วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555


มาร์กซ นักปฏิวัติหนุ่ม
คาร์ล มาร์กซสุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ
๑. เสมือนบทนำ
 น่าแปลกใจว่า แนวคิดลัทธิ มาร์กซ ซึ่งเป็นที่สนใจศึกษาและ เผยแพร่ในสังคมไทยมาเป็นเวลา นาน แต่ผลงาน “การศึกษา คาร์ล มาร์กซ” ผู้เป็นนักคิดคนสำคัญที่ก่อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกท่านนี้ ยังมีการศึกษาน้อยมาก 
ผลงานที่ ค่อนข้างดีก็คืองานของจิตร ภูมิศักดิ์ เรื่อง “คาร์ล มาร์กซ” ซึ่งแปลจาก  Karl Marx, Biography ของ E. Stepanova ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ มอสโคว์ เมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๐  ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ น่าจะแปลงานชิ้นนี้ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๐๘ ก่อนที่จะเดินทางไป ยังเขตป่าเขา
แต่งานเขียนนี้ไม่ได้รับ การตีพิมพ์จนกระทั่งถึงช่วงหลัง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงได้มีการตีพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘   โดย สำนักพิมพ์มหาราษฎร์ แต่การพิมพ์ ครั้งนี้ถูกโจมตีอย่างหนักจากการขาด ความระมัดระวังทำให้มีคำผิดมากมาย และสำนักพิมพ์มหาราษฎร์ยังถูกโจมตีว่า ถูกครอบงำโดยกลุ่ม“ลัทธิแก้” ดังนั้นสำนักพิมพ์เทอดธรรมจึงนำ มาพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. ๒๕๑๙ แต่หลังจากนั้นก็แทบจะไม่มี การพิมพ์ซ้ำอีกเลย  ดังนั้นสังคมไทยจึงรู้จักชื่อของมาร์กซ และรับทราบ ประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ โดยรู้จักตัวตนของมาร์กซน้อยมาก งานเขียนชิ้นนี้จึงพยายามที่จะทำ ความเข้าใจกับมาร์กซ ในฐานะบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์
๒. ปฐมวัยของมาร์กซ
    คาร์ล มาร์กซ เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๑๘ ที่เมือง เทรียร์ ในแคว้นไรน์แลนด์ของรัฐ ปรัสเซีย ในสมัยที่เยอรมันยังไม่ได้รวมประเทศ 1   รัฐปรัสเซียภายใต้การปกครองของราชวงศ์โฮเฮนโซเลิร์น เป็นรัฐที่ใหญ่และมีดินแดนมาก ที่สุดในขณะนั้น โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเบอร์ลิน ในแคว้นแบรนเดนเบิร์กซึ่งเป็นดินแดนดั้งเดิมของ ราชวงศ์ เมืองเทรียร์นั้นเป็นเมืองเก่า ตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันชื่อเมือง ออกัสตาเทรเวอรรอลัม  เป็นเมือง ป้อมทางเหนือของจักรวรรดิ จาก นั้นยังเป็นเมืองสำคัญต่อมาในสมัย กลางโดยเป็นเมืองหลวงของเจ้าราชา คณะแห่งเทรียร์ จนกระทั่งหลัง ค.ศ. ๑๗๖๗ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ รัฐแซกโซนี แต่เหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าสมัยของคาร์ล มาร์กซ เพียงเล็กน้อยก็คือ  หลังจาก เกิดปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ ได้ นำมาซึ่งสงครามระหว่างสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ที่ยังคงอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ ในสงครามครั้งนี้กองทหารฝรั่งเศส ผนวกไรน์แลนด์ใน ค.