วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555


รัฐกับการปฎิวัติ 1 - วี.ไอ.เลนิน
เลนินรัฐกับการปฏิวัติ
โดย วี.อ. เลนิน 
บทที่ 1. สังคมชนชั้นกับรัฐ
1. รัฐเป็นผลผลิตของความออมชอมกันไม่ได้ ซึ่งความปฏิปักษ์ทางชนชั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นกับคำสอนของมาร์คซ์ในขณะนี้ ตลอดเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ นับว่าได้เกิดขึ้นกับคำสอนของนักคิด ปฏิวัติและผู้นำชนชั้นผู้ถูกกดขี่ที่ได้ต่อสู้เพื่อปลดแอกมาแล้ว ในเวลาที่บรรดานักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่มีชีวิตอยู่ ชนชั้นผู้กดขี่พากันจองล้างจองผลาญพวกเขามิรู้หยุดหย่อน ต้อนรับคำสอนของพวกเขาด้วยความมุ่งร้ายอย่างป่าเถื่อนและความจงเกลียดจงชังอย่างเข้ากระดูกดำ พร้อมกับรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีอย่างไร้หิริโอตัปปะ ทว่าพอพวกเขาตายไปกลับบังเกิดความพยายามที่จะเนรมิตพวกเขาให้เป็นรูปเคารพ ที่ไร้พิษสง สวมคราบนักบุญให้กับพวกเขา แวดล้อมชื่อของพวกเขาด้วยรัศมีอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็น “เครื่องประโลมใจ” ของชนชั้นผู้ถูกกดขี่และเพื่อตบตาหลอกลวงชนชั้นดังกล่าว
ขณะเดียวกันก็กลับบั่นทอนสารัตถะแห่งคำสอนปฏิวัติ ทำให้คมปฏิวัติแห่งคำสอนบิ่นทื่อ และบิดผันคำสอนให้แลดูเป็นสิ่งเลวทราม ในปัจจุบันชนชั้นนายทุนและพวกฉวยโอกาสในขบวนการชนชั้นกรรมกรต่างก็เห็นพ้อง ต้องกันกับ“การแก้ไข“ลัทธิมาร์คซ์ดังกล่าวมานี้ พวกเขาพากันละทิ้ง ทำลาย และบิดเบือนด้านปฏิวัติแห่งคำสอนหรือวิญญาณปฏิวัติแห่งคำสอน พวกเขาเทิดทูนสรรเสริญสิ่งที่เป็นหรือดูเหมือนเป็นที่ยอมรับของชนชั้นนายทุน แม้พวกคลั่งชาติสังคม(social-chauvinists)ขณะนี้ก็เป็น “นักลัทธิมาร์คซ์” (ไม่ต้องหัวเราะ!) กระทั่งนักปราชญ์นายทุนเยอรมัน ซึ่งเมื่อวานนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำลายล้างลัทธิมาร์คซ์ ต่างก็พูดถึงมาร์คซ์ “ชนชาติเยอรมัน” ซึ่งพวกเขาเยินยอว่าเป็นผู้ให้การศึกษาแก่สหภาพกรรมกรจนได้รับการจัดตั้ง อย่างวิเศษเพื่อจุดมุ่งในการทำสงครามปล้นสดมภ์!

ในสภาพการณ์เช่นนั้น เมื่อคำนึงถึงการบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์อย่างกว้างขวางดังไม่ปรากฏมาก่อน งานหลักของเราจึงได้แก่การวางรากสิ่งที่มาร์คซ์สอนเอาไว้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับรัฐเสียใหม่ เพื่อการนี้จำเป็นต้องอ้างข้อความยืดยาวจากบทนิพนธ์ของมาร์คซ์และเองเกิลส์ อันที่จริงการยกข้อความยาวๆ ขึ้นมาอ้างอาจ ทำให้หนังสือดูรุ่มร่ามหรืออาจไม่ทำให้หนังสือน่าอ่านนัก ทว่าเราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ข้อความทั้งหมดหรือข้อความที่สำคัญที่สุดทั้งหมดจากบทนิพนธ์ของมาร์คซ์และ เองเกิลส์ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐ จะต้องนำมาอ้างอย่างมิให้ตกหล่น ให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อว่าผู้อ่านจะได้สร้างแนวคิดอันเป็นอิสระเกี่ยวกับทัศนะโดย ประมวลของผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์คซ์ (ลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์) รวมทั้งพัฒนาการของทัศนะเหล่านี้ และเพื่อว่าการบิดเบือนทัศนะเหล่านี้โดย “ลัทธิเคาท์สกี้” ที่แพร่หลายอยู่ขณะนี้จะได้รับการพิสูจน์หักล้างอย่างมีหลักมีเกณฑ์ และได้รับ การตีแผ่ออกมาอย่างชัดแจ้ง

