วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554






คัมภีร์โบราณ
สุวรรณโคมคำ เป็นชื่อดินแดนในอดีต มีมาตั้งแต่สมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า ในสมัยนั้นเรียกว่า “ถ้ำกุมภ์” เป็นสถานอัน
พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาฉันบิณฑบาต และทรงมีพุทธทำนายไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เหลืออีก ๔ พระองค์ ใน
อนาคตจะมาฉันบิณฑบาตที่ถ้ำนี้เหมือนเช่นกับพระองค์ เพราะเป็นสถานที่ที่จะทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคงในอนาคต ภายหลังสถานที่แห่งนี้ได้มีชื่อว่า เมืองสุวรรณโคมคำ แปลว่า โคมทอง เมืองสุวรรณโคมคำมีอาณาเขตกว้าง
ใหญ่ไพศาล (ดูในตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ) มีอาณาบริเวณสุดลูกหูลูกตา เป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีพระพุทธศาสนา
เป็นศูนย์รวมใจ
ครู บาอาจารย์ในสายสุวรรณโคมคำ เล่าสืบมาว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ฌานและบรรลุธรรมขั้นสูงในพุทธศาสนาได้รจนาไว้ เพราะเห็นว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมก็จริง แต่จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่มีบารมีธรรมและฤทธิ์ฌานแก่กล้า สำหรับปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป
ไม่อาจจะรู้ได้ทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความประมาทอย่างไม่รู้โลก ด้วยเหตุนี้ท่านเหล่านั้นจึงได้รจนาคัมภีร์สุวรรณโคมคำขึ้น เพื่อใช้คำนวณบุญกรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม คัมภีร์สุวรรณโคมคำจึงถืออุบัติขึ้นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเพราะเหตุว่า คัมภีร์นี้
เกิดขึ้นในแผ่นดินสุวรรณโคมคำ บูรพาจารย์สุวรรณโคมคำจึงได้เรียกขานคัมภีร์นี้ว่า “คัมภีร์สุวรรณโคมคำ” หรือเรียกอีกชื่อว่า "คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช"
คัมภีร์ นี้แสดงสูตรคำนวณบุญบาปที่ให้ผลตามกาลเวลาไว้ และยังรวมเอาศาสตร์อื่นๆ ที่มีหลักการเดียวกันผนวกไว้อย่างครอบคลุม รวมทั้งหมด ๑๖ ส่วน ได้แก่
๑. ลคฺนา ว่าด้วย สภาพชีวิต ความเป็นอยู่ รูปร่าง บุคลิก
๒. โหรา ว่าด้วย ความเจริญ ความเสื่อม ฐานะ
๓. ตรียางฺค ว่าด้วยความสุข ทุกข์ทั้งหลาย
๔. จตุรทฺสํส ว่าด้วย ความรุ่งโรจน์สูงสุด
๕. ตมสํส ว่าด้วย อนาคตอันใกล้ (แบ่งออกเป็น ๗ ปกรณ์)
๖. นวางฺค ว่าด้วย อุบัติกาลคู่
๗. ทสมสํส ว่าด้วย ตำแหน่ง อำนาจ อิทธิพล บารมี (แบ่งออกเป็น ๑๐ ปกรณ์)
๘. ทวาทสํส ว่าด้วย ผู้อุปถัมภ์ บุพพการี วงศ์สกุล (แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)
๙. โสทสํส ว่าด้วย ทรัพย์อันเป็นมรดก ดินแดน การยึดครอง
๑๐ วิมสํส ว่าด้วย กรรมเก่า ( แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)
๑๑. จตุรวมสํส ว่าด้วยความสำเร็จในการศึกษาวิทยาการ (แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)
๑๒. ภงฺส ว่าด้วยธาตุ ปราณ และสมุนไพร (แบ่งออกเป็น ๒๗ ปกรณ์)
๑๓. ตริมสํส ว่าด้วยข้าศึก ศัตรู อุบาทว์ และอุปสรรค (แบ่งออกเป็น ๓๐ ปกรณ์)
๑๔. อคฺคเวทสํส ว่าด้วยพฤติแห่งอาชีวะ (แบ่งออกเป็น ๑๕ ปกรณ์)
๑๕. ขวทสํส ว่าด้วยการห้ามฤกษ์ และวางฤกษ์ตามกลุ่มนักษัตร
๑๖. ฉฎฺฐองฺส ว่าด้วยอรรถย่อยทั้งหลาย