ศ. ๑๗๙๓ แล้วเข้าจัดการปกครองดินแดนนี้อยู่จน ถึง ค.ศ.๑๘๑๔ หลังจากที่จักรพรรดิ นโปเลียนของฝรั่งเศสแพ้สงคราม จึงต้องยกดินแดนให้แก่ปรัสเซีย  แต่ ผลจากการยึดครองนั้นทำให้อิทธิพล ของแนวคิดปฏิวัติแบบฝรั่งเศสใน ด้านสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ยังคงส่งอิทธิพลอยู่ในเขตไรน์แลนด์ นี้ด้วย   ดังนั้นปัญญาชนจำนวนไม่ น้อยไม่พอใจต่อการที่เขตไรน์แลนด์ ต้องตกเป็นของปรัสเซีย เพราะการ ปกครองของรัฐปรัสเซียเป็นแบบ อัตตาธิปไตยภายใต้กษัตริย์เฟรดเดอริก วิลเฮมที่ ๓  แต่ไม่อาจจะต้านทาน พลานุภาพของปรัสเซียได้
    ประเด็นที่น่าสนใจต่อมาก็คือ ใน สมัยวัยเด็กของมาร์กซนั้นไรน์แลนด์ กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจจากการ ที่ “การผลิตไวน์” ซึ่งเป็น การผลิตที่ สำคัญแต่เดิมมาของแคว้นตกต่ำลง ในสมัยหลังสงครามนโปเลียน เพราะประสบกับการแข่งขันอย่างมาก จากไวน์ของเขตอื่นๆ   เมืองเทรียร์ ขณะนั้น จึงมีการว่างงานในอัตรา สูงมาก และประชาชนจำนวนมากที่ยากจนจากชนบทอพยพสู่เมือง ทำให้ปัญหาความยากจนในเมือง เพิ่มทวีอย่างมาก  ภายใต้ภาวะเช่นนี้เอง อิทธิพลของแนวคิดสังคม นิยมฝรั่งเศสเริ่มเผยแพร่ในเมือง เทรียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคม นิยมยูโทเปียของแซงซิมอน 2
 บิดาของคาร์ล มาร์กซ คือ เฮสเชล มาร์กซ เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๒  ในครอบครัวของชนชั้นสูง ชาวยิวโดยเป็นบุตรชาย คนที่สาม ของ เมเยียร์ ฮาเวลี มาร์กซ  ซึ่ง ดำรงตำแหน่งแรบไบแห่งเทรียร์ 3 แต่บิดาของมาร์กซไม่ติดยึดกับ ศรัทธาในศาสนายิวมากนัก เฮสเชล มาร์กซ เป็นนักกฎหมาย เขารับ ราชการเป็นเจ้าหน้าที่ศาลเมือง เทรียร์  และเป็นนายกสมาคม ทนายความของเมืองด้วย  เขาได้ เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ไฮน์ริช” และ เปลี่ยนศาสนามาเป็นคริตศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์เมื่อ ค.ศ.๑๘๑๗ หลังจากที่ไรน์แลนด์ตกเป็นของ ปรัสเซียแล้ว เพื่อที่ว่าจะสามารถ รับราชการกับปรัสเซียต่อไปได้  ทั้งที่เขตไรน์แลนด์นั้นเป็นเขตของ ชาวคริสตศาสนานิกายคาธอลิก  โปรเตสแตนต์นั้นเป็นเพียงชนส่วน น้อย เพียงแต่ว่านิกายโปรเตสแตนต์เป็นนิกายหลักในรัฐปรัสเซีย
    สำหรับมารดาของ มาร์กซ ชื่อ เฮนเรียตตา เป็นสตรีชาวยิว จากฮอลแลนด์ ซึ่งได้รับการศึกษา มาน้อยมากเพราะในสมัยนั้นสตรียิว ไม่มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา  มารดาของ มาร์กซ  ยังคงยึดมั่นในศาสนายิวมากกว่า และอาจจะไม่ได้ เปลี่ยนความเชื่อเป็นคริสต์  ดังนั้น คาร์ล มาร์กซ ในวัยเด็กจึงยังคงได้ รับอิทธิพลของศาสนายิวอยู่มาก
     จากหลักฐานที่ปรากฏ ไฮน์ริช มาร์กซ นั้นเป็นปัญญาชนที่มีความรู้ดีและเป็นนักคิดเสรีนิยม มีความ สนใจอย่างยิ่งต่อแนวคิดของนัก ปรัชญา “ภูมิธรรม” ของ ฝรั่งเศส 4 เช่น วอลแตร์ และรุสโซ และยังให้ ความสำคัญแก่การตีความหลัก ศาสนา ในแง่ของการรักษาคุณ ธรรม ยิ่งกว่าความยึดมั่นหรือ ศรัทธาต่อพระเจ้า ซึ่งจะส่งผลต่อ ความคิดของคาร์ลต่อมา นอกจากนี้ แล้วในระหว่างที่ฝรั่งเศสยึดครอง ไรน์แลนด์ ไฮน์ริช เป็นคนหนึ่งที่ เข้าร่วมในสมาคมปัญญาชนเสรีนิยม แห่งเมืองเทรียร์ที่ชื่อว่า “คาสิโนคลับ แห่งเทรียร์” ซึ่งมีบทบาทในช่วงหลัง การปฏิวัติยุโรป ค.ศ. ๑๘๓๐
