วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555





ความหมายของนโยบายสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ (อังกฤษ: public policy) หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่องนิยาม
 1.สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ 2.กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้นเช่น การจัดการบริการสาธารณะ (public services ),การจัดทำสินค้าสาธารณะ (public good),การออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย 3.แนวทางปฏิบัติบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแนวทางที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา 4.ความคิดของรัฐที่กำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ อย่างไร เพียงไร เมื่อไร 5.แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล (ไม่ว่าจะระดับใด) กำหนดขึ้นเพื่อล่วงหน้า เพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ตามมา
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
·        เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลจะกระทำหรือไม่กระทำ
·        เป็นการใช้อำนาจของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
·        ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายตุลาการ ประมุขของ ประเทศ  ตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ
·        กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย
·        กิจกรรมที่เลือกกระทำจะต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม
·        เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมากมิใช่การตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล
·        เป็นกิจกรรมที่คลอบคลุมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
·        เป็นกิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสังคม

ตัวแบบนโยบายสาธารณะ
ตัวแบบ (Model) การกำหนดนโยบาย
1.   ตัวแบบชนชั้นนำ  (Elite Model)
2.   ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)
3.   ตัวแบบระบบราชการ  (Bureaucratic Model)
4.   ตัวแบบทฤษฎีกลุ่ม  (Group  Theory)
5.   ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)
6.   ตัวแบบระบบ (System Model)
7.  ตัวแบบทฤษฎีเกม  (GAME  Theory)
8.  ตัวแบบทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ  (Public  Choice  Theory)
9.  ตัวแบบทฤษฎีเหตุผล  (Rational Comprehensive Theory)
10. ตัวแบบของทฤษฎีส่วนที่เพิ่ม  (Incremental Theory)
11. ตัวแบบผสมผสาน  (Mixed Scanning)
1. ตัวแบบชนชั้นนำ  (Elite Model)
Thomas R. Dye   นโยบายสาธารณะมาจากความพึงพอใจ  หรือค่านิยม (Value)  หรือผลประโยชน์ ของกลุ่มชนชั้นนำหรือชั้นปกครอง (Elite) ในการกำหนดนโยบายจะเกี่ยวข้องกับ
                                --ชนชั้นนำ หรือชั้นปกครอง (Elite)             =    ผู้กำหนดนโยบาย
                                --ประชาชนทั่วไป(Mass)                                  =    ผู้รับผลของนโยบาย
                                - ข้าราชการ(Bureaucrats)                                 =    นำนโยบายไปปฏิบัติ

ตัวแบบนี้สามารถใช้อธิบายได้ในทุกระบอบการเมืองการปกครอง ตั้งแต่เผด็จการโดยคนคนเดียว  การปกครองแบบอำนาจนิยมโดยกลุ่มบุคคล จนถึงระบอบประชาธิปไตย 
-          ระบอบประชาธิปไตย  แต่ตัวแบบนี้จะสามารถใช้อธิบายในการเมืองระบอบเผด็จการคนคนเดียวได้มากกว่าในระบอบอำนาจนิยมโดยกลุ่มบุคคล(Authoritarian)
-          ระบอบอำนาจนิยมโดยกลุ่มบุคคลจะใช้ตัวแบบนี้อธิบายได้มากกว่าระบอบประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ
-          ประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบจะใช้ตัวแบบนี้อธิบายได้มากกว่าประชาธิปไตยแบบเต็มใบ
2. ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model) 
