วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554




หาก มองสภาพภูมิประเทศในแถบบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณตั้งแต่จีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทยเรื่อยลงมา จะพบว่าดินแดนแถบนี้ มีสภาพอันเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตอยู่เป็นอย่างมาก ในอดีตเราได้พบซากของสัตว์ดึกดำบรรพ เช่น ไดโนเสาร์ ในบริเวณพื้นที่แถบนี้มากกว่าบริเวณแถบอื่นๆบนโลก ไม่เว้นแม้แต่พญานาค จึงไม่แปลกใจที่เรื่องราวของพญานาค ได้เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับประวัติศาสตร์บริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้อย่าง มากมาย โดยเฉพาะบริเวณเกือบตลอดแนวของลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งถูกตอกย้ำด้วยตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาอีกด้วยว่า แม่น้ำโขงแห่งนี้ เกิดจากการขุดของพญานาค



แม่น้ำโขง
มี ต้นกำเนิดจากที่ราบสูงธิเบต แถบเทือกเขาตังกุลา มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน โดยไหลผ่านมณฑลยูนานและออกจากประเทศจีนที่เมืองเชียงรุ้ง เป็นแม่น้ำสายยาวที่ทอดผ่านประเทศจีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา มีความยาวตลอดสายประมาณ 4,880 กิโลเมตร โดยจะไหลลัดเลาะอยู่ในประเทศจีนประมาณ 2,130 กิโลเมตร เป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างจีนกับพม่า ประมาณ 31 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างพม่ากับลาวประมาณ 234 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับลาว ประมาณ 955 กิโลเมตร อยู่ในประเทศลาว ประมาณ 789 กิโลเมตร อยู่ในประเทศกัมพูชาประมาณ 490 กิโลเมตร อยู่ในประเทศเวียดนามประมาณ 230 กิโลเมตร ใน ส่วนของการเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับลาวนั้น ตอนบนจะกั้นระหว่างจังหวัดเชียงรายกับแขวงบ่อแก้วของลาว ส่วนในตอนล่างจะกั้นโดยกินพื้นที่ 6 จังหวัดในฝั่งไทบอันได้แก่ เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ส่วนฝั่งลาวนั้นก็คือ เวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน และจำปาสัก จากนั้นยังไหลเข้าสู่กัมพูชา ที่สตึงเตรง พนมเปญ แล้วเข้าสู่เวียดนาม ก่อนที่จะไหลออกสู่ทะเลจีนใต้     

ในตำนานของลาวเล่าว่า ในอดีตได้มีนาคสองตัวซึ่งเป็นมิตรสหายที่รักกันมาก ทั้งคู่อาศัยอยู่ที่หนองแส พญานาคที่ชื่อ พินทโยนกวตินาค จะปกครองอยู่ในหนอง ส่วนพญานาคที่ชื่อ ธนะมูลนาค  จะปกครองบริเวณท้ายหนอง และมีหลานชื่อ ชีวายนาค โดยพญานาคทั้งสองตกลงกันว่า ในหนองแสแห่งนี้ หากใครได้อาหารมาจะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง แต่อยู่มาวันหนึ่ง มีช้างตัวหนึ่งตายที่ท้ายหนอง ธนะมูลนาค ก็จัดการแบ่งเนื้อช้างเป็นสองส่วนเท่าๆกัน โดยนำไปให้พินทโยนกวตินาคส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็เก็บเอาไว้กินเองส่วนหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีเม่นมาตายที่หัวหนอง พินทโยนกวตินาค ก็จัดการแบ่งเนื้อเม่นออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน แต่เมื่อธนะมูลนาคกินเนื้อเม่นหมดแล้วกลับไม่อิ่ม เคราะห์ซ้ำกรรมซัดบังเอิญเหลือบไปเห็นขนเม่นยาวตั้งคืบกองอยู่ ซึ่งมันยาวกว่าขนช้างอยู่มาก จึงคิดว่าสัตว์ที่เรียกว่าเม่นนี้ น่าจะเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน จึงสร้างความไปพอใจโดยหาว่าพินทโยนกวตินาคผิดสัญญาที่เคยให้ไว้ โดยหวงเนื้อเม่นเพื่อเก็บเอาไว้กินเอง ทั้งๆ ที่ตนก็เคยแบ่งเนื้อช้างตามที่ตกลงกันอย่างไม่เคยบิดพลิ้ว จึงทำให้นาคทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง สาเหตุจากการทำสงครามขิงพญานาคผู้ทรงฤทธิ์ทั้งคู่ จนทำให้น้ำขุ่นไปทั้งหนองแส  จาก การวิวาทในครั้งนั้นทำให้สัตว์ใหญ่น้อยที่ต้องพึงพาน้ำจากหนองดังกล่าวดื่ม กิน ต่างล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ร้อนถึงพระอินทร์ต้องส่งพระวิสสุกรรมลงมาขับไล่นาคทั้งหมดให้ออกจากหนองแส จึงทำให้นาคตัวอื่นๆ ต้องอพยพไปหาที่อยู่ใหม่ โดยระหว่างทางก็ขุดคุ้ยดินจนลึกกลายเป็นคลอง
ชีวายนาคขุดจนเกิดแม่น้ำอู หรืออีกชื่อหนึ่งคือ แม่น้ำอุรังคนที แล้วเลยไปถึงชีวายนที
ธนะมูลนาคก็ขุดจนเกิดแม่น้ำมูล
ส่วนพินทโยนกวตินาค ก็ขุดจนเกิดแม่น้ำพิง โดยตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า โยนก ตามชื่อของตน
ส่วนนาคตัวอื่นๆ ก็ขุดคุ้ยดินจนเกิดแม่น้ำสายต่างๆขึ้นมาอีกมากมาย