     ฐานะทางการเงินของครอบครัว มาร์กซ ไม่อยู่ในสภาพที่ลำบากและ เดือดร้อนไฮน์ริช  นอกจากจะเป็น นักกฎหมาย ยังเป็นเจ้าของไร่องุ่น แปลงหนึ่งนอกเมือง เขามีบ้านใหญ่ พอสมควร และมีคนรับใช้ ๒ คน ทำงานบ้าน เขามีลูกถึง ๙ คน โดย คาร์ล มาร์กซ เป็นคนที่สาม แต่ ปรากฏว่าพี่น้องของ คาร์ล  มาร์กซ ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเด็กถึง ๕ คน เหลือเติบโตเป็นผู้ใหญ่เพียง ๔  คน ในจำนวนนี้มี คาร์ล มาร์กซ แต่เพียงผู้เดียวที่เป็นชาย นอกนั้น เป็นผู้หญิงคือ โซฟี ซึ่งเป็นพี่สาว แต่งงานกับทนายความชาวดัชท์ ส่วนน้องสาวคนหนึ่งชื่อ หลุยส์ แต่งงานกับชาวดัชท์เช่นกัน และ อพยพไปอยู่แอฟริกาใต้ และน้อง สาวที่ชื่อ จูทา แต่งงานกับวิศวกร และอาศัยอยู่ในเมืองเทรียร์ต่อมา
 คาร์ล มาร์กซ ได้รับการ ศึกษาอยู่ในครอบครัวจนอายุได้ ๑๒ ปี ใน ค.ศ. ๑๘๓๐ จึงได้เข้าโรงเรียน มัธยมซึ่งเคยเป็นของนิกายเจซูอิต แต่ขณะนั้นโรงเรียนนี้ชื่อว่า โรงเรียน มัธยมเฟรเดอริกวิลเฮม ตามนาม ของกษัตริย์ปรัสเซีย ปรากฏว่าครูที่ มีอิทธิพลอย่างมากต่อ คาร์ล มาร์กซ ในสมัยที่ศึกษาที่โรงเรียน นี้ก็คือ ฮูโก วีทเทนบัค ซึ่งเป็น ครูใหญ่และเป็นครูสอนประวัติ ศาสตร์  เป็นนักเสรีนิยมเช่นกัน วีทเทนบัค เข้าร่วมในการเดิน ขบวนใหญ่เรียกร้องเสรีภาพใน ด้านการพิมพ์เมื่อ ค.ศ. ๑๘๓๒ ปรากฏว่าถูกตำรวจจับกุม และ โรงเรียนก็ถูกตำรวจปรัสเซียเข้าค้น ในที่สุด ได้มีการเปลี่ยนตัวครูใหญ เป็นบุคคลที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมเ เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อ คาร์ล มาร์กซ ในวัยเด็กอย่างมาก อย่างไร ก็ตาม คาร์ล มาร์กซ ก็ยังคงศึกษา ต่อไปจนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน เมื่อ ค.ศ. ๑๘๓๕ ในขณะนั้นเขามี อายุได้ ๑๗ ปี และเขาเป็นนักเรียน ที่มีผลการศึกษาค่อนข้างดี โดย เฉพาะในวิชาภาษา กรีก ภาษา ลาติน และการแต่งโคลงกลอน แต่ คณิตศาสตร์อยู่ในระดับอ่อน และ ที่น่าแปลกก็คือ วิชาประวัติศาสตร์ของเขาคะแนนไม่อยู่ในระดับที่ดี
 ในระหว่างที่เขาใช้ชีวิตใน วัยเด็กนี้มีบุคคลอีกผู้หนึ่งซึ่งมีอิทธิพล ต่อชีวิตของเขาอย่างมาก ก็คือลุดวิก แห่งเวสฟาเลน  ลุดวิก เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๗๗๐ เป็นบุตรของชนชั้นกลางที่ ได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นขุนนาง เขาจึง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอน แห่ง เวสฟาเลน อย่างไรก็ตามเขาเป็นคน ที่มีทัศนะเสรีนิยม เป็นผู้สนับสนุน การปฏิวัติฝรั่งเศสและได้รับราชการ เป็นผู้บริหารระดับสูงของรัฐไรน์แลนด์ ในสมัยที่ฝรั่งเศสปกครอง  หลังจาก สงครามนโปเลียน เขารับตำแหน่ง เป็นนายกเทศมนตรี เมืองเทรียร์ และมีบ้านพักอาศัยใกล้กับบ้านของ มาร์กซ   บารอนแห่งเวสต์ฟาเลน จึงกลายเป็น เพื่อนสนิทกับไฮน์ริช และเป็นผู้ที่ส่งอิทธิพลทางความคิด แก่ คาร์ล มาร์กซ ในวัยเด็ก ธิดา คนสุดท้องของบารอน ชื่อ เจนนี เวสฟาเลน ซึ่งเกิดใน ค.