Thomas R. Dye   มีสาระสำคัญว่า นโยบายสาธารณะ เป็นผลผลิตของการทำหน้าที่ของสถาบันต่างๆที่เป็นทางการ   ตัวแบบสถาบันนี้ถูกโจมตีว่าสนใจบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะเฉพาะสถาบันเท่านั้น 
นโยบายสาธารณะมาจากผลผลิตของสถาบันทางการเมือง
                                                - ฝ่ายนิติบัญญัติ 
                                                - ฝ่ายบริหาร 
                                                - ฝ่ายตุลาการ 
                                                - พรรคการเมือง
                                                ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ยังมีบทบาทในนโยบายสาธารณะ แต่ตัวแบบนี้ได้ละเลยบทบาทบุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีต่อนโยบายสาธารณะ
3. ตัวแบบระบบราชการ (Bureaucratic Model)
Thomas R. Dye ได้ให้ความสำคัญของระบบราชการว่ามีบทบาทมากต่อการกำหนดนโยบาย ซึ่งตัวแบบนี้จะสามารถใช้อธิบายนโยบายสาธารณะของประเทศที่มีข้าราชการมีบทบาทมากในการกำหนดนโยบายสาธารณะ  โดยเฉพาะระบอบการปกครองโดยคณะทหาร ในประเทศกำลังพัฒนาข้าราชการมีบทบาทมากในการกำหนดนโยบาย
     ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยสมัยจอมพลสฤษดิ์  จอมพลถนอม  จนถึงสมัยพลเอกเปรม  ที่ถูกเรียกว่าระบอบ อมาตยาธิปไตย(Bureaucratic Polity)
สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว  ฝ่ายการเมืองจะมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ ส่วนข้าราชการจะมีบทบาทนำเอานโยบายไปปฏิบัติ  ในประเทศพัฒนาแล้วข้าราชการ คือ ผู้หนึ่งที่เป็นผู้เสนอข้อมูลในการกำหนดนโยบายต่อฝ่ายการเมือง แต่ในทางปฏิบัติข้าราชการจะมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ผ่าน 2 ช่องทาง
                                1. การให้ข้อมูล
                                2. การมีอิทธิพล
4. ทฤษฎีกลุ่ม  (Group Theory )
David Truman   เป็นตัวแบบที่ดัดแปลงมาจากตัวแบบทางการเมือง โดยมองว่า ถ้าหากว่านโยบายที่กำหนดมานั้นยังไม่เกิดความสมดุล  กลุ่มบุคคลที่มองว่าตนเองเสียประโยชน์ก็จะไปแรงสนับสนุนจากกลุ่มอื่นๆ 
     ตัวอย่างเช่นนโยบายค่าเงินบาทเกิดจากการต่อสู้ของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องแตกต่างกัน
5. ตัวแบบกระบวนการ  (Process Model)
เป็นการเสนอว่านโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมทางการเมือง ที่มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.  ขั้นการกำหนดปัญหา (Problem Identification) โดยมีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.  ขั้นการเสนอแนะทางนโยบายต่าง ๆ มีการเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา
3.  ขั้นการเลือกนโยบายอย่างเป็นทางการ
4.  ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ
5.  ขั้นประเมินผลนโยบาย
6. ตัวแบบระบบ  (System Model)
นำมาจากตัวแบบระบบการเมือง (Political System)  ของ David Easton  นโยบายสาธารณะ (Public Policy)  เป็นผลผลิต (Outputs) ของระบบการเมือง
ตัวแบบระบบ - ยึดหลักการที่ว่า นโยบายสาธารณะเกิดจากการยึดหลักการทฤษฎีระบบ (system model) ประกอบด้วย Input Process Output Feedback รวมไปถึง Environment
7. ตัวแบบทฤษฎีเกม  (GAME  Theory)
มีการแข่งขันระหว่างผู้เล่นที่มีบทบาทกำหนดนโยบาย  2  ฝ่ายขึ้นไป การเลือกทางเลือกของฝ่ายหนึ่งขึ้นอยู่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะเลือกอะไร  ดังนั้นทางเลือกนโยบายของฝ่ายหนึ่งขึ้นอยู่การเลือกของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเสมอ  เหมาะสมที่จะใช้กับนโยบายต่างประเทศ  การสร้างพันธมิตรหรือแนวร่วมในการดำเนินกิจการ  การต่อรองในสถานการณ์การเมืองที่มีการแข่งขัน  หรือการต่อรองในรัฐสภา
8  ตัวแบบทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ  (Public  Choice  Theory)