ขอให้เราเริ่มต้นกันด้วยบทนิพนธ์ของเองเกิลส์ที่แพร่หลายที่สุดชื่อ กำเนิดครอบครัวกรรมสิทธิ์เอกชนและรัฐ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ในสตุดการ์ด ปี 1894 เราจำต้องแปลข้อความที่ยกมาอ้างจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน เพราะฉบับแปลเป็นภาษารัสเซีย แม้จะมีอยู่หลายสำนวน แต่ส่วนมากไม่สู้สมบูรณ์ หรือไม่ก็แปลได้ไม่ใคร่สมใจนัก

ในการสรุปบทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของเองเกิลส์กล่าวว่า:

“เพราะฉนั้น รัฐจึงมิใช่อำนาจที่ครอบจากภายนอก มิใช่ ‘สภาพเป็นจริงของความคิดจริยธรรม’ มิใช่ ‘ภาพและสภาพเป็นจริงของเหตุผล’ ดังที่เฮเกิลยึดถือ ตรงข้ามรัฐคือผลผลิตของสังคม ณ ขั้นใดขั้นหนึ่งแห่งพัฒนาการ (การดำรงอยู่ของรัฐ) เป็นการยอมรับว่าสังคมนี้เวียนว่ายอยู่ในความขัดแย้งกับตนเองอย่างไม่อาจ แก้ได้, ว่าสังคมนี้ได้แตกแยกออกเป็นปฏิปักษ์อันไม่อาจออมชอมกันได้, ซึ่งสังคมไร้อำนาจที่จะขจัดปัดเป่าแต่เพื่อว่าความเป็นปฏิปักษ์เหล่านี้ และชนชั้นทั้งหลายที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจขัดกัน จะไม่เผาผลาญตัวเองและสังคมในการต่อสู้ที่ไร้ประโยชน์ จึงจำเป็นต้องมีอำนาจหนึ่งสถิตอยู่เหนือสังคม เพื่อทำหน้าที่บรรเทาความขัดแย้ง, ทำหน้าที่จำกัดความขัดแย้งให้อยู่ภายในวงของ ‘ระเบียบ’ และอำนาจนี้เอง ซึ่งถือกำเนิดออกมาจากสังคมแต่วางตัวอยู่เหนือสังคม และทำตัวเองให้ห่างเหินแปลกหน้าจากสังคมทุกขณะ คือรัฐ” (หน้า 177-178 ฉบับภาษาเยอรมันพิมพ์ครั้งที่ 6)

นี่แสดงให้เห็นอย่าชัดแจ้งสมบูรณ์ถึงความคิดมูลฐานของลัทธิ มาร์คซ์เกี่ยวกับปัญหาบทบาททางประวัติศาสตร์และความหมายของรัฐ รัฐคือผลผลิตและการปรากฏตัวของความออมชอมกันไม่ได้ ซึ่งความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้น รัฐเกิดขึ้นในเมื่อในที่และในขอบเขตที่ความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้นไม่อาจ ออมชอม กันได้ทางภาวะวิสัย และในทางกลับกันการดำรงอยู่ของรัฐก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าความเป็นปฏิปักษ์ ทางชนชั้นไม่มีทางออมชอมกันได้เป็นอันขาด

ประเด็นพื้นฐานตรงนี้แหละที่การบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์ ซึ่งดำเนินไปตามสองแนวใหญ่ได้เริ่มขึ้น

