วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555


รัฐกับการปฎิวัติ 2 - วี.ไอ.เลนิน
2. องค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ คุกฯลฯ

เองเกิลส์กล่าวต่อไปว่า

“ในลักษณะอันตรงกันข้ามกับองคาพยพชาติกุล (เผ่า), แรกทีเดียว รัฐได้แบ่งพลเมืองออกตามอาณาเขต”

การแบ่งแยกเช่นนั้นดูเป็น “เรื่องธรรมดา” สำหรับเรา ทว่าความจริงมันต้องต่อสู้เป็นเวลานานกับรูปสังคมเผ่าหรือชาติกุลเก่า

"ลักษณะเด่นประการที่สองคือการจัดตั้งอำนาจสาธารณะ ซึ่งไม่เป็นหนึ่งเดียวโดยตรงกับประชาชนที่จัดตั้งตนเองเป็นกำลังติดอาวุธอีกต่อไป
อำนาจสาธารณะพิเศษนี้มีความจำเป็น เพราะองค์กรจัดตั้งติดอาวุธที่ทำการโดยอัตโนมัติของประชาชน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในเมื่อสังคมแตกแยกเป็นชนชั้น... อำนาจสาธารณะนี้ ดำรงอยู่ในทุกรัฐ นอกจากประกอบด้วยกำลัง คนติดอาวุธแล้ว ยังประกอบด้วยเครื่องค้ำจุนทางวัตถุ คุก และสถาบันอำนาจทุกชนิด ซึ่งสังคมชาติกุล(เผ่า) ไม่เคยพบเห็น”
เองเกิลส์ได้อธิบายถึงแนวคิดเกี่ยวกับ “อำนาจ” ซึ่งถูกเรียกว่ารัฐ ว่าเป็นอำนาจที่อุบัติจากสังคมแต่วางตนอยู่เหนือสังคม และทำตัวเองให้ห่างเหินแปลกหน้าจากสังคมทุกขณะ ก็อำนาจนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอะไรเล่า? ประกอบ ด้วยองค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ ซึ่งมี คุก ศาล ฯลฯ อยู่ในกำมือ
การที่เราพูดถึง องค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ นับว่าต้องด้วยเหตุผล เพราะอำนาจสาธารณะซึ่งเป็นลักษณะของทุกรัฐมิได้ “เป็นหนึ่งเดียวโดยตรง” กับประชาชนติดอาวุธ(อันประกอบด้วย “องค์การจัดตั้งติดอาวุธที่ทำการโดย อัตโนมัติของประชาชน”)
เช่นเดียวกับนักคิดปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ทั้งปวง เองเกิลส์ได้พยายามดึงความสนใจของคนงานผู้มีความสำนึกในชนชั้นไปสู่ความ จริงที่ลัทธิหยาบเขลาอันแพร่หลายถือว่ามีค่าควรแก่การสนใจน้อยที่สุด กองทัพประจำการและกำลังตำรวจคือเครื่องมือหลักของอำนาจรัฐมันไม่มีทางเป็นอย่างอื่นไปได้
เมื่อมองจากทัศนะของชาวยุโรปส่วนมากในตอนปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นพวกที่มิได้ใช้ชีวิตผ่านหรือสังเกตการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่อย่างใกล้ ชิด พวกเขาย่อมไม่เข้าใจโดยสิ้นเชิงว่า “องค์กรจัดตั้งติดอาวุธที่ทำการโดยอัตโนมัติของ ประชาชน” คืออะไรกันแน่ สำหรับปัญหาที่ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างใดหรือจึงเกิดองค์กรพิเศษของคนติดอาวุธ ขึ้น แล้ววางตัวอยู่เหนือสังคม และทำตัวเองให้ห่างเหินแปลกหน้าจากสังคมทุกขณะ (ได้แก่กำลังตำรวจ กองทัพ) พวกหยาบเขลาชาวรัสเซีย และยุโรปตะวันตกมักชอบที่จะตอบด้วยวลีสองสามวรรคที่ยืมมาจาก สเปนเซ่อร์ หรือ มิเคลลอฟสกี้ พร้อมกับอ้างถึงความสลับซับซ้อนของชีวิตสังคม ความหลากหลายของหน้าที่การงานและอื่นๆ จิปาถะ

การกล่าวอ้างเช่นนั้นดูเป็น “หลักฐาน” เอาการอยู่และทำให้คนเดินถนนไขว้ไปได้ โดยที่มันได้ปิดบังความจริงพื้นฐานที่สำคัญที่สุดเอาไว้ นั่นก็คือการแตกแยกของสังคมออกเป็นชนชั้น ซึ่งเป็นปฏิปักษ์อย่างออมชอมมิได้...

ในข้ออภิปรายข้างต้น เองเกิลส์ ได้ตั้งปัญหาในแง่ทฤษฎีประการเดียวกับที่การปฏิวัติใหญ่ทุกครั้งได้ตั้ง ขึ้นต่อหน้าเรา นั่นคือปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร “พิเศษ” ของคนติดอาวุธ กับ “องค์กรจัดตั้งติดอาวุธของประชาชนที่ทำการโดยตนเอง” เราจะได้เห็นกันว่าปัญหานี้ได้รับการเฉลยอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความเจนจัดของการปฏิวัติในยุโรปและรัสเซียอย่างไร

ทว่าขอให้เราหันกลับไปหาข้ออรรถาธิบายของเองเกิลส์กันก่อน

ท่านชี้ว่าบางครั้ง (อาทิในบางส่วนของอเมริกาเหนือ) อำนาจสาธารณะนี้อ่อนแอ (ท่านนึกถึงสังคมทุนนิยมอันเป็นข้อยกเว้นอย่างยิ่งรวมทั้งบางส่วนของต่าง ประเทศของเหล่ามหาอำนาจ ทว่าในปี 1914-17 เมื่อการแข่งขันดังกล่าว ซึ่งมีความเข้มข้นรุนแรงกว่าเดิมหลายต่อหลายเท่า ได้ก่อให้เกิดสงครามจักรพรรดินิยม พวกวายร้ายคลั่งชาติสังคมกลับพากันอำพรางการปกป้องผลประโยชน์จากการปล้น สดมภ์ของ “ตนเอง” (ชนชั้นนายทุน) ด้วยวลีเช่น “จงปกป้องปิตุภูมิ” “จงปกป้องสาธารณรัฐและการปฏิวัติ” ฯลฯ !

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up