ศ. ๑๘๑๔ ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทในวัยเด็กของ โซฟี มาร์กซ พี่สาวของคาร์ล และต่อมา เมื่อคาร์ลโตขึ้นจนอายุได้ ๑๗  ปี เจนนีก็เปลี่ยนสถานะเป็น คนรักของ คาร์ล มาร์กซ โดยที่มี อายุมากกว่าคาร์ล ๔ ปี  โซฟี ซึ่ง เป็นพี่สาวนั้นเองที่ทำหน้าที่เป็น แม่สื่อระหว่างคนทั้งสอง
๓. ชีวิตมหาวิทยาลัย
 เมื่อจบการศึกษาจาก โรงเรียนมัธยม ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๘๓๕  คาร์ล มาร์กซ ซึ่งมีอายุ ๑๗ ปี ก็เดินทางไปยังเมืองบอนน์ ซึ่งเป็นเมืองมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก ริมแม่น้ำไรน์ ขึ้นไปทางทิศเหนือ ของเมืองเทรียร์ ในขณะนั้นเมือง บอนน์อยู่ในเขตรัฐปรัสเซียเช่นกัน และเป็นเมืองศูนย์กลาง ด้านภูมิปัญญาในเขตไรน์แลนด์ คาร์ลมาร์กซ เข้าศึกษาต่อที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบอนน์ ความจริงก่อนหน้าที่ จะเดินทาง มาศึกษา เกิดกระแสปฏิวัติแพร่ สะพัดในยุโรปเมื่อ ค.ศ.๑๘๒๐ หลังจากที่เกิดการปฏิวัติโค่น พระเจ้าชาร์ลที่ ๑๐ ในฝรั่งเศส ปรากฏว่า ปัญญาชนเสรีนิยม ในรัฐปรัสเซียก็ได้เรียกร้อง การ ปฏิรูปให้กษัตริย์เฟรเดอริกวิลเฮม พระราชทานรัฐธรรมนูญ และให้ มีรัฐสภาแต่ปรากฏว่ารัฐบาล ปรัสเซีย ตัดสินใจปราบปรามจับกุม ถึงกระนั้นเมื่อ คาร์ล มาร์กซ เดินทางไปถึงมหาวิทยาลัย อิทธิพล ของกระแสดังกล่าวยังคงหลงเหลือ อยู่บ้าง ในระยะแรก คาร์ล มาร์กซ มิได้สนใจกระแสทางสังคมมากนัก เขายังคงใช้ชีวิตเหมือนนักศึกษาทั่วไป ตกเย็นก็ยังเข้าสโมสร ดื่มสุรา และเล่นไพ่ กับเพื่อน นักศึกษา จากเมืองเทรียร์ และแม้กระทั่ง จับกลุ่มวิวาทกับนักศึกษาจากเมืองอื่น ความสนใจของมาร์กซ ใน ค.ศ. ๑๘๓๖ ยังคงเป็นเรื่องการแต่ง บทกวีมากยิ่งกว่าสนใจวิชากฎหมาย คาร์ล มาร์กซ ใช้ชีวิตอยู่ที่เมือง บอนน์ราว ๑ ปี ไฮน์ริช ก็ตัดสินใจส่ง ลูกชายไปเรียนที่กรุงเบอร์ลินแทน
     คาร์ล มาร์กซ กลับมาบ้านที่ เมืองเทรียร์ และหมั้นกับเจนนีจาก นั้นก็ออกเดินทางข้ามประเทศไปยัง กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของปรัสเซีย ซึ่งใน ค.ศ. ๑๘๓๗ นั้นเป็นเมือง ใหญ่ของยุโรป มีประชากรราว ๓ แสนคน คาร์ล มาร์กซ ได้เข้า ศึกษาในคณะนิติศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ปรากฏว่าใน ระยะแรกที่  คาร์ล  มาร์กซ  อยู่ที่ เบอร์ลิน ก็ยังคงใช้ชีวิตแบบพาฝัน  สนใจโคลงกลอน และแต่งบทกวีรัก ถึงเจนนี  แต่กระนั้นบรรยากาศของ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย เบอร์ลิน ทำให้คาร์ล มาร์กซ เริ่ม เปลี่ยนแปลง เพราะมหาวิทยาลัยนี้ เป็นศูนย์กลางของความคิดที่ก้าวหน้า ในดินแดนเยอรมันยุคสมัยนั้น อาจารย์คนสำคัญคือ เอดวาร์ด กานส์ ซึ่งสอน คาร์ล มาร์กซ ใน ภาคการศึกษาแรก เป็นปัญญาชน เสรีนิยมที่สนับสนุนการปฏิวัติยุโรป ค.