วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ห ญิ ง ติ๋ ม



Powered by
 exteen blog. You may view this blog RSS or ATOM.

บริหารรัฐกิ


                                  
การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ

1. เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายและขอบข่ายของการศึกษาบริหารรัฐกิจ

2. เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการและแนวโน้มของการศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและแนวโน้มที่อาจจะเป็นไปในอนาคต

3. เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ บทบาท และอิทธิพลของ
สิ่งแวดล้อมที่มีต่อประชาชนที่เป็นลูกค้าขององค์การบริหารรัฐกิจ และต่อความสำเร็จของการบริหารรัฐกิจ

4. เพื่อให้เข้าใจและวิเคราะห์ถึงเทคนิคและกระบวนการบริหารงานตั้งแต่การวางนโยบายของรัฐและการวางแผน องค์การและการจัดรูปองค์การ การบริหารงานบุคคล การบริหารการคลังสาธารณะ การสื่อความเข้าใจ การจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ และเทคนิคเชิงปริมาณ

การบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์
คำว่า "การบริหารรัฐกิจ" หรือ "รัฐประศาสนศาสตร์" นั้น มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Public Administration ซึ่งจะมีความหมายเป็น 2 นัยหรือ 2 ด้าน คือ ในฐานะที่เป็นศาสตร์ (Science) หรือเป็นสาขาวิชาการ (A Field of Study) และในฐานะที่เป็นการปฏิบัติงาน (Activities) หรือเป็นกิจกรรม

ในแง่วิชาการนั้นศาสตร์ที่เรียกว่า วิชาบริหารรัฐกิจหรือรัฐประศาสนศาสตร์มักจะใช้แทนกันได้ แล้วแต่ว่าเป็นวิชาการของสำนักใด เช่น ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะเรียกวิชานี้ว่า "วิชาบริหารรัฐกิจ" ส่วนที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเรียกวิชานี้ว่า "รัฐประศาสนศาสตร์"

ศาสตร์ (Science) ในทัศนะของนักวิชาการทางสังคมศาสตร์นั้นจะมีความเห็นแตกต่างกัน โดยนักวิชาการบางกลุ่มมองศาสตร์เป็น "องค์แห่งความรู้ที่ได้มาโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัด และเป้าหมายของศาสตร์ก็คือการสร้างทฤษฎีเพื่อให้เข้าใจ พรรณนา อธิบาย และพยากรณ์ปรากฏการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม" เช่นในทัศนะของนักรัฐศาสตร์กลุ่มพฤติกรรมศาสตร์ และกลุ่มประจักษนิยม เป็นต้น
แต่นักวิชาการบางกลุ่มมองศาสตร์ในทัศนะอย่างไม่เคร่งครัดเหมือนกับ "ศาสตร์" ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ดังเช่น กมล อดุลพันธุ์ มองว่า "ศาสตร์เป็นวิชาการที่รวบรวมเป็นระบบ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถศึกษาได้ และนำมาถ่ายทอดกันได้"

กวี รักษ์ชน มีความเห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์หรือวิชาบริหารรัฐกิจจะมีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science) ต่างจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นศาสตร์อย่างแข็ง (Hard Science) ดังนั้น
รัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่อาจจะเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยการศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัดเหมือนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้
ฒ ลักษณะของ "การบริหารรัฐกิจ" หรือ "รัฐประศาสนศาสตร์" มีดังนี้คือ 

1. เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ หรือเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่แยกออกมาจากวิชารัฐศาสตร์ ดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น ตรรกวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ฯลฯ

2. ไม่ให้ความสนใจในเรื่อง "ความบริสุทธิ์" ของศาสตร์

3. ปัจจุบันนิยมศึกษาในรูปของสหวิทยาการ (Inter - Disciplinary Approach) คือ เกี่ยวพันกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ ยากที่จะแยกออกจากกันได้

4. ต้องนำเอาสังคมศาสตร์สาขาต่าง ๆ มากำหนดนโยบายในการบริหารงานของรัฐ

ในด้านความเป็นศาสตร์นั้น เป้าหมายของศาสตร์ก็คือการพยายามหาหลักการ กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎี ที่สามารถเป็นข้อสรุปโดยทั่วไป (Generalization) ของพฤติกรรมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทุกสังคมในลักษณะที่เป็นสากล (Universality)

แต่ในปัจจุบันนี้นักวิชาการต่าง ๆ ได้ยอมรับกันว่า วิชาสังคมศาสตร์นั้นจะมีข้อจำกัดหรือมีขอบเขตทางด้านวัฒนธรรม (Cultural Bound) กล่าวคือ หลักการ กฎเกณฑ์ หรือทฤษฎีที่ได้มาจากการศึกษาของสังคมหนึ่ง

อาจจะไม่สามารถนำมาใช้อธิบายหรือนำมาใช้ได้กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้ เช่น ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา สามารถนำเอาความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากประเทศพัฒนาแล้วมาใช้ได้ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งอาจจะนำมาใช้ไ
ม่ได้ เป็นต้น


จากแนวความคิดดังกล่าว ได้มีกลุ่มนักวิชาการได้พยายามสร้างศาสตร์ที่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาขึ้นมา เรียกว่า พัฒนบริหารศาสตร์ (Development Administration) โดยนักวิชาการในกลุ่มนี้เห็นว่าความรู้ของวิชาการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ที่ค้นพบจากประเทศพัฒนาแล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับประเทศกำลังพัฒนาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
ฒ ลักษณะของวิชา "พัฒนบริหารศาสตร์" (Development Administration) มีดังนี้คือ 

1. จัดเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐประศาสนศาสตร์

2. เป็นศาสตร์ที่พยายามสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา

นักวิชาการที่ศึกษาการบริหารรัฐกิจมีแนวทางที่แตกต่างกันออกไป 3 เหตุผล (ความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับพาราไดม์ที่ศึกษา) คือ

1. นักวิชาการแต่ละกลุ่มมีการรับรู้หรือมีอัตตวิสัยที่แตกต่างกัน
2. กิจกรรมของรัฐบาลมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก
3. สภาวการณ์และปัญหาต่าง ๆ ของสังคมมีความแตกต่างกัน

เทคนิคหรือกระบวนการบริหาร (Administrative Process) ซึ่งเป็นงานหรือหน้าที่ที่นักบริหารจะต้องทำ มีดังนี้คือ
1. การวางแผนและนโยบายของรัฐ
2. องค์การและการจัดองค์การ
3. การบริหารงานบุคคล
4. การบริหารงานคลัง

เทคนิคหรืองานการบริหารอื่น ๆ ที่ช่วยให้นักบริหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้คือ
1. การสื่อความเข้าใจ
2. การจูงใจ
3. การวินิจฉัยสั่งการ

การบริหารงานบุคคลเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับองค์การหรือหน่วยงานเริ่มตั้งแต่
1. การวางนโยบายและการวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
2. การสรรหาบุคคลให้ได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ
3. การพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพอยู่เสมอ
4. การศึกษาประสิทธิภาพของการทำงานภายใต้ภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน

สิ่งแวดล้อมทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อการบริหารในองค์การ คือ
1. ลักษณะของวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของคนในชาติ
2. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ภูมิประเทศของประเทศ
3. ปัจจัยทางด้านประชากร ปัจจัยทางด้านกฎหมาย และเทคโนโลยี

กลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ (New Public Administration) มีความเห็นว่ารัฐประ-
ศาสนศาสตร์หรือวิชาบริหารรัฐกิจนั้น จะมีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างอ่อน (Soft Science) ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคนิคการศึกษาและการวิจัยที่เคร่งครัดในวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากนัก

วิชาพัฒนบริหารศาสตร์ (Development Administration) เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการบริหารงานของประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ซึ่งเห็นว่าในประเทศกำลังพัฒนานั้นมีลักษณะสิ่งแวดล้อมทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรสร้างศาสตร์ให้เหมาะสมกับประเทศนั้น ๆ ด้วย

"การบริหารรัฐกิจ" เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการการ
บริหารงานภาครัฐ ที่อาจใช้อีกคำหนึ่งแทนได้
คือ การบริหารการบริการสาธารณะ หากใช้ในแง่สาขา
วิชา คำว่า "รัฐประศาสนศาสตร์" ที่นิยมใช้กัน
อย่างกว้างขวาง
                                     
บทนำ

กว่าสี่ทศวรรษมาแล้ว ที่นักวิชาการด้านการบริหารรัฐ กิจของไทยได้เริ่มมีความจริงจังในการ เขียนและเผยแพร่ผลงาน ทั้งในด้านงานแปล เรียบเรียง
ทฤษฎี แนวคิดตะวันตก โดยเฉพาะประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของวิชานี้

ในปัจจุบัน แม้การศึกษาวิชาบริหารรัฐกิจของไทยได้มี วิวัฒนาการก้าวไปไกลพอสมควร แต่ด้วย ความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากปัจจัยอันหลากหลาย ทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทำให้การ ศึกษาวิชานี้ต้องมีการทบทวนกรอบภกิจ และหน้าที่ของ การบริหารรัฐกิจ คือ
(1) การสอดส่อง ดูแล ควบคุมผลิตภัณฑ์และสินค้า ให้ได้มาตรฐานสำหรับประชาชน ทำให้เกิด ความเป็นธรรม
(2) การส่งเสริมธุรกิจใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบัน
(3) การควบคุมและให้บริการกิจกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต
(4) การเป็นเจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ
(5) การให้บริการด้านเศรษกิจแก่ประชาชน
(6) รับผิดชอบการบริการสาธารณะโดยส่วนรวม และ ฯลฯ

ระบบราชการไทยในอุดมคติน่าจะมีลักษณะดังนี้
(1) ปราศจากการฉ้อราษฎรบังหลวง ไม่มีการโกง กิน เล่นพรรคเล่นพวก
(2) หน่วยงานต่าง ๆ ประสานงานกันอย่างกลม กลืน
(3) มีการกระจายอำนาจจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
(4) ประชาชนผู้มารับบริการมีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก
(5) มีการวางแผนอย่างดี
(6) มีการจัดข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง และทันสมัย
(7) มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
(8) ไม่มีอิทธิพลทางการเมือง

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งของรัฐอเมริกา ได้ เปลี่ยนชื่อวิชา "Public Administration" มา เป็นวิชา "Public Policy" ด้วยเหตุผลว่า การศึกษา บริหารรัฐกิจคือ การศึกษานโยบายสาธารณะนั่นเอง เนื้อหาของวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีแนวความคิดค่อนข้าง หลากหลาย สำหรับความคิดในแนวใหม่นั้น จะเป็นการพัฒนาไปในสายรัฐศาสตร์ (Political Sciences) เกิดเป็นทฤษฎีการเมืองของรัฐที่เข้มข้นมี

สาระสำคัญ 4 ประการ คือ
(1) การสนใจเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของ สังคม (Relevance)
(2) สนใจค่านิยม (Value) เห็นค่าการบริหารรัฐ กิจจะหลีกเลี่ยงเรื่องของทางราชการและการ เมืองไม่ได้
(3) ความเสมอภาคทางสังคม (Social Equity)
(4) นักบริหารรัฐกิจจะต้องเปลี่ยนแปลง (Change)

ขณะนี้ได้เกิดความเข้าใจผิดสับสนมากพอสมควรใน
เรื่องแนวทางของการบริหารรัฐกิจ และการ
บริหารธุรกิจจึงขอชี้ให้เห็นความแตกต่างของทั้งสองแนว
ทางดังต่อไปนี้ คือ
(1) การบริหารรัฐกิจมีกฎหมายรองรับในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ
(2) การบริหารรัฐกิจ จะมีการควบคุมทางงบประมา
(3) การบริหารงานสาธารณะมีขอบเขตกว้างขวาง มากมาย
(4) เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการบริหารงาน รัฐมีมากมายและมักคลุมเครือ
(5) ความพร้อมที่จะได้มีการตรวจสอบและสอดส่องดูแลทางสาธารณะ
(6) การบริหารราชการมีความเกี่ยวข้องทางการเมืองโดยตรง
(7) การบริหารสาธารณกิจเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะมั่นคง

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสาขานี้ก็ยังมีความคล้ายกัน อยู่บ้างนั่นก็คือ ทั้งการบริหารรัฐกิจ และการบริหารธุรกิจเป็นเรื่องของการร่วมมือดำเนินการหรือ ปฏิบัติการของกลุ่มบุคคลที่มุ่งเป้าหมายร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ "ศาสตร์แห่งการบริหาร" จะเห็นว่าระบบราชการยังต้องการคำอธิบายให้
สาธารณะชนได้เข้าใจอย่างถูกต้องและเป็นความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงระบบให้ได้มาตรฐานการ บริการสาธารณะตามเป้าหมาย

ตารางเปรียบเทียบกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า และกระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่
กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบเก่า (Bureaucratic Paradigm) กระบวนทัศน์ระบบราชการแบบใหม่ (Post-Bureaucratic Paradigm)

1. คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) 1. ให้ประชาชนได้รับสิ่งที่มีคุณค่า (Results Citizens Value)

2. ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ (Efficiency) 2. ให้ความสำคัญกับคุณภาพและสิ่งที่มีคุณค่า (Quality and value)

3. มุ่งเน้นการบริหารแบบนายสั่ง (Administration) 3. เน้นการเพิ่มผลผลิตหรือมุ่งเน้นงาน (Production)

4. เน้นการควบคุมสั่งการ (Control) 4. การยึดมั่นในปทัสถาน (Winning adherence to norms)

5. กำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน (Specify Functions, Authority and Structure) 5. กำหนดภารกิจที่ชัดเจน ปรับปรุงบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเน้นผลลัพธ์ (Identify Mission, Services, Customers, And Outcomes)

6. คำนึงถึงต้นทุน (Justify costs) 6. การส่งมอบสิ่งที่มีคุณค่า (Deliver Value)

7. ตระหนักถึงความรับผิดชอบ (Enforce Responsibility) 7. การสร้างระบบตรวจสอบและ เสริมสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานที่แข็งแกร่ง (Build Accountability, Strengthen Working Relationship

8. การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และ กระบวนการทำงาน (Follow rules and procedures) 8. สร้างความเข้าใจในปทัสถาน หาวิธีการ แก้ปัญหาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Understand and Apply norms, Identity and Solve Problems, Continuously Improve Processes)

9. การปฏิบัติตามระบบการบริหาร (Operate Administrative) 9. การแยกการบริการออกจากการควบคุม, การสร้างปทัสถาน, การเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า, สร้างความร่วมมือ, การให้สิ่งจูงใจ, การวัดผลงานและวิเคราะห์ผลลัพธ์, การรับฟังผลสะท้อนกลับจากผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพสูง (Separate Service From Control, Build Support for Norm, Expand Customer Choice, Encourage Collective Action, Provide Incentives, Measure and Analyze Results, Enrich Feedback)
พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ

ส่วนใหญ่แล้วการพูดถึงพัฒนาของแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจมักจะมีมุมมองในเชิงพาราไดม์ (Paradigm) และคนที่เสนอพาราไดม์ของการบริหารรัฐกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ นิโคลัส เฮนรี่ ได้นำเสนอพัฒนาการของการศึกษาบริหารรัฐกิจของมาเป็น 5 กระบวนทัศน์ หรือ 5 พาราไดม์ด้วยกันคือ

พาราไดม์ที่ 1 การแยกการเมืองและการบริหารแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด พาราไดม์นี้เกิดจากแนวคิดของวูดโรว์ วินสัน ที่ต้องการให้แยกการเมืองออกจากการบริหารอย่างเด็ดขาด โดยให้ฝ่ายการเมืองทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและฝ่ายบริหารทำหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ

พาราไดม์ที่ 2 หลักการบริหาร พาราไดม์นี้พิจารณาว่าการจะมีการบริหารงานที่ดี เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการประหยัดนั้นจะต้องมีหลักการในการบริหารที่มีการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นในช่วงพาราไดม์นี้นักวิชาการจึงมีการนำเสนอหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขึ้นมา โดยมุ่งจะให้หลักเกณฑ์เหล่านี้นำมาซึ่งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความประหยัดในการบริหารงาน

หลักการบริหารที่ถูกนำเสนอในช่วงพาราไดม์นี้เช่น หลักการ POSCORB ของกุลลิคและเออร์วิค หลักการ POCCC ของเฮนรี่ฟาโย

พาราไดม์ที่ 3 การเมืองคือการบริหาร เป็นพาราไดม์ที่คัดค้านพาราไดม์ที่ 1 โดยมองว่าการบริหารคือการเมือง และชี้ให้เห็นว่าการแยกการเมืองออกจากการบริหารนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ

พาราไดม์ที่ 4 ศาสตร์การบริหาร เป็นพาราไดม์ที่คัดค้านพาราไดม์ที่ 2 นั่นคือบอกว่าหลักในการบริหารที่พาราไดม์ที่ 2 นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหลักในการบริหารเป็นเพียงสุภาษิตทางการบริหารเท่านั้น พาราไดม์ที่ 4 จึงเสนอว่าการบริหารรัฐกิจนั้นคือศาสตร์แห่งการบริหาร

ในช่วง 4 พาราไดม์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาการบริหารรัฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในแง่ของการยอมรับ การรับรู้ และจุดสนใจในการบริหาร ทำให้ดูเหมือนว่าการศึกษาวิชาการบริหารรัฐกิจนั้นขาดความเป็นเอกลักษณ์ในตัวของมันเองทำให้ในพาราไดม์ที่ 5 จึงมีความพยายามที่จะค้นหาเอกลักษณ์ของวิชาการบริหารรัฐกิจ

พาราไดม์ที่ 5 การบริหารรัฐกิจคือการบริหารรัฐกิจ พาราไดม์นี้มุ่งหวังที่จะให้วิชาการบริหารรัฐกิจมีเอกลักษณ์ของตนเอง และมุ่งหวังให้วิชาการบริหารรัฐกิจมีลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมที่เป็นอยู่ในเวลานั้นๆ

เราจะเห็นว่าพาราไดม์หรือกระบวนทัศน์ของการบริหารรัฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในช่วงที่มีการยอมรับพาราไดม์ใดพาราไดม์หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เราเรียกการยอมรับตรงนี้ว่าภาวะปกติหรือ Normal Science แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในพาราไดม์เราจะเรียกว่า Paradigm Crisis หรือการเกิดวิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ หรือตำราบางเล่มอาจจะใช้คำว่า Sciencetific Revolution นั่นคือเกิดความคิด หรือเกิดการคัดค้านการยอมรับในพาราไดม์เดิมว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป

วิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การเกิดพาราไดม์ใหม่ถ้าสามารถทำให้การคัดค้าน หรือการนำเสนอประเด็นใหม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

จากทั้ง 5 พาราไดม์ที่นำเสนอโดยนิโคลัส เฮนรี่นั้น จะพบว่าได้เกิดวิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ 2 ครั้งด้วยกันคือ

วิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 1 เป็นการคัดค้าน พาราไดม์ที่ 1 และพาราไดม์ ที่ 2 เป็นการคัดค้านว่าการเมืองไม่สามารถแยกออกจากการบริหารได้ และการคัดค้านพาราไดม์ ที่ 2 ว่าในการบริหารงานภาครัฐนั้นไม่สามารถมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการบริหารได้อย่างเป็นสากล

วิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 1 นี้นำไปสู่การเกิดพาราไดม์ที่ 3 คือการบริหารคือการเมือง และเกิดพาราไดม์ที่ 4 คือศาสตร์แห่งการบริหาร

วิกฤติการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่การศึกษาการบริหารรัฐกิจได้รับอิทธิพลจากการศึกษาด้านพฤติกรรมศาสตร์ จึงทำให้เกิดการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการสมัยใหม่ร่วมกันประมาณปี 1968 และนำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า New Public Administration หรือ New PA. ขึ้นมา และเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การเกิดพาราไดม์ที่ 5 ขึ้นมา

และจากพาราไดม์ที่ 5 ณ ปัจจุบันนี้แนวคิดที่ใช้ในการบริหารรัฐกิจที่ถูกนำมาใช้มากถูกเรียกว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM)

ในแต่ละพาราไดม์จะมีทฤษฎีสำคัญๆ ที่เสนอโดยนักวิชาการต่างๆ เช่นในพาราไดม์ที่ 1 ก็จะมีวูดโรว์ วิลสัน กู๊ดนาวส์ ซึ่งในชีทของแต่ละอาจารย์จะมีรายละเอียดของแนวคิดแต่ละนักวิชาการอยู่แล้ว

การบริหารการพัฒนา 

การบริหารการพัฒนา เป็นสาขาวิชาหนึ่งของการบริหารรัฐกิจ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากหลังสงครามโลกที่ 2 ได้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขึ้น ทำให้ต้องมีศึกษาเรื่องการบริหารการพัฒนา ว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้โครงการพัฒนาประสบความสำเร็จ

การบริหารการพัฒนาจึงเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก่อนจะขยายตัวออกมายังประเทศกำลังพัฒนา

การบริหารการพัฒนามีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ

1.การบริหารเพื่อการพัฒนา (Administration of Development : A of D)

2.การพัฒนาการบริหาร (Development of Administration : D of A)

กล่าวคือเพื่อให้โครงการพัฒนาประสบความสำเร็จ จะต้องมีการปรับปรุงระบบบริหารหรือการพัฒนาระบบบริหารของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนา
การพัฒนาระบบบริหาร จะทำใน 3 ส่วนคือ

-การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
-การพัฒนากระบวนการในการบริหาร
-การพัฒนาพฤติกรรมในการบริหาร

ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์การที่ทำหน้าที่ในด้านการพัฒนา มีทั้งโครงสร้าง กระบวนการการบริหาร และมีพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำนโยบายการพัฒนาไปปฏิบัติ

ทั้งนี้การพัฒนาการบริหารอาจจะเรียกได้หลายอย่าง เช่น

-Administrative Reform การปฏิรูปทางการบริหาร
-Reorganization การจัดองค์การใหม่
-Organization Development การพัฒนาองค์การ
-Administrative Improvement การปรับปรุงการบริหาร
-Organization Improvement การปรับปรุงองค์การ
-Revitalization การพัฒนาตนเองใหม่

การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of D) ประกอบด้วย

-การบริหารโครงการพัฒนา หมายถึงการแปลงนโยบายการพัฒนาออกมาเป็นโครงการและกิจกรรมการพัฒนาให้ชัดเจน

-การพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึงการเพิ่มรายได้ของประชาชนให้สูงขึ้น ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินผล

-การพัฒนาการเมือง เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของชาติ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจการของบ้านเมือง

-การพัฒนาเมือง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ จึงต้องทำให้เมืองมีความพร้อมในการรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม

-การพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนาคนในชนบทให้หลุดพ้นจากความยากจน การไม่รู้หนังสือ และความเจ็บป่วย พัฒนาให้คนในชนบทพึ่งตนเองได้

-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสร้างบริการให้ประชาชน

-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เน้นการพัฒนาที่ดีจากมิตรประเทศ องค์การระหว่างประเทศ

ความช่วยเหลือจากต่างประเทศอาจจะอยู่ในรูปของเงินกู้ เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า

องค์ประกอบของการบริหารการพัฒนาจะเป็นไปตามรูป

การพัฒนาประเทศ

การบริหารเพื่อการพัฒนา (A of d )

-การบริหารโครงการพัฒนา

-การพัฒนาเศรษฐกิจ

-การพัฒนาสังคม

-การพัฒนาทางการเมือง

-การพัฒนาเมือง

-การพัฒนาชนบท

-การพัฒนารัฐวิสาหกิจ

-การพัฒนาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ

การพัฒนาการบริหาร(D of A)

-โครงสร้าง

-กระบวนการ /เทคโนโลยี

-พฤติกรรม

การบริหารการพัฒนา ( DA)


สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนา

สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจคือ ในการบริหารการพัฒนาจะมีสภาพแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง และส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนา

สิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้แก่

1. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายนอกประเทศ ได้แก่

-ประชากร ดูจำนวน คุณภาพ การศึกษาของประชากร

-เทคโนโลยีทั้งทางกายภาพและชีวภาพที่มีอยู่ในนอกประเทศเพราะไม่นานจะถ่ายทอดมาสู่ประเทศเรา

-สิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางสังคม เช่น การมีองค์การในรูปแบบใหม่ ๆ การสร้างกลุ่มสังคมกลุ่มใหม่ ๆ

-อุดมการณ์

2. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาจากภายในประเทศ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป้าหมาย

3. สภาพแวดล้อมของการบริหารการพัฒนาภายในองค์การ หมายถึง ปฏิกิริยาโต้ตอบหรือความขัดแย้งระหว่างองค์การกับบุคคลในองค์การ เช่น

-องค์การมีเป้าหมายอย่างหนึ่งแต่บุคคลในองค์การกลับมีเป้าหมายขัดกับเป้าหมายขององค์การ

-องค์การมอบหมายบทบาทที่ขัดกับบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ เช่น มอบหมายงานประชาสัมพันธ์ให้กับคนที่มีนิสัยชอบเก็บตัว

-ความขัดแย้งระหว่างความคาดหวังขององค์การกับความต้องการส่วนบุคคล องค์การมีความคาดหวังอย่างหนึ่งแต่คนกลับต้องการอีกอย่างหนึ่ง เช่น องค์การคาดหวังว่าจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมแต่คนในองค์การกลับอยากได้ประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ จากสังคม
องค์การและการจัดการ (อ.รวิภา และ อาจารย์ชลิดาสอน)

องค์การ หมายถึง หน่วยในการบริหารงาน ที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ ในองค์การจะต้องประกอบด้วย

-เป้าหมาย (Goal)

-บุคคลอย่างน้อย 2 คนที่มาทำงานร่วมกัน

-มีปฏิกริยาระหว่างกัน และมีรูปแบบแห่งความสัมพันธ์

การจัดการ หมายถึง ความพยายามร่วมกันของมนุษย์ในการจะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และก่อให้เกิดความพอใจ ปัจจุบันวัตถุประของการบริหารยังรวมถึง ความยุติธรรม ความเสมอภาค และการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย

พัฒนาการของทฤษฎีองค์การที่แบ่งเป็น 3 ยุค คือ (อาจารย์ววิภาแบ่งออกเป็นมุมมอง ออกเป็น 8 มุมมอง)

1.ยุคคลาสสิก

2.ยุคนีโอคลาสสิก

3.ยุคสมัยใหม่

1.ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิก (Classical Organization Theory) เป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาองค์การ แนวคิดหลักของยุคนี้คือความพยายามในการแสวงหาหลักการทำงานและหลักการบริหารที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหาร

ทฤษฎีสำคัญๆในยุคนี้ เช่น

-การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของเฟดเดอริก ดับเบิลยู เทเลอร์

-หลักการบริหารของกุลลิค-เออร์วิค

-องค์การตามระบบราชการของแมกซ์ เวเบอร์

2.ทฤษฎีองค์การยุคนีโอคลาสสิก (Neoclassical Organization Theory) เป็นยุคที่นักวิชาการออกมาวิจารณ์แนวคิดในยุคแรก เนื่องจากแนวคิดยุคแรกให้ความสำคัญกับ หลักการทำงานและการการบริหารงานมากเกินไป โดยละเลยคนในองค์การ

ยุคนีโอคลาสสิกจึงเสนอว่า การจะให้องค์การมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับคนในองค์การทั้งในเรื่องของจิตใจ ความต้องการ และพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มในองค์การ

ทฤษฎีองค์การในยุคนี้จะมีจุดหลักอยู่ที่นักทฤษฎีในกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) เช่น เอลตัน เมโย /อับราฮัม มาสโลว์ /เฮอร์เบิร์ต ไชม่อน/แมรี่ ปากเกอร์ ฟอลลเลต และคนอื่นๆอีกมาก