ทั้ง ๑๖ ส่วนนี้ รวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โสฬส” เป็นการแบ่งวิชาเท่ากับจำนวนส่วนทั้ง ๑๖ ของดวงจันทร์ตาม
คัมภีร์สุวรรณโคมคำนั้นเอง ผู้เรียนเจนจบครบสูตรทั้งหมดนี้เรียกว่า “สำเร็จโสฬส” กลายเป็นยอดคนครบถ้วนกระบวนยุทธ์ คัมภีร์สุวรรณโคมคำได้สืบต่อเรื่อยมารุ่นแล้วรุ่นเล่าโดยเหล่าศิษย์ผู้ได้ รับการถ่ายทอด
ด้วย ศักดานุภาพของคัมภีร์ที่มากล้นนี้ ล้วนเป็นที่หมายปองของผู้แสวงหาวิชายิ่งนัก (คล้ายๆ คัมภีร์กลยุทธ์ซุ่นจื่อ ที่ได้รับการ สืบทอดโดยซุนปิง) ถึงกับยกทัพจับศึกแย่งชิงตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์
คัมภีร์สุวรรณโคมคำได้ผ่านกาลสมัยมาช้านาน ต่อมาคัมภีร์นี้ได้ตกทอดมาถึง "สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราช
จุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสวามี"นามเดิม คือ พระศรีศรัทธา เป็นโอรสของกมรเตงอัญรามคำแหง ประสูติ ณ เมืองสองแคว (พิษณุโลก) เมื่อเจริญชันษาได้ศึกษาศิลปวิทยา และเจนจบคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช หรือคัมภีร์สุวรรณโคมคำ สำเร็จโสฬสแต่ครั้งเยาว์วัย นอกจากนี้ ยังทรงเชี่ยวชาญในวิชาคชศาสตร์ และอัศวศาสตร์ (อันหนึ่งรู้คุณช้าง อันหนึ่งรู้คุณม้า อันหนึ่งรู้คุณสีหะ จารึกวัดศรีชุมว่างั้น) ในช่วงวัยหนุ่ม พระศรีศรัทธาได้สู้รบกับขุนต่างๆ มากมายจนสุดท้ายได้ทำยุทธหัตถีกับขุนจัง แทนพ่อขุนรามคำแหง ได้รับชัยชนะอย่างสง่างาม ต่อมาพระศรีศรัทธาเห็นภัยในการครองเรือน ได้ทิ้งอาวุธ นำทรัพย์สมบัติออกบริจาคทาน และได้ยกพระธิดา และพระชายาให้แก่ผู้ที่มาขอ ได้เจริญรอยตามพระเวสสันดรโพธิสัตว์ เสด็จผนวชบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาได้จาริกไปแสวงบุญที่เกาะลังกา หลังจากที่กลับจากการแสวงบุญที่เกาะลังกา ด้วยสมเด็จพระธรรมราชาลิไทย ตรัสให้บัณฑิต ไปอาราธนานิมนต์กลับสู่กรุงสุโขทัยแล้ว ครูบาอาจารย์สายสุวรรณโคมคำ เล่าสืบมาว่า "สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ได้ผนวกเนื้อหาของพระอภิธรรมเข้าไว้ในคัมภีร์สุวรรณโคมคำ (ซึ่งท่านชำนาญอยู่แล้ว) จนครบสมบูรณ์ ซึ่งแต่เดิมนั้น คัมภีร์สุวรรณโคมคำมีเนื้อหาธรรมะครบถ้วนอยู่แล้ว แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาช้านาน ทำให้หลักธรรมกร่อนไปเป็นอันมาก เหลือเพียงหลักการคำนวณ และคำพยากรณ์เท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาวิชาในคัมภีร์สุวรรณโคมคำ เพื่อให้สำเร็จในขั้นสูง จำเป็นต้องศึกษาธรรมะ และฝึกกสิณสมาธิควบคู่ไปด้วย" เมื่อบั้นปลายชีวิตของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด คือ วัดจุฬามณี จนกระทั่ง ละสังขารลาจากโลกนี้ไป รวมอายุได้ประมาณ ๘๓ ปีเชื่อ กันว่า แม้พญาลิไทก็ได้รับการถ่ายทอดคัมภีร์นี้จากสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ด้วยเช่นกัน ต่อมาในสมัยหลัง คัมภีร์นี้ตกทอดมาจนถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คงประกอบด้วยเหตุนี้ พระองค์ท่านจึงปรีชาสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลาอันสั้น และก่อนสวรรคต โปรดให้คนนำคัมภีร์สุวรรณโคมคำไปคืนไว้ที่เมืองสุวรรณโคมคำเดิม (ประเทศลาว)
หมายเหตุ: ประวัติของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ดูในศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักที่ 2 ประกอบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up