ศ. ๑๘๓๐ และนิยมในความคิด ของแซงต์ซิมอน  นอกจากนี้ใน คณะนิติศาสตร์ก็มีกระแสถกเถียงกัน อย่างมากระหว่างแนวคิดทางนิติ ปรัชญา ๒ แนวทาง คือ แนวคิดด้าน กฎหมายแบบปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ถือว่า กฎหมายเป็นสัญญาระหว่างรัฐกับ ประชาชนซึ่งจะทำให้รัฐต้องปฏิบัติตาม เจตนารมย์ และต้องประกันสิทธิ เสรีภาพของประชาชน กับอีก แนวคิดหนึ่งคือ แนวคิดกฎหมาย แบบอนุรักษ์นิยมปรัสเซีย ที่ถือว่า กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฐและกษัตริย์ ที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติตาม การ ถกเถียงในเรื่องแนวคิดทางกฎหมาย นี้เอง ทำให้มาร์กซเริ่มสนใจวิชา ปรัชญามากขึ้น จนในที่สุดเขาก็ เขียนบทกวีน้อยลง และได้ทุ่มเท เวลาให้กับการศึกษามากขึ้น
 ปรากฏว่าในปีการศึกษา แรกนี้ คาร์ล มาร์กซ เริ่มทุ่มเทกับ การศึกษามากจนกระทั่งล้มป่วย ด้วยวัณโรค จนมีอาการหนักมาก แพทย์ต้องแนะนำให้เขาออก ไปพักผ่อนในชนบท แต่กระนั้น อาการป่วยนี้ก็ทำให้เขาได้รับการ ผ่อนผันในด้านการเกณฑ์ทหาร ซึ่งรัฐปรัสเซียได้นำกฎหมายเกณฑ์ ทหารมาใช้นับตั้งแต่สมัยสงคราม นโปเลียน และในที่สุดอาการวัณโรค ก็ทำให้ คาร์ล มาร์กซ ได้รับการ ยกเว้นอย่างสิ้นเชิง แต่ในระยะที่ เขาป่วยนี้เอง ทำให้เขาได้อ่านงาน ของเฮเกลอย่างจริงจังและจะทำให้เขา กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุน แนวคิดของเฮเกล ซึ่งจะเป็นการ เปลี่ยนชีวิตของเขาโดยสิ้นเชิง โดย เฉพาะทำให้เขาเลิกสนใจวิชากฎหมาย มาสนใจวิชาปรัชญาอย่างจริงจัง
    เหตุการณ์สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของ คาร์ล มาร์กซ อย่างมากในระยะนี้คือ การถึงแก่กรรมของ ไฮน์ริช มาร์กซ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๓๘
 การถึงแก่กรรมของบิดาทำให้เขามีปัญหาการเงินมากขึ้น  แต่ใน ขณะเดียวกันก็ทำให้เขาสามารถ ล้มเลิกการศึกษาวิชากฎหมายได้ สะดวกมากขึ้น  ดังนั้นวิชาปรัชญา และประวัติศาสตร์จึงกลายเป็น เป้าหมายในการศึกษาของเขาต่อไป 
1 รัฐปรัสเซียได้นำรัฐเยอรมันต่าง ๆ รวมประเทศอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. ๑๘๗๑
2 สังคมนิยมยูโทเปีย (Eutopian Socialosm) เป็นแนวคิดสังคมนิยมก่อนหน้าสมัยของ คาร์ล มาร์กซ  ซึ่งมักจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “สังคมนิยมเพ้อฝัน”  แต่ในที่นี้ผู้เขียนต้องการจะใช้ทับศัพท์ว่า สังคมนิยมยูโทเปีย เพราะคำว่าสังคมนิยมเพ้อฝันดูจะเป็นการให้น้ำหนักแก่แนวคิดในลักษณะนี้น้อยเกินไป
 อังรี  เดอ  แซงต์ซิมอน   เป็นผู้เสนอแนวคิดสังคมนิยม  โดยเห็นว่า กรรมสิทธิ์เอกชนเป็นที่มาของความชั่วร้าย และให้คุณค่าการใช้แรงงานว่าเป็นที่มาของโภคทรัพย์  โจมตีชนชั้นปกครองท่ไม่ทำงานว่าเป็นกาฝากของสังคมต้องขจัดออกไป
3 แรบไบ เป็นตำแหน่งนักบวชในศาสนาฮิบรูของชาวยิว
4 เป็นสำนักปรัชญาของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งเชื่อว่า เหตุผลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำให้โลกพบกับแสงสว่าง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up