โดยทฤษฎีที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคน

3.ทฤษฎีองค์การยุคใหม่ (Modern Organization Theory) เป็นแนวคิดที่มองว่าทฤษฎีใน 2 ยุคแรกเป็นการมององค์การในระบบปิด (Closed Perspective) คือไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

ทฤษฎีองค์การยุคใหม่มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารงานในองค์การ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective)

ทฤษฎีองค์การในยุคใหม่เช่น

-ทฤษฎีการมององค์การเชิงระบบ (Systems Approach)

-ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach)

-ทฤษฎีองค์การที่เน้นการกระทำ (The Action Approach)

-มุมมองเชิงปริมาณ

-แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการและการสร้างความเป็นเลิศ

-การจัดการคุณภาพโดยรวม

ทฤษฎีองค์การยุคใหม่จะเน้นองค์การที่ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และเน้นการทำเทคนิคการบริหารสมัยใหม่มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการ Balance Scorecard องค์การแห่งการเรียนรู้ Benchmarking การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นต้น

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management )

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ เป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบริหารระบบราชการไทยในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่พัฒนาสืบเนื่องมาจากแนวคิดคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Administration (New PA.)

กล่าวคือหลังจากที่มีการใช้แนวทาง การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New PA.) มาตั้งแต่ปี 1968 โดยประมาณ พบว่ามีผลทำให้ระบบราชการเติบใหญ่มากขึ้น เพราะจุดเน้นของ New PA คือการลงไปสร้างบริการสาธารณะให้กับประชาชนให้ทั่วถึงมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาหลายประการโดยเฉพาะความล่าช้าของการทำงานในระบบราชการ

ขณะเดียวกันในเวลานั้นสภาพของการแข่งขันระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ขณะที่ระบบราชการยังเป็นระบบผูกขาดทำให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากระบบราชการมีต้นทุนสูง ทำให้ภาพรวมในการบริหารงานอยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งต่างจากภาคเอกชนและประชาชนที่เวลานั้นมีความเติบโต แข็งแรงมากขึ้น

ทั้งหมดนี้กลายเป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดแบบ New PA มาเป็น New PM ประมาณปี 1980 ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่นำมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิรูประบบราชการของไทยด้วย

ทั้งนี้หลักการของ New Public Management ประกอบไปด้วย

1.การสร้างการบริการที่มีคุณภาพแก่ ประชาชน โดยภาครัฐจะต้องหันมาสร้างบริการที่รวดเร็ว โปร่งใส และสร้างความประทับใจให้กับประชาชนอันเป็นเสมือนลูกค้า

หลักการข้อนี้ถูกนำมาใช้กับประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2532 โดยมีการประกาศใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้บริการของรัฐปี 2532 เช่นการกำหนดว่าในการขอรับบริการของประชาชนในเรื่องต่างๆจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน การจัดระบบคิวในการติดต่อราชการ การจัดระบบนัดล่วงหน้าเพื่อไม่ให้ประชาชนไปคอยเสียเวลาที่หน่วยราชการอีกต่อไป

เราจึงพบว่าในปัจจุบันข้าราชการให้บริการประชาชนด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใจมากขึ้น ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น สะดวกมากขึ้น เช่นสามารถทำบัตรประชาชนที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปที่ภูมิลำเนา

2.สนับสนุนให้ลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพิ่มอิสระในการบริหารงานให้แก่หน่วยงานมากขึ้น หรือเน้นการกระจายอำนาจ ผ่อนคลายกฎระเบียบให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

ดังเราจะพบว่าเวลานี้หน่วยงานระดับล่างของไทยมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้น

3.New PM ให้ความสำคัญกับผลการปฏิบัติงาน หมายถึงเน้นการวัดผลการทำงานว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน

แนวทางนี้ถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยอย่างเข้มข้นมากขึ้น ดังจะพบว่าข้าราชการและหน่วยงานทุกหน่วยงานจะต้องจัดระบบประเมินผลงานของทั้งระดับบุคลและระดับหน่วยงาน มีการกำหนดตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีการให้ผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานจากเดิมที่อาจจะให้ตามลำดับอาวุโสและอายุการทำงาน

นอกจากนี้ในประเทศไทยเรายังมีการปรับเปลี่ยนให้มีการพิจารณาความดีความชอบปีละ 2 ครั้ง มีการให้รางวัลในระดับองค์การ เช่นมีโบนัสหรือเงินเดือนเดือนที่ 13 สำหรับหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น มีการให้รางวัล Priministor Award เป็นต้น

4.การสร้างระบบสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้บุคคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และยังสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานมากขึ้น

หลักการในข้อนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยเช่นกัน เช่นมีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ มีการทำบัตรประชาชนแบบใหม่ที่เรียกว่า Smart Card

5.การจัดการภาครัฐแนวใหม่สนับสนุนให้มีการเปิดกว้างในการแข่งขัน หลักการในข้อนี้เกิดจากการที่รัฐบาลมีภารกิจมากจนเกินไป เข้าไปมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพ New PM จึงเสนอว่ารัฐจะต้องยอมรับเรื่องของการแข่งขัน

การแข่งขันในที่นี้จะต้องมีความเสรี เป็นการแข่งขันที่จะให้เอกชนเข้ามาปฏิบัติงานในส่วนที่รัฐเคยทำและไม่มีประสิทธิภาพ เช่นการจ้างเหมา การให้เช่า หรือแม้กระทั้งการแปรรูป

การแข่งขันในส่วนนี้จะเป็นการแข่งขันระหว่างภาครัฐด้วยกัน หรือระหว่างรัฐกับเอกชนก็ได้

ในประเทศไทยหลักการข้อนี้ถูกนำมาใช้อย่างมากเช่นกัน เช่นการเปิดให้มีการแข่งขันในกิจการโทรศัพท์จากเดิมที่ผูกขาดด้วยหน่วยงานของรัฐ หรือในธุรกิจการบินที่เวลานี้มีสายการบินเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนมีโอกาสเดินทางในราคาที่ถูกลง หรือในกิจการเกี่ยวกับการขนส่งเช่นการตรวจสภาพรถจากเดิมที่ผูกขาดด้วยสำนักงานขนส่งก็เปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน

การที่มีการแข่งขันมากขึ้นทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้บริการในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนก็จะได้รับบริการในราคาที่ถูกลงและได้รับความพึงพอใจมากขึ้น

นั่นคือหลักการของ New PM ที่มีผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนการบริหารงานภาครัฐของไทยมาสู่การจัดการแบบใหม่ รวมทั้งการปฏิรูประบบราชการของไทยเองก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน

2.แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี (Good governance)

เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่มีอิทธิผลและมีบทบาทต่อการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน รวมทั้งมีอิทธิพลต่อการปฏิรูประบบราชการของไทยด้วย

สำหรับหลักการของ Good governance นักวิชาการจะกำหนดไว้หลากหลายในที่นี้มองว่ามีหลักการที่สำคัญคือ

-ความโปร่งใส หมายถึงระบบราชการจะต้องทำงานอย่างโปร่งใส พร้อมให้ประชาชนตรวจสอบได้ตลอดเวลา