ตัวแบบนี้มีสาระสำคัญว่า นโยบายสาธารณะ  เป็นการตัดสินใจร่วมกันปัจเจกชนที่มีผลประโยชน์ส่วนตัว  (Self – Interest Individuals)
Buchanan   มีความเห็นว่า นักการเมืองและกลุ่มต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างมุ่งตัดสินใจในนโยบายที่จะให้ประโยชน์ส่วนตัวสูงสุด  และถึงแม้ว่าแต่ละคนและแต่ละกลุ่มจะมีผลประโยชน์ไม่เหมือนกัน  แต่ต้องหาจุดร่วมกันของนโยบายสาธารณะที่จะให้เกิดความพึงพอใจของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่ม
9  ตัวแบบทฤษฎีเหตุผล  (Rational Comprehensive Theory)
ตัวแบบนี้มีความเห็นว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลประโยชน์สูงสุดที่สังคมได้รับ  (Maximum Social Gain)  การเลือกนโยบายสาธารณะจะต้องทำการวิเคราะห์ทางเลือกและหาทางเลือกที่ดีที่สุดแก่สังคม Thomas R. Dye  นำเสนอ
10  ตัวแบบของทฤษฎีส่วนที่เพิ่ม  (Incremental Theory)
ลินด์บลอม  (Lindblom) มองว่านโยบายคือ การแปรเปลี่ยนไปจากอดีต  (Policy as variation on the Past)  การกำหนดนโยบายไม่จำเป็นต้องทำตัวแบบเหตุผล  ตัดสินใจใหม่โดยพิจารณาข้อมูลทั้งหมด  โดยใช้เหตุผลอย่างครบถ้วน  (Rational Comprehensive Policy Making )  ทุกครั้ง  จะทำให้ไม่เสียเวลาไปหาข้อมูลใหม่เพราะเวลามีจำกัด เพื่อสร้างทางเลือกของนโยบายใหม่  และจะช่วยลดความตึงเครียดทางการเมืองในการโต้เรื่องเกี่ยวกับนโยบายใหม่  เป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ได้
ตัวแบบนี้จึงเหมาะกับการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นสังคมแบบพหุลักษณะ  (Pluralistic Society)  ที่มีกลุ่มผลประโยชน์หลากหลาย  นโยบายและการจัดสรรงบประมาณจะไม่ทำแบบเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ  เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กลุ่มต่าง ๆ  โดยคงนโยบายแบบเดิมไว้  มีนโยบายใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาไม่มากนักนอกจากนี้การเมืองแบบประชาธิปไตย จะใช้เวลาในการจัดทำงบประมาณมากเพราะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย จึงไม่มีเวลาที่จะไปหาข้อมูลมาจัดทำนโยบายใหม่ทั้งหมด
11  ตัวแบบผสมผสาน  (Mixed Scanning)
Amitai Etzioni  เป็นการผสมผสานที่ใช้ตัวแบบเหตุผลของ  Thomas R.Dye  และตัวแบบส่วนที่เพิ่ม  (Incremental Theory)  ของ  Lindblom  เข้าด้วยกัน
ตัวแบบนี้ในขั้นแรกจะพิจารณาภาพรวมทั้งหมดของนโยบายและค่าใช้จ่ายก่อนแล้วจึงมุ่งสนใจเฉพาะจุดที่สนใจเป็นพิเศษเฉพาะส่วน เปรียบเทียบคล้ายกับเจ้าหน้าที่ประจำฐานเรดาร์ที่ตรวจหาเครื่องบินข้าศึก  โดยในขั้นแรกจะใช้เรดาห์ตรวจหา  (Scan)  เครื่องบินเป็นภาพรวมทั้งท้องฟ้าก่อน  เมื่อพบวัตถุแปลกปลอมหรือพบจุดสงสัยจะตรวจตราจุดนั้นเป็นพิเศษอีกครั้ง ตัวแบบนี้จึงจะได้ข้อดีของแต่ละตัวแบบ  (ตัวแบบเหตุผล  และตัวแบบส่วนที่เพิ่ม)  ไปลดข้อจำกัดหรือข้อเสียที่ใช้แบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้




ตัวแบบที่นำมาไช้ในนโยบายการศึกษา
ตัวแบบกระบวนการ  (Process Model)
เป็นการเสนอว่านโยบายสาธารณะเป็นกิจกรรมทางการเมือง ที่มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.  ขั้นการกำหนดปัญหา (Problem Identification) โดยมีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2.  ขั้นการเสนอแนะทางนโยบายต่าง ๆ มีการเสนอโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา
3.  ขั้นการเลือกนโยบายอย่างเป็นทางการ
4.  ขั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ
5.  ขั้นประเมินผลนโยบาย

ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน  ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัด  ผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติ  แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมิณว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทย

สภาพการศึกษาของไทยและปัญหาผลิตผลทางการศึกษา
