วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555


วิญณาณนักศึกษารปม.วิชานโยบายสาธารณะเข้าสิง


เริ่มเรียนคณะนี้วันแรก    กระต่ายเองถึงกับถอดใจทีเดียว   เพราะว่า  ไม่มีพื้นฐานวิชาเรียนทางรัฐศาสตร์ เลย   มึนงงอาทิตย์แรกนอนไม่หลับ  เริ่มคันศรีษะ   คงจะเหมือนที่อาจารย์ผู้สอนบอก  วิญญาณนักศึกษาป.โทเข้าสิงอีกครั้งเรียนกับ  ผศ.ดร. เพ็ญศรี  ฉิรินัง   เจอกันอาทิตย์แรก    ตามท่านไม่ทัน    นึกในใจ   ตายแน่    อะไรนี่ไม่รู้เรื่องเลย  สอนไวมาก   กระต่ายเองนั่งงงทั้งวัน   นึกในใจ   แหม...เราไม่น่ารีบลงทะเบียนเลย..ถอนตัวไม่ทัน  เสียรู้  คนที่บ้านแล้วยุให้เรามาเสียเงินลงทะเบียนเรียนตั้งแต่วันแรก      เลยมีอาการเสียดายสตางค์  ขึ้นมาฉับพลัน  เอ๊า....เรียนก็เรียนว่ะ...
ผศ.ดร. เพ็ญศรี  ฉิรินัง    เป็นผู้หญิง  ที่มีเอกลักษณ์  สไตล์การสอนของตัวเอง   ท่าน  เป็นธรรมชาติมาก  ใจดี    สอนสนุกๆ  ฮาๆๆแต่วิชาการเพียบ    พอเริ่มคุ้น   และ  ชอบ  ในแบบที่ท่านสอน   ก็เลยมีความสุขในการเรียนอีกครั้งหนึ่งเรียนมันทั้งเสาร์อาทิตย์   วิชาเดียว   เรียนไปฟรีเซนต์ไป     ฟังอาจารย์บรรยายไป
รู้เรื่องบ้าง  ไม่รู้เรื่องบ้าง   ตามความโง่เขลาของตัวเอง   จนคนที่บ้านแซว    จะกลับไปขายวัว   ส่งควายเรียน555555555
อ้าว,,สอบแล้วอาทิตย์นี้     ถามรุ่นพี่   ว่าท่านออกสอบแนวไหน   เพราะท่านว่า    openook   เลยคิดว่า   กะจะเหมารถบรรทุกขนหนังสือมาตอบกันเลย     รุ่นพี่ว่า    เปิดให้ตาย  ก็ไม่เจอแหมดีใจที่ยังไม่ทันเหมารถ...  ขอนำเอาสิ่งที่ท่านสอนมาลงประกอบเรื่องสั้นแล้วกันคะ  เพื่อ  จะเป็นประโยชน์  กับบางคนบ้างก็ได้

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
แนวคิดทั่วไป
l ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มีระบอบการปกครองแบบใด มนุษย์ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐอยู่ด้วยเสมอ
l เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
l ผู้รับผลกระทบ
l ผู้สนับสนุน หรือผู้คัดค้าน
l จากคำกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้
l ทำให้บุคคลหลายคนเข้าใจและให้ความสำคัญต่อนโยบายอย่างมาก
l ในขณะที่อีกหลายคนไม่เข้าใจ เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า...
l           “ทำไมจึงต้องกำหนดนโยบายเช่นนี้”ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ...
qความไม่รู้
qความไม่เข้าใจในเรื่องของนโยบาย 

นโยบายเกิดจากอะไร?
vนโยบายเกิดจากปัญหาและความต้องการของสังคมในประเทศนั้น โดยปัญหาอาจจะเกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลไปกระทำหรือไม่กระทำ หรือไม่ปฏิบัติตามบางอย่าง หรือปัญหาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ
vความต้องการอาจเป็นของบุคคลหรือกลุ่มชน ซึ่งเสนอต่อรัฐว่าต้องการอะไร ต้องการเรื่องใด ความต้องการเหล่านั้นและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น จะถูกผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ โดยรัฐจะหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของสังคม

vวิธีการที่รัฐบาลตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการเรียกว่า 
v“นโยบาย” (Policy)
ความหมายของนโยบายสาธารณะ
qคำว่า นโยบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการมาจากศัพท์ว่า 
นย + อุบาย” หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเองหรือหมายถึง“แนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์”
vว่า “ Policy ” มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน
vมาจากรากศัพท์ภาษากรีก “Polis” ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ
vนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า นโยบายสาธารณะ
(
Public Policy) ในหลายมิติตามวัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาของแต่ละคน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
vกลุ่มที่ 1 ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
vกลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
vกลุ่มที่ 3 ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
vกลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
vเดวิด อีสตัน (David Euston) (1953)
vให้คำนิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า “หมายถึงการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนร่วม”
vบุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าว ได้แก่รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ หรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลต่อการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม นั้น ๆ
vเจส์ม แอนเดอร์สัน (James Anderson) (1970)
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางการกระทำ (Course of action) ของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เกษตรกรรม เป็นต้น
vเป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
vไอรา ชาร์คานสกี้ (Ira Sharkansky) (1970)
vนโยบายสาธารณะ คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทำ
vกิจกรรมดังกล่าวครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ :
v1. กิจกรรมเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
v2. กฎ ข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วินัยตำรวจ/ทหาร ข้อบังคับของพนักงานควบคุมโรงงาน
v3. การควบคุมการกำหนดนโยบายหรือการกระทำทางการเมืองอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเสนอร่างกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การสถาปนาหรือการตัดสัมพันธภาพการทูตกับประเทศต่าง ๆ
v4. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองในโอกาสและเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เช่น
วันชาติ วันสำคัญทางศาสนา
vธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) (1984)
vนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า รัฐบาลจะต้อง
ทำอะไร ทำไมจึงต้องกระทำเช่นนั้น และอะไรเป็นความแตกต่างที่รัฐบาลกระทำขึ้น นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง 
สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำ
vลูอิส โคนิก (Louis Koenig) (1986)
vนโยบายของรัฐ คือกิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลต่อความกินดี อยู่ดีของประชาชน นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน
vกลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
vลินตัน คอล์ดเวลล์ (Lynton Coldwell)
vนโยบายสาธารณะ ได้แก่ บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สังคมอนุญาต หรือห้ามมิให้กระทำการ การตัดสินใจดังกล่าวอาจออกมาในรูปคำแถลงการณ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น และจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต
vวิลเลี่ยม กรีนวูด (William Greenwood)
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น เพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางของการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
vอาร์ เจ เอส เบเกอร์ (R.J.S. Baker)
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะทำอะไร
vอมร รักษาสัตย์ 
vนโยบายสาธารณะ
vในความหมายอย่างแคบ หมายถึง หลักการและกลวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
vในความหมายอย่างกว้าง จะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย
vHeinz Eulau และ Kenneth Prewitt 
vนโยบายสาธารณะ  เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่การตัดสินใจชั่วขณะ แต่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน มีลักษณะของการกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง และกระทำซ้ำ ๆ ทำในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
vกลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
vชาร์ลส์ จาคอป (Charles Jacop)
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่าง ๆ
vฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับ อับราฮัม แคปแพลน (Harold Lasswell & Abraham Kaplan)
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น อันประกอบด้วย เป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ
vทินพันธุ์ นาคะตะ 
vนโยบายสาธารณะ หมายถึง โครงการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในการจัดสรรคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่สังคม
vกล่าวโดยสรุป
vในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาล และมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล
vในความหมายที่กว้าง นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาลอย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจเลือก และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
vนโยบายระดับชาติมักมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางแต่ขาดความชี้ชัดเฉพาะเจาะจง
vนโยบายระดับล่าง จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับชาติ จะมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจง เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
vความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
vเมื่อมีการกำหนดนโยบายหนึ่ง ๆ ขึ้นมา นโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
vฝ่ายรัฐบาล ความศรัทธา ความเชื่อถือ
vฝ่ายข้าราชการ นโยบายสาธารณะจะเป็นกลไก เครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการทำงาน
vฝ่ายประชาชน  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย
vผู้ศึกษานโยบายสาธารณะ เพื่อพัฒนาวิธีการศึกษา
vความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
vHarold D. Lasswell 
vกล่าวว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะ ก็คือการกำหนดว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือของการได้เสียผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนในสังคม
vฉะนั้น บุคคลใดมีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะได้มากกว่า จะได้เปรียบและหาประโยชน์ได้มากกว่า
vนโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม กำหนดผลประโยชน์ของประเทศ กำหนดทิศทางการพัฒนา
vองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
vการพิจารณาเฉพาะความหมายของนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีผู้อธิบายไว้แตกต่างกัน อาจจะยังไม่เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นนโยบายสาธารณะ และสิ่งใดที่ไม่ใช่ จะดูจากองค์ประกอบ
vเงื่อนไขสำคัญที่ทุก ๆ นโยบายจะต้องมีอยู่เสมอ
vนโยบายสาธารณะจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน (สอดคล้องหรือสนองความต้องการของประชาชนเป็นส่วนรวม)
vต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่จะทำให้เป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จ (มีผลเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะกรณีหรือเฉพาะบุคคล)
vแนวทางเลือกในการตัดสินใจเพื่อจะกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำ
vต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่น่าจะเป็นไปได้ (เมื่อนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพ้อฝัน)
vนโยบายสาธารณะเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำเอานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ :
vต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอน
vต้องมีลำดับขั้นตอนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
vต้องกำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเวลา สถานที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
vต้องมีประกาศให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วกัน (แถลงต่อสภา ประกาศผ่านสื่อมวลชน)
vต้องมีการดำเนินการตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว
vนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ของสังคม มีองค์ประกอบดังนี้
vต้องเป็นแผนงานรัฐบาล(ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง)
vแผนงานดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเป็นโครงการไว้ล่วงหน้า (เพื่อเป็นหลักประกันว่า ได้ผ่านการพิจารณามาอย่างดีแล้ว, เพื่อให้มีเวลาแจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมตัวและอาจมีการแสดงความคิดเห็น)
vแผนงานของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นโครงการไว้แล้วนั้น จะต้องเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด




ลักษณะของนโยบายสาธารณะ
l การจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะตามผลกระทบที่พึงจะเกิดขึ้น จำแนกได้ 4 ประการ
l เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในสังคม (พอใจ ไม่พอใจได้ประโยชน์และเสียประโยชน์)
l เป็นกลไกในการจัดระเบียบสังคมไปในแนวทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอื่นหรือสังคมอื่น (ความรักชาติความเป็นชาตินิยม ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ)
l เป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรปันส่วนสินค้าและบริการให้แก่สมาชิกของสังคม (เป็นธรรมทั่วถึง)
l เป็นเครื่องมือในการดึงดูด หรือถอนเงินมาจากสังคมโดยทั่วไป (ภาษีอากรค่าธรรมเนียมค่าปรับ แล้วนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบริการสาธารณะ เช่นการรักษาความสงบ, การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อการส่งเสริมการศึกษา)
l การจำแนกลักษณะของนโยบายสาธารณะตามรูปแบบลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป  (คล้ายกับองค์ประกอบ แต่เป็นการอธิบายลักษณะมากกว่าองค์ประกอบ)
l นโยบาย มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติ (แสดงเป้าหมายและแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย)
l นโยบายมีลักษณะส่งเสริมเสถียรภาพ
l นโยบายมีลักษณะแนบแน่น (มุ่งความสอดคล้องกันระหว่างนโยบายต่าง ๆ)
l นโยบายมีภาวะเอกรูป (จะต้องมีแบบแผนเป็นแนวเดียวกัน)
l นโยบายมีภาวะต่อเนื่องกัน (ทำต่อเนื่อง)
l การจำแนกลักษณะของนโยบายตามกระบวนการกำหนดนโยบาย
ดรอร์ (Dror) อธิบายไว้ 12 ประการ
1.     เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนมาก (มีผู้เกี่ยวข้องมาก)
2.     มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (สอดคล้องสภาพแวดล้อม)
3.     มีองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย
4.     องค์ประกอบเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย
5.     มีลักษณะเป็นการตัดสินใจอย่างหนึ่ง (มีการนำทฤษฎีและแนวคิดของการตัดสินใจมาใช้)
6.การกำหนดแนวทางปฏิบัติสำคัญ ๆ เพื่อนำทาง
7.     นโยบายที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการกระทำ งดเว้นการกระทำ เกิดขึ้นตามมา
8.     การกระทำดังกล่าวมุ่งทำในอนาคต
9.     การกระทำต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำโดยหน่วยงานของรัฐบาล
10.                        การกระทำต่าง ๆ เหล่านั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสำเร็จตามนโยบาย (ประกอบด้วย 4 M : Man, Money, Material, Management)
11.                        จุดมุ่งหมายของนโยบายที่ต้องการ คือผลประโยชน์ของชาติ (ไม่ใช่ตอบสนองต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง)
12.                        การดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบาย ต้องกระทำในแนวทางที่ดีที่สุด(Best Possible) เพื่อผลประโยชน์สูงสุด
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
Ø หากทราบว่านโยบายที่พบเป็นนโยบายประเภทใดแล้ว จะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะได้ดียิ่งขึ้น
Ø นักวิชาการจำแนกประเภทของนโยบายสาธารณะไว้ 4 ประการ
Ø จำแนกตามลักษณะของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของนโยบาย
Ø จำแนกตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย
Ø จำแนกตามกระบวนการของนโยบาย
Ø จำแนกตามลักษณะของกิจกรรมหรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล
1.       การจำแนกตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์
  1. ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore LowiUSA. จำแนกออก ดังนี้
1.     นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ (Regulative Policy)
©มีวัตถุประสงค์ต้องการจัดระเบียบสังคมให้สงบสุขปราศจากการกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ
©มักพบในรูปของกฎ ข้อบังคับ คำสั่ง
©ตัวอย่างนโยบาย (การควบคุม การรักษาความสงบ การใช้สารพิษ การควบคุมคนเข้าเมือง การควบคุมยาเสพติด
©ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น)
©ธีโอดอร์ โลวาย (Theodore LowiUSA. จำแนกออก ดังนี้
2.     นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ภายในหน่วยงานตนเอง (Self-Regulative Policy)
©มุ่งกำกับตัวเอง
©ส่วนใหญ่เป็นในแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น ทนายความ แพทย์  หอการค้า
3.     นโยบายเกี่ยวกับการกระจายทรัพยากร (Distributive Policy)
©มุ่งการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรมและทั่วกัน
     เช่น    นโยบายการประกันสังคม
                        การปฏิรูปที่ดิน
                        การจ้างงานในชนบท
(ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบายนั้น)
4.     นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ (Redistributive Policy)
©เนื่องจากนโยบายเดิมไม่เป็นธรรม จึงนำมาจัดใหม่
     เช่น    นโยบายเกี่ยวกับภาษีอากร