ส่วนในตำนานสุวรรณโคมคำ ก็มีโครงเรื่องคล้ายๆกัน โดยนาค ชื่อ พญาสุตตนาค ปกครองอยู่ทางทิศใต้หรือฝั่งไทยในปัจจุบัน พญาศรีสัตตนาค ปกครองอยู่ทางทิศเหนือหรือฝั่งลาวนั่นเอง หลังจากที่มีเรื่องวิวาทในการแบ่งเนื้อเม่นแล้ว พญาสุตตนาคเห็นว่าพญาศรีสัตตนาคคงมีกำลังสู้พวกของตนไม่ได้ จึงยกกำลังลงมาขับไล่พญาศรีสัตตนาคออกจากหนองแส จากการขุดคุ้ยหลบลี้จากการไล่ล่า จึงทำให้น้ำจากหนองแสไหลตามเส้นทางที่พญาศรีสัตตนาคใช้หลบหนี จนกลายเป็นแม่น้ำโขง
ทั้งนี้ตำนานแห่งคำชะโนดก็เล่าสืบต่อกันมามิได้แตกต่างกันนักว่า นาคที่ได้เนื้อช้างมานั้นชื่อ พญาศรีสุทโธ ส่วนนาคที่ได้เนื้อเม่นนั้นชื่อว่า พญาสุวรรณ การวิวาทของนาคทั้งสองกินเวลานานถึง 7 ปี จนทำให้สัตว์ต่างๆ ในแถบนั้นต่างได้รับความเดือดร้อนไปทั่วสระ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องลงมาตัดสิน โดยมีโองการให้นาคทั้งสองหยุดรบกัน แล้วให้แยกกันออกไปหาที่อยู่ใหม่ โดยให้สร้างแม่น้ำจากหนองแสคนละสาย ใครถึงทะเลก่อนจะได้ปลาบึกลงไปอยู่ในแม่น้ำสายนั้น จากนั้นให้เอาภูเขาพญาไฟเป็นเขตกั้น หากใครลุกล้ำก็ให้ไฟจากภูเขาพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นมหาจุล

หลังจากได้รับโองการแล้ว พญาศรีสุทโธก็สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางตะวันออกของหนองแส เจอภูเขาขวางหน้าตรงไหน แม่น้ำก็คดโค้งไปตามภูเขา เพราะพญาศรีสุทโธเป็นนาคใจร้อน แม่น้ำนี้จึงเรียกว่า แม่น้ำโขง เพราะคำว่า โขง มาจากคำว่า โค้ง ส่วนพญาสุวรรณ ก็พาบริวารสร้างแม่น้ำลงไปทางใต้ พญาสุวรรณเป็นนาคใจเย็น พิถีพิถัน พยายามสร้างแม่น้ำให้ตรง ซึ่งแม่น้ำนี้เรียกว่าแม่น้ำน่าน ซึ่งเปรียบกับแม่น้ำสายอื่นแล้ว ถือว่าตรงกว่าทุกสาย ดังนั้นพญานาคาดั่งพระศรีสุทโธ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นพญานาคาแห่งลำน้ำโขง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up