-ความรับผิดชอบ หมายถึงในปัญหาใดๆที่เกิดขึ้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบหรือมีเจ้าภาพทีชัดเจน

-การใช้หลักนิติธรรม หมายถึงการทำงานของระบบราชการจะต้องคำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักการนี้จะทำให้ประชาชนได้รับความเสมอภาคจากการบริการของรัฐ

-ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การทำงานของระบบราชการจะต้องคำนึงถึงผลของการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีต้นทุนในการทำงานที่ต่ำที่สุดด้วย

แนวคิดดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยโดยมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักการธรรมมาภิบาลในภาครัฐ
เป้าประสงค์ในการพัฒนาระบบราชการไทย

ถ้าพิจารณาจากเป้าประสงค์หลักของการพัฒนาระบบราชการไทยก็จะพบว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ กล่าวคือ

เป้าประสงค์แรก การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น

ในเรื่องนี้มีการกำหนดตัวชี้วัดต่างๆเช่น

1.ประชาชนร้อยละ 80 ต้องมีความพึงพอใจในการรับบริการ เวลานี้หน่วยราชการทุกหน่วยจึงต้องมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน

2.ต้องลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปฏิบัติให้ลดลงให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2550 (เช่นบริการที่เคยใช้เวลา 30 นาที่จะต้องลดให้เหลือ 15 นาที )
เป้าประสงค์ที่สอง คือการลดภารกิจและขนาดให้มีความเหมาะสมก็มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเช่นกัน คือ

1.จะต้องลดภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลัก (Non Core Function) ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2550 อาจจะทำโดยการถ่ายโอน การจ้างเหมา

2.หน่วยราชการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 จะต้องทำตามเจตนารมณ์ตามมาตรา 3/1 ของ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือตามพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศใช้เมื่อปี 2546 ซึ่งมีการกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างชัดเจน

3.จะต้องมีการยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ไม่น้อยกว่า 100 ฉบับภายในปี 2550

4.จะต้องรักษาสัดส่วนเงินงบประมาณแผ่นดินต่อรายได้ประชาชาติไม่ให้เกินร้อยละ 18 ในช่วง 5 2546-2550

5.ลดจำนวนข้าราชการลงให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2550 พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพของกำลังคน (เวลานี้ข้าราชการพลเรือนมี 3 แสนกว่าคน การลด 10 % ถือว่าน้อยมาก)

เป้าประสงค์ที่สาม คือการยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานของการทำงานให้อยู่ในระดับสูงเทียบเท่าเกณฑ์สากล คือต้องปรับปรุงการทำงานให้ได้มาตรฐาน เช่นโรงพยาบาลก็จะมีมาตรฐานที่เรียกว่า HA

ข้าราชการจะต้องพัฒนาขีดความสามารถหรือพัฒนาสมรรถนะหลัก โดยหน่วยราชการร้อยละ 90 จะต้องได้รับการพัฒนาการให้บริการ หรือสามารถดำเนินการในรูปของรัฐบาลอีเล็กทรอนิกส์

เป้าประสงค์ที่สี่ ที่เน้นการเป็นรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย จะเน้นเรื่องความโปร่งใส เวลานี้ทุกหน่วยราชการก็จะดำเนินการตามนโยบายประเทศไทยใสสะอาด ส่วนราชการจะต้องมีการดำเนินการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงาน มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น

ปัญหาความขัดแย้งและข้อร้องเรียนระหว่างหน่วยงานกับประชาชนจะต้องเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี (แต่เวลานี้คดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองมีจำนวนมาก) การมีคดีความมากๆสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของระบบราชการยังไม่มีความราบรื่น มีความขัดแย้ง

สรุป ทุกวันนี้การจัดการภาครัฐ จึงเป็นบริหารรัฐกิจยุคใหม่ ทั้งเรื่องของการบริหารงาน บริหารคน และบริหารเงินโดยมีลักษณะทีสำคัญคือ

-บริหารคนโดยยึดคนเป็นเป็นศูนย์กลาง พัฒนาคน ทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา

-บริหารงาน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม บริหารงานท่ามกลางเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น บริหารงานในลักษณะงานเฉพาะกิจ การจัดองค์การต้องเป็นองค์การแบบ Organic ไม่ใช่ Mechanic

-บริหารเงิน โดยโปร่งใส กระจายอำนาจ

หรือการบริหารราชการทุกวันจะเป็นแบบ บริหารงาน บริหาร และบริหารเงิน ในเชิงคุณธรรม จริยธรรม แต่ ยังไม่ทิ้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการบริหารงาน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวคิด New Public Management และ Good Governance นั่นเอง

รัฐประศาสนศาสตร์
(อังกฤษ: Public administration)คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ 
 รัฐประศาสนศาสตร์
การบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม

Public หมายถึง ข้าราชการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐพึงปฏิบัติ

Administration หมายถึง ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินการในองค์การ

Public Administration หมายถึง การร่วมมือกันดำเนินงานของรัฐ

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration เป็นวิชาที่ศึกษาค้นคว้าทางด้านการบริหารงานภาครัฐ บริหารธุรกิจ Business Administration การบริหารงานของบริษัทห้างร้านเอกชนหรือธุรกิจอื่น

ความหมายของการบริหาร 
Herbert A Simon กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน

Ernest Dale กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปโดยใช้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ 
* Administration เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การขนาดใหญ่ องค์การทางราชการ หรือบริหารราชการ ภาครัฐ
* Management เป็นการบริหารจัดการ ในองค์การธุรกิจ การบริหารภาคธุรกิจเอกชน



Thomas S. Khun กำหนดคำว่า Paradigm เป็นเสมือนการกำหนดแก่นของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา

Nicholas Henry แบ่ง พาราไดม์ ออกเป็น 5 ส่วน

1. การแยกการบริหารออกจากการเมือง (The Politics / Administration Dichotomy) 
Woodrow Wilson เขียนบทความ “The study of Administration” เป็นบิดาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ อเมริกา

(บิดา รัฐประศาสนศาสตร์ ยุโรปและเยอรมันคือ Max Weber)

ผู้ให้การสนับสนุน : Frank J. Good now และ Leanard D. White

2. หลักการบริหาร (The principle of Administration ผู้เขียน William F. Willoughby)

ผู้ให้การสนับสนุน : Federick W. Taylor , Henri Fayol , Luther Guliek & Lyndall Urwick (คิดกระบวนการบริหาร POSDCORB) , Mary P Follet

ผู้ไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าเป็นเพียงภาษิตทางการบริหาร (Proverbs of Administration) : Fritz M. Mark , Dwight waldo , John M. guas , Norton E. long

3. การบริหารรัฐกิจ คือ รัฐศาสตร์ (Public Administration as political science)

ยุคนี้ไม่ค่อยมีความก้าวหน้านัก

4. การบริหารรัฐกิจ คือ ศาสตร์ทางการบริหาร (Public Administration Administrative science)

แนวความคิด Organization Theory ทฤษฏีองค์การ และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Operation Research เน้นศึกษา System Analysis , Cybernatic , Network Analysis , Program management

5. การบริหารรัฐกิจ คือ การบริหารรัฐกิจ (Public Administration as Public Administration)