                        การเวนคืนที่ดินแล้วนำมาจัดสรรใหม่
(ดูรายละเอียดต่าง ๆ ของนโยบายจะขยายเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของนโยบาย
. การจำแนกประเภทตามกระบวนการของนโยบาย
l ไอรา ชาร์แคนสกี้ (Ira Sharrkansky ) จำแนกออกเป็น 3 ประการ
l ขั้นนโยบายสาธารณะ (Public Policy)
- เป็นขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมที่ตั้งใจกระทำ
l ขั้นผลผลิตของนโยบาย (Policy Outputs) 
- แสดงให้เห็นระดับต่าง ๆ ของการบริหารอันเป็นผลผลิตมาจากการดำเนินการ
l ขั้นผลกระทบของนโยบาย (Policy Impacts)
- แสดงให้เห็นผลสะท้อนของบริการต่าง ๆ
l เยเฮอเกิล ดรอว์  จำแนกดังนี้
l ขั้นกำหนดนโยบายต้นแบบ (Metapolicy Making Stage) เป็นการกำหนดเจตนารมณ์ที่จะให้มีการกำหนดนโยบายสาธารณะ
l ขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Making Stage) กำหนดขั้นตอนย่อย ๆ ที่จะดำเนินการ
l ขั้นภายหลังการกำหนดนโยบาย (Post Policy Making Stage) เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่กำหนดนโยบายสาธารณะแล้ว
l 3. การจำแนกประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย
l ไอรา ชาร์แคนสกี้ (Ira Sharrkansky )
เป็นการรวมนโยบายที่ส่งผลกระทบอย่างเดียวกันไว้เป็นประเภทเดียวกัน เช่น รวมเอานโยบายที่ส่งผลกระทบ ทำให้ประชาชนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สุขภาพดี มีชีวิตยืนยาว รวมเป็นนโยบายสาธารณสุข เป็นต้น
ü นโยบายการศึกษา
ü นโยบายทางหลวง
ü นโยบายสวัสดิการสาธารณะ
ü นโยบายสาธารณสุข
ü นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ
ü นโยบายความปลอดภัยสาธารณะ
ü การจำแนกประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย
l เดวิด อิสตัน ใช้วิธีจำแนกโดยดูจากผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากหรือน้อย
ü นโยบายที่มีผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เช่น นโยบายเพิ่มภาษีที่ดิน
ü นโยบายที่มีผลกระทบกับสมาชิกทั้งสังคม เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การจัดระเบียบสังคม
ü . จำแนกตามลักษณะกิจกรรมหรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล
l ธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) จำแนกนโยบายของสหรัฐอเมริกา ไว้ 12 ประเภท
1.     นโยบายการป้องกันประเทศ
2.     นโยบายต่างประเทศ
3.     นโยบายการศึกษา
4.     นโยบายสวัสดิการ
5.     นโยบายการรักษาความสงบภายใน
6.     นโยบายทางหลวง
7.     นโยบายการภาษีอากร
8.     นโยบายเคหะสงเคราะห์
9.     นโยบายการประกันสังคม
10.                        นโยบายสาธารณสุข
11.                        นโยบายพัฒนาชุมชน/ตัวเมือง
12.                        นโยบายทางเศรษฐกิจ
ขอบข่ายและวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ**
ครอบคลุมใน 4 ประเด็น ตามกระบวนการของนโยบาย คือ
1.     การกำหนดหรือก่อรูปของนโยบาย (Policy Formulation)
เริ่มต้นพิจารณาถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แล้ววิเคราะห์หาทางเลือกและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
2.     การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation)
- ศึกษาถึงพฤติกรรมของคนและกลไกการบริหาร
- สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลว
3.     การประเมินผลของนโยบาย (Policy Evaluation)
- ศึกษาว่านโยบายนั้นบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่
- ประเมินผลกระทบและประเมินกระบวนการ
4.     การวิเคราะห์ผลย้อนกลับของนโยบาย (Policy Feedback Analysis)
- ศึกษาดูว่า การสนองตอบของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือไม่
พัฒนาการของการศึกษานโยบายสาธารณะ
ยุคเริ่มต้น (1950 - 1969) เริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 2rแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ Keyness
rนักรัฐศาสตร์ นักรัฐประศาสนศาสตร์ ผลักดันให้ศึกษาพฤติกรรมของรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย
ยุคขยายตัว (1970 - ปัจจุบัน)rมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่เน้นความเป็นธรรมในสังคมrมีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างประเทศโดยเฉพาะสงครามเวียดนามrมีการตื่นตัวศึกษานโยบายสาธารณะมากขึ้น โดยแยกออกจากรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ
กรอบแนวคิดว่าด้วยวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ
1.     วิธีการศึกษาในแง่ทฤษฎีหรือตัวแบบของนโยบาย (Policy Theory or Model)rอาจยืมทฤษฎีหรือตัวแบบของศาสตร์อื่นมาใช้ เช่น ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีชนชั้นนำ ทฤษฎีสถาบัน
2.     วิธีการศึกษาในแง่ขอบเขตของนโยบาย (Policy Area)rศึกษามูลเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำเอานโยบายไปปฏิบัติrมีมากมายหลายเรื่อง สามารถแยกรายละเอียดย่อย ๆ อีก
กรอบแนวคิดว่าด้วยวิธีการศึกษานโยบายสาธารณะ มี 3 ประการ
3.     วิธีการศึกษาในแง่กระบวนการของนโยบาย (Policy Process)
 