ด้านหนึ่ง พวกนักทฤษฏีนายทุนโดยเฉพาะนักทฤษฎีนายทุนน้อย(เป็นพวกที่จำต้องยอมรับว่า รัฐดำรงอยู่แต่ในที่ที่มีความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้นและการ ต่อสู้ทางชนชั้นเพราะน้ำหนักแห่งข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจโต้แย้งได้) ได้ “แก้” คำสอนของมาร์คซ์ไปในทำนองที่ดูเหมือนว่า รัฐคือองค์กรสำหรับการ ออมชอมชนชั้น แต่ตามทัศนะของมาร์คซ์นั้น รัฐจะเกิดขึ้นไม่ได้หรือไม่อาจธำรงตนไว้ได้ หากอยู่ในวิสัยที่จะออมชอมชนชั้นกันได้ ตามทัศนะของพวกอาจารย์และนักวิจารณ์การเมืองนายทุนน้อยผู้หยาบเขลา พกเขามักอ้างมาร์คซ์ อย่างนุ่มนวลอยู่เนืองๆ เพื่อยืนยันทัศนะนี้ – นั้น ปรากฏว่ารัฐทำหน้าที่ ออมชอมชนชั้น แต่ตามทัศนะของมาร์คซ์รัฐคือองค์กรสำหรับปกครองชนชั้น องค์กรสำหรับกดขี่ชนชั้นหนึ่งโดยชนชั้นหนึ่ง รัฐเป็นผู้สร้าง “ระเบียบ” ซึ่งสร้าง ความชอบธรรมและสร้างความถาวรให้กับการกดขี่ดังกล่าวด้วยการบรรเทาความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ในความเห็นของนักการเมืองนายทุนน้อยระเบียบหมายถึง การออมชอมชนชั้น มิใช่หมายถึงการกดขี่ชนชั้นหนึ่งโดยชนชั้นหนึ่ง ทั้งการบรรเทาความขัดแย้งก็หมายถึงการออมชอมชนชั้น มิใช่หมายถึงการริดรอนชนชั้นผู้ถูกกดขี่ให้ปลอดจากเครื่องมือและวิธีการต่อสู้เพื่อโค่นล้มเหล่านักกดขี่

ยกตัวอย่างในการปฏิวัติรัสเซียปี 1917 เมื่อปัญหาความสำคัญ และบทบาทของรัฐลอยเด่นขึ้นเป็นปัญหาทางปฏิบัติที่ต้องการให้คนทั่วไปกระทำ การอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปโดยทันทีนั้น พวกสมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมและพวก เมนเชวิค กลับด่ำดื่มอย่างไม่ลืมหูกับทฤษฎีที่ว่า “รัฐ” “ออมชอม” ชนชั้น มติพรรคนี้ล้วนชุ่มเอิบด้วยทฤษฎี “การออมชอม” ของนักนายทุนน้อยอันหยาบเขลานี้ ส่วนว่ารัฐคือองค์กรปกครองของชนชั้นหนึ่งซึ่งไม่สามารถออมชอมกับชนชั้นที่ อยู่ตรงข้ามได้ เป็นสิ่งที่พวกประชาธิปัตย์นายทุนน้อยไม่อาจเข้าใจได้ ท่าทีของพวกเขาต่อรัฐเป็นท่าทีส่อแสดงอย่างประจักษ์ชัดที่สุดว่า พวกสมาชิกพรรคปฏิวัติสังคมและพวกเมนเชวิคหาใช่นักสังคมนิยมเต็มตัวไม่ (เป็นจุดที่เราชาว บอลเชวิค ตระหนักกันอยู่) แต่เป็นพวกประชาธิปัตย์นายทุนน้อยที่ใช้ถ้อยคำอวดอ้างว่าเป็นนักสังคมนิยมเท่านั้น

อีกด้านหนึ่ง การบิดเบือนลัทธิมาร์คซ์ของ “พวกเคาท์สกี้” นับว่า ละเอียดอ่อนกว่ามาก “ว่ากันทางทฤษฎีแล้ว” พวกเขาไม่ปฏิเสธว่ารัฐคือองค์กรแห่งการปกครองทางชนชั้น ไม่ปฏิเสธว่าความเป็นปฏิปักษ์ ทางชนชั้นไม่อาจออมชอมกันได้ แต่สิ่งที่ถูกมองข้ามกลบเกลื่อนก็คือ: ถ้ารัฐคือผลผลิตของความออมชอมกันไม่ได้ซึ่งความเป็นปฏิปักษ์ทางชนชั้น, ถ้ารัฐคืออำนาจหนึ่งที่สถิตอยู่เหนือสังคม และ “ทำตัวเองให้ห่างเหินแปลกหน้าจากสังคมทุกขณะ” แล้วไซร้ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การปลดปล่อยชนชั้นผู้ถูกกดขี่จะกระทำมิได้มิเพียงแต่หากปราศจากการปฏิวัติ อันรุนแรงเท่านั้น แต่จะกระทำมิได้หากปราศจากการทำลายจักรกลแห่งอำนาจรัฐ ซึ่งชนชั้นปกครองสร้างขึ้นและซึ่งเป็นตัวตนของ “การห่างเหินแปลกหน้า” นี้ด้วย ดังเราจะเห็นกันต่อไปว่ามาร์คซ์ได้ดึงข้อสรุปอันเป็นสัจจธรรมทางทฤษฎีดัง กล่าวจากผลของการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ถึงภาระกิจของการปฏิวัติ และข้อสรุปนี้เองดังเราจะพรรณนาโดยละเอียด ต่อไป - ที่เคาท์สกี้... “ลืม” และบิดเบือน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up