นักวิชาการได้สร้าง รัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) ทำให้เกิดแนวคิด – การพัฒนาองค์กร , นโยบายสาธารณะ , ทางเลือกสาธารณะ , เศรษฐศาสตร์การเมือง , การจัดการองค์กรสมัยใหม่

ทฤษฎีทาง รัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารรัฐกิจ) แบ่งเป็น 4 สมัย 
o ทฤษฎีดั้งเดิม (1887-1950)

1. การบริหารแยกออกจากการเมือง (Politics / AdministrationDichotomy)

- Woodrow Wilson บทความ The Study of Administration

- Frank J. Good now หนังสือ Politics and Administration เกี่ยวกับ การปกครอง หน้าที่การเมือง และ การปฏิรูปการปกครอง

- Leonard D White หนังสือ Introduction to the study of Public Administration เป็นตำราเล่มแรกของ รัฐประศาสนศาสตร์

2. ระบบการราชการ (Bureaucracy) Max weber

2.1 อำนาจ Authority ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบุคคลอื่น

2.1.1 รูปแบบการใช้อำนาจเฉพาะตัว (Charismatic Domination)

2.1.2 รูปแบบการใช้อำนาจแบบประเพณีนิยม (Traditional Domination)

2.1.3 รูปแบบการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Legal Domination)

2.2 องค์ประกอบของระบบราชการ

2.2.1 หลักลำดับชั้นของสายบังคับบัญชา (Hierarchy)

2.2.2 อำนาจของสมาชิกองค์การ ตำแหน่งที่ดำรงอยู่ (positional and Authority)

2.2.3 การทำงานระบบราชการถูกกำหนดโดยกรอบระเบียบ (Rule, Regulation and procedure)

2.2.4 ข้าราชการวางตัวเป็นกลาง (Impartiality)

2.2.5 การรับราชากรถือว่าเป็นอาชีพทีมีความมั่นคง (Security)

2.2.6 ระบบราชการมีลักษณะคงทนถาวร

2.2.7 ระบบการจูงใจกำหนดอัตราเงินเดือนแน่นอน(Fixed Salary)

2.2.8 ใช้เหตุผลตัดสินปัญหา (Rationality)

2.2.9 การบริหารงานบุคคลอาศัยหลักคุณวุฒิ (merit System)

2.2.10 ระบบความสัมพันธ์บุคคลในราชการอย่างเป็นทางการ

2.3 ความวิเศษของระบบราชากร (เหนือกว่าระบบอื่น) Monocratic Bureaucracy

3. วิทยาศาสตร์การจัดการ (Scientific Management) Fredirick W Taylor บิดาของทฤษฎี และ เขียนหนังสือ Scientific Management และบทความ The principle of Scientific Management

- เดิมคนงานมีแนวโน้มที่จะอู้งาน (Soldiering) ให้หันมาทำงานเป็นทีม (Systematic Soldiering)

3.1 หลักวิทยาศาสตร์สำหรับทำงานเป็นขั้นตอนต่าง ๆ

1. Specialization ความชำนาญเฉพาะด้าน

2. One Best way วิธีการทำงานที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว

3. Incentive Wage System ระบบการจูงใจโดยใช้มาตรฐานของงาน

4. Time And Motion Study การศึกษาระยะเวลา และการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน

5. Piece Rate System ระบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น

3.2 คัดเลือกคนตามกฎเกณฑ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะกับงาน

3.3 พัฒนาคนงานโดยการสอน ให้คนงานทำงานถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการ

3.4 สร้างบรรยากาศการร่วมมือในการทำงานอย่างมิตรระหว่างฝ่ายจัดการและฝ่ายคนงาน

4. หลักการบริหาร (Principle of Administration) ใช้หลักวิทยาศาสตร์มาใช้

- Mary parker Follet เสนอให้เห็นข้อดีของการขัดแย้ง, มนุษย์ไม่ชอบคำสั่ง คนสั่งต้องมีศิลปะ , องค์การเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร&คนงาน , หลักการบริหารต้องให้ความสำคัญกับการประสานงาน

- Henri Fayol หลักการบริหาร

1. การแบ่งงานกันทำ (Division of work)

2. อำนาจโดยชอบธรรม

3. วินัย (Discriplinary)

4. เอกภายในการบังคับบัญหา (Unity of Command)

5. เอกภาพของคำสั่ง (Unity of Direction)

6. หลักผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว

7. การให้รางวัลตอบแทน

8. การรวมอำนาจ (Centralization)

9. ลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชา (Scolar Chain)

10. คำสั่ง (Order)

11. ความเสมอภาค (Equality)

12. ความมั่นคงของคนงาน

13. ความคิดริเริ่ม

14. ความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในองค์กร (Esprite De Corps)

OSCAR

O : Object วัตถุประสงค์

S : Specialization ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

C : Coordination การประสานงาน

A : Authority อำนาจหน้าที่

R : Responsibility ความรับผิดชอบ

POCCC 
P : Planning การวางแผน

O : Organization การจัดองค์การ

C : Commanding การบังคับบัญชา

C : Coordinating การประสานงาน

C : Controlling การควบคุม

- James D. Mooney และ Alan C. Reiley เขียนหนังสือ Onward Industry และ principle of Organization

- Coordination หลักการประสานงาน

- Hierarchy หลักลำดับชั้นของสายบังคับบัญชา

- Specialization หลักการแบ่งงานตามหน้าที่

- Line & Staff หลักการหน่วยงานหลักและหน่วยงานช่วย

- Luther H. Gulick และ Lyndall Urwick หนังสือ Papers on the Science of Administration

- Planning การวางแผน

- Organization การจัดองค์การ

- Directing การอำนวยการ

- Staffing การสรรหาบุคคล

- Coordinating การประสานงาน

- Reporting การรายงาน

- Budgeting การงบประมาณ

ทฤษฎีท้าทาย (1950-1960) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

1. การบริหาร คือ การเมือง
1. Fritz Morstein marx เขียน Element of Public Administration “การบริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้นแท้จริงแล้วเป็นการเมืองบรรจุไว้ด้วยค่านิยม”
2. Paul Henson Appleby 1981-1963 “อำนาจ3ฝ่าย นิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหาร แยกออกจากันไม่ได้เด็ดขาด”
3. John M Guas , Avery Lieserson
2. ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ 1. Robert Michels เขียน Political Parties = Iron Law of the Oligarchy กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย “ระบบประชาธิปไตยในตอนแรกไปสู่ระบบการปกครองแบบเผด็จการในตอนหลัง”
2. Robert Marton “กฎระเบียบต่าง ๆ เป็นเป้าหมายขององค์การ
3. Alvin N. Gouldner เขียน patterns of Industrial Bureaucracy “บทบาทขององค์การแบบไม่เป็นทางการภายในระบบราชการ เบี่ยงเบนและทับซ้อนระบบราชการแบบเป็นทางการอีกครั้ง”
3. มนุษยสัมพันธ์ (Human relation) 
1. Elton Mayo ทำการทดลอง Hawthorne Study “ศึกษาการทำงานของคนงานประจำโรงงานไฟฟ้า ชื่อ Western Electric company สรุป