rมุ่งศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการของนโยบาย
 
rเพื่อให้ทราบพฤติกรรมที่รัฐบาล ผู้เกี่ยวข้องว่าแสดงออกเช่นใด
การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์
1.     เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของรัฐบาล
2.     เป็นการศึกษาวิเคราะห์นโยบายโดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบาย คือ การกำหนดนโยบาย
3.     ถือว่าการกำหนดนโยบายเป็นกิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในระบบการเมือง และเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง¦เป็นการแยกฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหารออกจากกัน¦มีนโยบายสาธารณะเป็นตัวเชื่อมโยง


การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐศาสตร์

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  
4.     ถือว่าการกำหนดนโยบายเป็นกระบวนการทางการเมือง
(
Policy Process)อย่างหนึ่ง
 
¦เหมือนกับกิจกรรมการเลือกตั้ง  การบัญญัติกฎหมาย
การศึกษานโยบายสาธารณะตามแนวทางรัฐประศาสนศาสตร์
มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ :
1.     เป็นการศึกษาที่อยู่ในขอบข่ายหนึ่งของรัฐประศาสนศาสตร์
 
¦ มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะหรือโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม
 
¦ ไม่ได้มุ่งเฉพาะความประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล แต่เน้นเป้าหมายความเป็นธรรมด้วย
2.     เป็นการศึกษาวิเคราะห์นโยบายโดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนของการบริหารนโยบาย นั่นคือ ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ
 
¦ จะใช้ทรัพยากรทางการบริหารทั้งหลายที่มีให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร
3.     การกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการอย่างหนึ่งของการบริหาร
 
¦ ถือว่าระบบนโยบายสาธารณะเป็นระบบย่อยของระบบบริหารโดยมีระบบการเมืองอยู่ล้อมรอบ
4.     เป็นการศึกษาถึงศาสตร์ว่าด้วยนโยบาย (Policy Science)
 
