วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


          เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๖๗ เซนติเมตร สูง ๒๗๕ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
          สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นเจ้าได้ให้ศิษย์ของท่าน จารทำบอกเล่าให้เราให้ทราบเรื่องของคนไทยสมัยก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงเล่าไว้ว่า ท่านเกิดในนครสรลางสองแคว (พิษณุโลก) เป็นโอรสพระยาคำแหงพระราม เป็นหลานปู่พ่อขุนนาวนำถุม หรือพระยาศรีนาวนำถุม ซึ่งเสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อ นครสุโขไท อีกอันหนึ่งชื่อ นครสรีเสชนาไล (ศรีสัชนาลัย) ภายหลังประทับอยู่ที่นครสุโขทัยแห่งเดียว ส่วนนครศรีสัชนาลัยนั้นทรงตั้งขุนยี่ คือ อุปราชปกครอง โอรสองค์โตชื่อ ขุนผาเมือง ให้ไปครองเมืองราด เมืองลุม เป็นราชบุตรเขยของผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่แปด) และดำรงตำแหน่งยุวราชแห่งศรีโสธรปุระด้วย โอรสอีกองค์หนึ่งชื่อพระยาคำแหงพระราม (พระบิดาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ) ให้ครองนครสรลวงสองแคว
         เมื่อสิ้นพ่อขุนนาวนำถุมแล้ว ขอมสบาดโขลนลำพง ยึดอำนาจการปกครอง พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งดำรงตำแหน่งขุนยี่ครองนครศรีสัชนาลัย จึงขึ้นไปเมืองบางยาง ได้รวบรวมพลร่วมกับพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหาย โดยจัดทัพแยกกันเป็นสองทาง ขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดศรีสัชนาลัยคืนได้แล้ว ก็นำกำลังมารวมกับกำลังของขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง แต่แต่งกลอุบายให้ขอมสบาดโขลนลำพงยกกำลังไปรบกับขุนบางกลางหาว แล้วขุนผาเมืองก็ยกกำลังเข้ายึดสุโขทัยได้ ขอมสบาดโขลนลำพงเสียรู้แตกกลับไป
ขุนผาเมืองเชิญขุนบางกลางหาวเข้าเมืองสุโขทัย แล้วอภิเษกให้ครองเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งให้นามเกียรติของตนที่ได้จากผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ขุนบางกลางหาวจึงมีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ ได้เล่าเรื่องของท่านเองตั้งแต่เยาว์จนถึงหนุ่ม ได้ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาคำแหงพระรามผู้เป็นบิดา ครั้งสุดท้ายรบชนะขุนจัง แล้วมองเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงในโลกีย์วิสัย จึงสละสมบัติออกบวชแล้วเดินธุดงค์ไปเที่ยวทุกแห่ง เข้าไปสู่อินเดียตอนใต้ แล้วไปถึงลังกาทวีป พบเห็นมหิยังคณะมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ปรักหักพังเกิดศรัทธา จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพระองค์ได้กระทำสักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ ก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่พระองค์และชาวสิงหล พระองค์จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนจากชาวสิงหล สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีศรัทธา พระองค์ประทับอยู่ที่ลังกาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับสุโขทัย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิมาด้วยเมื่อมาถึง สุโขทัยก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ ประดิษฐาน ณ นครสุโขทัย บางฉลัง ศรีสัชนาไลย เพื่อให้เป็นเมืองธรรมจึงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพิหารเจ้าอาวาส สร้างพระพุทธรูปอันงามพิจิตรท่านได้ไปเที่ยวโปรดสัตว์ ไปพบพระมหาธาตุเจดีย์ปรักหักพังอยู่กึ่งกลางนครพระกริส จึงอธิษฐานบารมีจนพบแหล่งปูน ท่านได้นำมาก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ความสูง ๑๐๒ วา พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ขอมเรียกว่า พระธม ส่วนปูนที่เหลือท่านได้นำไปซ่อมแซมพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก









 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up