+ ปัจจัยทางปทัสถาน เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิต
+ ความคิดคนงานต้องการค่าตอบแทนมากๆ นั้นผิด ที่ถูกพฤติกรรมคนงานถูกกำหนดโดยรางวัลและบทลงโทษ
+ พฤติกรรมคนงาน กำหนดโดยความสัมพันธ์ภายในกลุ่มอย่างมาก
+ ผู้นำกลุ่มแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการไม่เหมือนกัน
+ สนับสนุนการวิจัยแบบผู้นำ

2. Abraham H. Maslow ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ Hierarchy of needs

+ มนุษย์มีความต้องการหลายอย่าง
# ความต้องการทางกายภาพ (Physical /Basic Needs)
# ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (security / Safety Needs)
# ความต้องการที่จะผูกพันทางสังคม (Social / Love needs)
# ความต้องการฐานะเด่นได้รับการยกย่อง (Esteem Needs)
# ความต้องการที่จะตระหนักความจริงในตน (Self Actualization)
+ Maslow “ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับถัดไป”
+ ความต้องการของมนุษย์ องค์กรที่ดีที่สุดคือองค์กรที่สร้างคนให้เป็นที่ยอมรับตนเองและคนอื่น / มีความสามารถในการแก้ปัญหา

3. Fedric Herberg ทฤษฎี Motivator – Hygiene Theory “ทฤษฏีปัจจัยจูงใจ –ปัจจัยสุขวิทยา เหมือนทฤษฏีลำดับขั้นของความต้องการ คือ กระตุ้นให้ทำงาน

+ Hygiene Factor ปัจจัยทางสุขวิทยา นโยบายและการบริหารของบริษัท และสภาพในการทำงานโดยทั่ว ๆไป (ไม่สามารถสร้างความพอใจได้)
+ Motivation Factor ปัจจัยจูงใจ ได้รับความสำเร็จในงาน มีโอกาสก้าวหน้า ได้รับการยอมรับ (สามารถสร้างความพอใจในงานกับคนงานได้)

d. Douglas Mc. Gregor เขียนหนังสือ The Human Side of Enterprise การจูงใจคนงานมี 2 วิธี

- วิธีเดิม Theory X มองคนในแง่ไม่ดี

- ทฤษฎีแบบมนุษยสัมพันธ์ Theory Y มองคนในแง่ดี

e. Chis Argyris บอกว่า

- มนุษย์มีสุขภาพจิตดี คือ มนุษย์ที่ผ่านการพัฒนาเป็นผู้ใหญ่

- การจัดโครงสร้างทางราชการเป็นแบบปิระมิด เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา

- ในระยะยาว การออกแบบองค์กรแบบราชการไม่ใช่วิธีออกแบบองค์กรให้เกิด

ประสิทธิผลได้

4. ศาสตร์การบริหาร
1. Chester Barnard หนังสือ The function of the Executive

+ องค์การเกิดจากคนร่วมมือกันทำงาน
+ เอาคนมาร่วมมือกันต้องมีการจัดระบบ
+ องค์การอยู่ได้ ถ้าคนร่วมมือกัน ทำงานได้สำเร็จ
+ องค์การอยู่ได้ ขึ้นกับความสามารถของฝ่ายบริหาร(Executive)
+ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ตัดสินใจ ในกรอบของศีลธรรม

2. Herbert A. Simon หนังสือ Administrative Behavior
1. การสร้างเครื่องมือเพื่อมององค์กร
2. ข้อบกพร่องของหลักการบริหาร (Simon ลบล้างหลักการบริหารปี 1947)
1. ความขัดแย้งระหว่างข่ายการควบคุม Span of Control หลักลำดับขั้น Hierarchy
2. ความขัดแย้งระหว่างผู้เชี่ยวชาญ Specialization หลักเอกภาพการควบคุม Unity of Command
3. ความขัดแย้งระหว่างการจัดการองค์กร
3. การตัดสินใจเป็นหัวใจของ รัฐประศาสนศาสตร์ Simon เป็นบิดาทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision Making Theory)
4. การตัดสินใจเป็นเรื่องของเป้าหมายองค์กร

# ลำดับขั้น Hierarchy of Decisions ผู้อยู่สูงกว่าจะกำหนดเป้าหมายการ

ทำงาน

5. ดุลยภาพภายในองค์กร Equilibrium

Ž ทฤษฎี รัฐประศาสนศาสตร์ สมัยใหม่ 1960-1970

1. นำเอาทฤษฎีแบบมาใช้
2. นักวิชาการอีกกลุ่มสนใจ รัฐประศาสนศาสตร์ เปรียบเทียบ Coparative Public Administration

ก่อตั้งกลุ่มศึกษา การบริหารงานเปรียบเทียบ Coparative Administration Group CAG

นักวิชาการ Fred W Riggs และ Ferrel Heady

Riggs แบ่งการบริหารงาน

1. รูปแบบ Agaria – Industria Society แบ่งสังคม
1. Agaria Society สังคมเกษตรล้าหลัง
2. Transitia Society ระหว่าง a กับ c
3. Industria Society สังคมอุตสาหกรรมทันสมัย
2. Prismatic Model
1. Fused Society สังคมที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน
2. Prismatic Society ระหว่าง a กับ c
3. Diffuse Society โครงสร้างสังคมที่ซับซ้อนมาก

ระบบราชการในประเทศที่กำลังพัฒนา

1. ระบบเผด็จการแบบประเพณีนิยม Traditional Autocratic System
2. ระบบข้าราชการเป็นผู้นำ bureaucratic Elite System
3. ระบบประชาธิปไตยแบบแข่งขัน Polyarchal Compititive System
4. ระบบกึ่งแข่งขันถูกครอบงำโดยพรรคการเมือง Dominant Party semi Competitive System
5. ระบบข้าราชการเป็นผู้ตามที่เข้มแข็ง Mobilization System
6. ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบคอมมิวนิสต์ Communist Totalitarianism system

ระบบทฤษฎี รัฐประศาสนศาสตร์ สมัยปัจจุบัน 1970-ปัจจุบัน 
+ รูปแบบการกำหนดนโยบาย Thomas R Dye เขียนหนังสือ Understanding Public Policy

1. รูปแบบผู้นำ Elite Model

2. รูปแบบกลุ่ม Group Model

3. รูปแบบสถาบัน Institutional Model

4. รูปแบบระบบ System Model

5. รูปแบบกระบวนการ Process model

6. รูปแบบมีเหตุผล Rational Model

7. รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป Incremental Model

- แนวคิดทางนโยบาย Ira Sharkansky จำแนกนโยบายแบ่งออกเป็น

1. ขั้นกำหนดนโยบายของรัฐ Public Policy

2. ขั้นผลิตของนโยบาย Policy Output

3. ขั้นผลกระทบของนโยบาย Policy Impact

การจัดองค์การสมัยใหม่ Modern Organization

1. องค์การชั่วคราว Temparary Organization

2. องค์การตามสถานการ Situational หรือ Contingency Organization

3. องค์การแบบประชาธิปไตย Democratic Organization
http://khun-pa.exteen.com/ บทความคัดลอก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up