¦ เน้นศึกษาการตัดสินใจ

ตัวแบบในการศึกษา จำนวน 8 ตัว คือ
1.ตัวแบบผู้นำ ( Elite Model) ตัวแบบนี้จะตั้งสมมติฐานว่านโยบายถูกกำหนดโดยผู้นำที่ปกครองประเทศในเวลานั้น ดังนั้นนโยบายจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มผู้นำต้องการอะไร
2.ทฤษฎีกลุ่ม(Group Model) พิจารณาว่านโยบายสาธารณคือจุดดุลภาพระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม นโยบายสาธารณจะสะท้อนให้เห็นถึงจุดร่วมของผลประโยชน์ระหว่างกลุ่ม กลุ่มใดมีอิทธิพลมากนโยบายจะเอนเอียงไปทางนั้น
3.ตัวแบบสถาบัน(Institutional Model) กิจกรรมสาธารณะเป็นกิจกรรมของสถาบัน โดยเฉพาะสถาบันของรัฐ
4.ตัวแบบระบบ (System Model) นโยบายสาธารณคือผลผลิตของระบบ (Output)หรือนโยบายสาธารณะคือการโต้ตอบของระบบการเมืองต่อสภาพแวดล้อม
5. ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)
นโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่มีหลายขั้นตอน
1) กำหนดปัญหา ข้อเรียกร้องต่างๆให้รัฐบาลดำเนินการ
2) เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา
3) เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อนำไปปฏิบัติ
4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ
5) การประเมินผลนโยบาย
   6.ตัวแบบเหตุผล (Ration Model) นโยบายสาธารณะจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม
          1.วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเป็นไปได้และวัดผลได้
          2.ค่านิยมและทรัพยากรอื่นๆที่จะทำให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมาย
          3.ทางเลือกดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
          4.วิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทาง ว่าเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์และ      เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่หรือไม่
          5.ทางเลือกที่เลือก
          6.นำทางเลือกไปปฏิบัติ
7.ตัวแบบพิจารณาเฉพาะส่วนที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้น(Incremental Model)
8.ตัวแบบทฤษฎีเกมส์(Game Theory Model) แสวงหากลยุทธ์ที่มีเหตุผลท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการแข่งขัน
ประโยชน์ของการศึกษานโยบายของรัฐ
1. ได้รับความรู้ความเข้าใจ
=
> อะไรเป็นนโยบาย ทำไมจึงต้องมีนโยบาย
=
> ใครริเริ่ม ผลเป็นอะไร  ดี/เสีย อย่างไร
=
> เป็นการรู้เพิ่มเติมมากจากรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์
=
> สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้า
2. ทราบกระบวนการต่าง ๆ ของการกำหนดนโยบาย=> ขั้นตอน
=
> วิธีการ
=
> ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้
3. ทราบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันทางการเมืองและผู้นำ
4. ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีกฎเกณฑ์
ปัญหาและข้อจำกัดในการศึกษานโยบายของรัฐ
1.     ลักษณะของตัวปัญหา
ไม่สามารถหาข้อยุติได้เด็ดขาด
- เช่นการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
- ปัญหาความยากจน
2.     ความสามารถของรัฐบาลหรือผู้กำหนดนโยบายในการคาดการณ์อนาคต (เงื่อนเวลา)
- ปัญหาการว่างงานของผู้จบมหาวิทยาลัย
3.     ความไม่สิ้นสุดของปัญหา- แก้แล้วมีปัญหาอื่นเกิด
- แก้ให้คนกลุ่มหนึ่งแต่มีปัญหาการปฏิบัติอีกกลุ่ม
- นายจ้าง/ลูกจ้างในโรงงาน
4.     ความสามารถของรัฐบาลในการระดมพลังต่าง ๆ
ถ้าปกครองประชาธิปไตยจะบังคับยาก
- การจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาค
5.     ความไร้ประโยชน์ของนโยบายนั้น ๆ
- กำหนดแล้วเกิดปัญหาอื่น
- การประกันรายได้ขั้นต่ำ
6.     ความสามารถในการแก้ปัญหาของนโยบายหนึ่ง ๆ- การแก้ปัญหา Corruption
เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
7.     ความไม่คุ้มค่าของนโยบาย
สิทธิเสรีภาพ
- ความไม่สงบเรียบร้อย การชุมนุมประท้วง
8.     ความไม่สมบูรณ์แบบของโครงสร้างระบบการเมือง
แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ
1. ความสำคัญของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ 
การกำหนดนโยบายนโยบายสาธารณะใด ๆ ก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายนอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบพื้นฐานแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่สังคมมีอยู่ด้วย เพราะปัจจัยสภาพแวดล้อมจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดนโยบาย และการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
2. ประเภทของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ 
1)    ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกระบบการเมือง- เศรษฐกิจ (ดูระดับการพัฒนาการกระจายทรัพยากร)
- สังคม (ศึกษาวัฒนธรรม ปทัสถานทางสังคม เขต/ชุมชนการเมือง ภาวะการว่างงาน)
- ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี (ปัจจัยอื่น ๆ) รวมทรัพยากร
2)    ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในระบบการเมือง- ปัจจัยเกี่ยวกับการเมือง พิจารณาถึงวัฒนธรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้นำไปปฏิบัติ
- ปัจจัยเกี่ยวกับผู้นำ (ดูลักษณะและบทบาทของผู้นำ)
- ปัจจัยเกี่ยวกับจิตวิทยา (ดูกระบวนการตัดสินใจ)
- ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหาร (พิจารณาการนำเอาเทคนิคการจัดการ
, กระบวนการบริหารมาประยุกต์ใช้)
l กระบวนการทางการเมืองและการบริหารนโยบายสาธารณะ
ความหมายของการเมือง
Ø การเมืองคือ การต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจ (Power)
Ø การเมืองคือ การจัดสรรปันส่วนในทรัพยากรต่าง ๆ ของรัฐบาล
Ø การเมืองคือ กระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ
Ø การเมือง เป็นเรื่องของความขัดแย้ง
Ø การเมือง เป็นเรื่องของการประนีประนอม
Ø การเมือง เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศ
Ø ในการศึกษาที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เขาจะใช้ความหมายของการเมืองว่า การจัดสรรผลประโยชน์และคุณค่าต่าง ๆ ทางสังคมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
Ø การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือและวิธีการที่ดี ซึ่งได้แก่การบริหาร และนโยบายสาธารณะนั่นเอง
l ความหมายของการบริหาร
l การบริหาร หมายถึง วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
l การบริหาร เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
l การบริหาร เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามนโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและคุณค่าของการเมืองที่กำหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองการบริหารและนโยบายสาธารณะ
การเมือง          ð  จะหมายถึงการจัดสรรผลประโยชน์  และคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม
การบริหาร        ð  เป็นวิธีการในการที่จะจัดสรรผลประโยชน์
นโยบายสาธารณะ ð  เป็นแนวทางแผนงานหรือโครงการเพื่อ นำไปปฏิบัติ
2) ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up