วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กระบวนทัศน์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคต

             นักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ในอนาคตว่ากระบวนทัศน์ปัจจุบันของรัฐประศาสนศาสตร์ จะไม่มีอายุที่ยืนยาวหรือเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการตลอดไป แต่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างแน่นอน โดยมีสาเหตุ ดังนี้ (Denhardt, 2008, p. 87; Golembiewski, 1989, p. 13; Henry, 1980, p. 139)
             1. ความคิดเห็นที่แตกต่างกันของนักรัฐประศาสนศาสตร์ เนื่องจากในอดีตจะเห็นได้ว่า ได้เกิดวิกฤติการณ์ทางด้านความคิดของนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ได้คิดหลักการต่าง ๆ ขึ้นมาสนับสนุนหรือคัดค้านกันเองภายในกลุ่มนักวิชาการ โดยต่างคนต่างมีความคิด ต่างมีเหตุผลและมุมมองเป็นของตนเอง โดยที่ไม่คำนึงถึงเอกลักษณ์จริง ๆ ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งอาจสรุปได้ว่า จริง ๆ แล้ว วิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังไม่สามารถมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนได้ จึงทำให้จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างแน่นอนในอนาคต แต่ถ้าในอนาคตนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถค้นพบเอกลักษณ์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์อย่างชัดเจนได้ จะทำให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงและเป็นรูปแบบที่มีแนวทางในการพัฒนาในอนาคต
             2. ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปัจจัยที่กล่าวถึงในที่นี้ขอยกตัวอย่างปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก ดังนั้น จะเห็นได้ว่าถ้าปัจจัยภายนอกแปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลกระทบต่อแนวความคิดของวิชารัฐประศาสนศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในอนาคตวิทยาการการบริหารแบบใหม่ที่มีอิทธิพลมาจากตะวันตก จะเข้ามามีอิทธิพลต่อแนวความคิดของนักรัฐประศาสนศาสตร์และจะมีผลสืบเนื่องอย่างมากต่อการพัฒนาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคต
             อุทัย เลาหวิเชียร (2520, หน้า 468-471) ได้กล่าวถึง อนาคตของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ว่า “เป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะให้มีการเปลี่ยนชื่อจาก รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการวิเคราะห์นโยบาย เนื่องจากเห็นว่าแท้จริงแล้ววิชารัฐประศาสนศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ซึ่งแนวคิดนี้จะช่วยให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีเอกลักษณ์มากขึ้น”
             แต่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในต่างประเทศ กลับเห็นว่า การสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการผลิตคนให้เป็นนักบริหารราชการ ซึ่งทิศทางของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คือ การยึดถือหลักวิชาชีพในการผลิตคนไปทำงานในระบบราชการเพื่อที่จะต้องพร้อมในการบริหารงานได้ โดยไม่สนใจการแสวงหาเอกลักษณ์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
             ในขณะที่ Wald (1973, p. 366) ได้สรุปทิศทางของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ไว้เป็น 2 แบบขณะที่ ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2551, หน้า 1-8) เห็นว่า ในช่วง 60 ปี ที่ผ่านมารัฐประศาสนศาสตร์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ Modernism หรือ “สมัยใหม่นิยม” มาโดยตลอด และ Modernism เองก็มีองค์ประกอบหรือครอบคลุมเพียง Cybernetics, Game Theory และ Systems Theory ที่มีพื้นฐานของระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ หรือตรรกปฏิฐานนิยม (empirical/logical positivism) ที่เน้นวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์ พฤติกรรมและปรากฏการณ์ด้วยโสตประสาททั้งห้าเท่านั้นแต่กรอบแนวความคิดและระเบียบวิธีวิจัยข้างต้นนั้นได้ถูก Postmodernism