสุข ทั้งอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิภาณ ธนสารสมบัติทุกประการ เจริญธรรม

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up