หรือ “ภายหลังสมัยใหม่นิยม” ให้สมญานามว่าเป็น “การบรรยายที่ยิ่งใหญ่” (meta-narrative, great narrative หรือ grand narrative) เปรียบเสมือนเป็นยาวิเศษที่ นักรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถูกกล่าวหาว่า ตกอยู่ในความหลงใหลกับ Grand Narrative ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มาตลอดระยะเวลา 60 ปี สาเหตุ คือ การใช้เกณฑ์ของสมัยใหม่นิยมเป็นเครื่องมือในการคัดสรรกรอบแนวความคิด ระเบียบวิจัยและผู้ที่ศึกษา ในขณะที่กรอบแนวความคิดหรือผู้ที่ศึกษาคนใดที่มีประพฤติตนอยู่ในกรอบ Modernism จะได้รับการยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่ดีที่สุดของสาขาวิชา ส่วนกรอบแนวความคิดใดหรือผู้ที่ศึกษาใดที่คิดนอกกรอบนี้ ก็จะถูกจัดให้อยู่ในประเภทของคนที่มี“ความเป็นอื่น” The Otherness จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ติน ปรัชญพฤทธิ์ เห็นว่า อิทธิพลที่มีต่อการศึกษาในทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่นอกเหนือจาก Cybernetics, Game Theory และ Systems Theory บวกกับ Empirical Study ของ Modernism แล้ว ยังมีกรอบแนวความคิดและระเบียบวิธีวิจัยอื่นอีก คือ ของ Postmodernism เฉพาะยิ่งในประเด็นที่ Postmodernism ระบุว่า Cybernetics ก็ดี Game Theory ก็ดี Systems Theory ก็ดี และ Empirical Study ของรัฐศาสตร์ Modernism 60 ปีที่ผ่านมาก็ดี อย่างมากที่สุดก็สามารถบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์พฤติกรรมและปรากฏการณ์ได้เพียงหนึ่งในสามที่โผล่มาเหนือน้ำของ Iceberg หรือที่เรียกว่า “Direct Or Conscious Behavior” เท่านั้น ส่วนอีกสองในสามส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำที่ Modernism ยังไปไม่ถึงจะต้องหันไปใช้กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัยของ Postmodernism จึงจะสามารถบรรยาย อธิบาย และพยากรณ์พฤติกรรมและปรากฏการณ์ได้ครบถ้วน ซึ่งสองในสามส่วนหลังนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับย่อย คือ หนึ่งส่วนสามที่อยู่ตรงกลางหรือระดับ Structural or Subconscious behavior และหนึ่งส่วนสามที่อยู่ลึกสุด คือ ระดับ Cultural or Unconscious Behavior
             โดยแนวความคิด postmodernism (รวมทั้ง poststructuralism) มิได้เข้ามาสู่รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์โดยตรง แต่เข้าไปแทรกในสาขาวิชาอื่น ๆ ก่อน เช่น วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฯลฯ ต่อจากนั้นจึงเข้ามาถึงรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในทศวรรษ 1960 และนี่คือ สัญญาณที่ให้นักรัฐศาสตร์และนักรัฐประศาสนศาสตร์ ได้ตื่นจากภวังค์ของ Modernism กล่าวโดยสรุปได้ว่ารัฐประศาสนศาสตร์กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Modernism ไปยัง Postmodernism ดังนั้น โปรด Pick Your Pick กล่าวคือ นักรัฐประศาสนศาสตร์ไทยมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ (1) ยังคงอยู่กับสมัยใหม่นิยม (2) มุ่งไปสู่ภายหลังโครงสร้างนิยม และภายหลังสมัยใหม่นิยม และ (3) ทั้งสมัยใหม่นิยม และภายหลังสมัยใหม่นิยมทั้งคู่ อย่างไรก็ดี เพื่อจะให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Modernism และ Postmodernism สามารถเปรียบเทียบมุมมองบางมุมมองของทั้งสองสำนัก

บรรณานุกรม

ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2552). พัฒนาการและลักษณะของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ระดับปริญญาตรีในประเทศไทย. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2520). ทางสองแพร่งของรัฐประศาสนศาสตร์: พัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2551). รัฐศาสตร์ 60 ปี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์.

Golembiewski, R. T. (1989). A note on Leiter’s study: Highlighting two models of burnout. Group & Organization Management, 14(1), 5-13.

Wald, E. (1973). Toward a paradigm of future public administration. Public
Administration Review, 33, 366-372.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up