ถ้าเรามองการเรียนการสอนจากอดีตก่อนที่จะมีระบบโรงเรียน สมัยก่อนนั้นพ่อแม่จะเป็น "ครู" ผู้สั่งสอนลูก โดยมุ่งสอนให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง พ่อแม่มีอาชีพอย่างไรก็มักสั่งสอนอาชีพนั้นแก่ลูกของตนเอง เช่น พ่อแม่มีอาชีพเกษตรกรก็สอนอาชีพนั้นแก่ลูกๆ เพื่อที่ลูกๆจะได้มีทักษะอาชีพติดตัวไปทำมาหากินในอนาคต ในการสอนอาชีพก็คอยแนะนำทักษะต่างๆให้กับลูกโดยใกล้ชิด ส่วนลูกก็ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง ภายใต้สภาพแวดล้อมจริงที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเมื่อมีปัญหาก็จะให้คำแนะนำกับลูกเป็นรายบุคคล หรือนำลูกไปฝากไว้ที่วัดหรือสำนักต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนสรรพวิชาต่างๆแล้วก็ยังมีการปลูกฝังคุณธรรมไปในตัวด้วยต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีระบบโรงเรียน โดยทรงจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อเตรียมคนเป็นข้าราชการ ตั้งแต่นั้นมาชาวไทยก็ถือว่าการศึกษาเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนเองหรือบุตรธิดาให้สูงขึ้น ชาวไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษามาก พ่อแม่พยายามที่จะส่งลูกๆให้เข้าในระบบโรงเรียนและส่งเสียให้ได้เรียนสูงๆ เมื่อเริ่มมีระบบโรงเรียนนักการศึกษาในสมัยนั้นก็รับแนวคิดการจัดหลักสูตรตะวันตกเข้ามามี
อิทธิพลต่อการศึกษาของไทย การสอนได้เปลี่ยนจากการสอนแบบเดิมที่มุ่งสอนให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง จากเดิมมีครูสอนลูกศิษย์เพียง 2 - 3 คน เปลี่ยนมาเป็นการสอนที่มีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียนให้นักเรียน 30 - 50 คนนั่งฟังภายในห้องเรียนสี่เหลี่ยมและคอยจดตามคำสอน กลายเป็นภาพที่ติดแน่นมาจนถึงปัจจุบันอย่างยากที่จะลบเลือนจากการที่บรรยากาศการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มานานนับร้อยปี ส่งผลให้เกิดปัญหาทางการเรียนการสอนขึ้น กล่าวคือ ผลผลิตทางการศึกษาของเราขาดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน 2) สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง 3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 5) มีความคิดในการพัฒนาและความคิดสร้างสรรค์ 6) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนอย่างไร ?
แสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องมีการฝึกฝน และควรจะมีการปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ใช่เติบใหญ่ขึ้นมาแล้วจะกล้าแสดงความคิดเห็นโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นการเรียนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาให้นักเรียนแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการตัดสินใจด้วยตนเองเพราะผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเองน้อยมาก เรื่องนี้ครูหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์คล้ายๆกัน คือ พบว่านักศึกษาที่เรียนถึงระดับอุดมศึกษา แต่ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ครูต้องสอนเนื้อหาให้ทันตามหลักสูตรซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหามากมาย เนื้อหาบางส่วนเปรียบเสมือน"ขยะ" คือ เนื้อหาที่ไม่มีความจำเป็นต่อหรือสัมพันธ์ต่อชีวิตของนักเรียน แต่ด้วยหน้าที่ ทำให้ครูหลายๆท่านต้องพยายามสอนเนื้อหาให้ทัน เปรียบเสมือนการ"กรอก"ความรู้ให้กับนักเรียนโดยไม่ตั้งใจ จากปัญหานี้ ทำให้ครูต้องรีบเร่งจนไม่มีเวลาที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม(กิจกรรมในห้องเรียน) เมื่อไม่มีการทำงานเป็นกลุ่มทำให้ขาดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และยังขาดความเคารพตนเองและคนอื่น ผลจึงปรากฏว่า คนไทยส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ขอยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องน่าจะมีการประสานงานกัน แต่ปรากฏว่าหน่วยงานต่างๆกลับแยกกันทำอย่างอิสระ ดังจะเห็นได้จากงานบางอย่างเกิดความซ้ำซ้อนในขณะที่งานบางอย่างไม่มีผู้ดูแล ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขงานของหน่วยงานหนึ่งและงานนั้นจะต้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นด้วยกลับไม่มีการประสานงานกันเท่าที่ควรการสอนความรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ด้วยความหวังดี แต่ผู้เรียนไม่เห็น ความสำคัญของสิ่งที่ครูให้แต่จำเป็นต้องรับความรู้นั้น ลักษณะนี้เปรียบเสมือนการกรอกความรู้ให้ผู้เรียน การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะนั่งฟังครูหรือฟังและจดตามครูอย่างเดียว เมื่อผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญรู้แต่ว่าจะต้องเรียน เป็นอย่างนี้นานเข้าๆจึงเคยชินกับการรอรับความรู้จากครู (มองว่าครูคือผู้สอนหรือผู้นำความรู้มาให้ส่วนตัวผู้เรียนเองคือผู้รอรับการสอน) เมื่อผู้เรียนคิดเช่นนั้นจึงขาดการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สังเกตได้จากครูสอนแค่ไหนผู้เรียนก็รู้แค่นั้นความรู้ไม่มีการต่อยอดเพราะสิ้นสุดแค่ในชั้นเรียน ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เรียนหลายคนจบการศึกษาออกไปทำงานและได้เผชิญกับปัญหาจริง(โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องมีการแสวงหาแนวทางแก้ไข)แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะปรับตัวไม่ทัน เคยแต่เป็นผู้รับอย่างเดียวไม่เคยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้มองไม่เห็นปัญหาหรือถ้าเห็นปัญหาก็ละเลยต่อปัญหานั้น เพราะไม่เคยฝึกคิดหาทางแก้ปัญหามาก่อน นอกจากนั้นการเรียนการสอนที่เน้นทฤษฎีมากๆโดยไม่เน้นการปฏิบัติ(เน้นแต่ทฤษฎีที่ครูเป็นผู้ให้อย่างเดียว)ทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการปฏิบัติงานขาดการลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อผู้เรียนไม่ได้สัมผัสบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ขาดการเผชิญปัญหา(ไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหา) ส่งผลทำให้ขาดการพิจารณาสาเหตุแห่งปัญหา(ไม่รู้ว่าสิ่งใดคือสาเหตุของปัญหานั้น) ขาดการคิดหาแนวทางการแก้ปัญหา และขาดการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้น เมื่อจบออกไปจึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานและปัญหาชีวิตได้เท่าใดนักนอกจากนี้จะเห็นว่าผลผลิตทางการศึกษาของเราส่วนใหญ่ขาดความคิดในการพัฒนาและขาดความคิดสร้างสรรค์ เพราะการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้ป้อนความรู้อย่างเดียวแถมยังตีกรอบให้ปฏิบัติตาม ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการคิดแสวงหาแนวทางอื่นๆนอกเหนือจากที่ครูป้อนให้ เช่น ครูสั่งให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่งก็มักจะมีตัวอย่างหรือมีกรอบเพื่อให้ปฏิบัติตาม(การปฏิบัติงานดังกล่าวขอยกเว้นงานที่เสี่ยงต่ออันตรายหรือการเสียหายทางทรัพย์สินหรือกรณีอื่นๆตามที่ท่านเห็นควร) ถ้านักเรียนทำนอกเหนือจากที่ครูบอกถือว่าผิด เช่น การเรียนวิชาศิลปะในสมัยเด็ก ครูก็มักจะวาดรูปให้นักเรียนดูบนกระดานสมมุติว่าครูวาดรูปนก งานที่ครูสั่งให้ทำก็คือวาดรูปนกตามที่ครูสอน ผู้เรียนส่วนใหญ่ก็จะวาดรูปนกตามครู ถ้าสมมุติว่าเด็กชายปรีชานำหลักที่ครูสอนเรื่องการวาดรูปนกมาวาดเป็นรูปกระต่าย เมื่อนำมาส่งก็อาจโดนครูตำหนิได้ การสอนลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้เรียนขาดโอกาส"คิด"ในการออกแบบหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพราะยึดติดกับกรอบที่ครูวางไว้จนเคยชิน มีผลทำให้ผู้เรียนไม่สามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมากับการแก้ปัญหาในการทำงานหรือปัญหาชีวิตได้เพราะถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ส่งผลทำให้ความคิดต่างๆของผู้เรียนถูกตีกรอบโดยไม่รู้ตัว เมื่อคิดจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเขาก็มักจะตีกรอบทางความคิดขึ้นมาด้วยความเคยชินว่าห้ามทำอย่างโน้น ไม่ควรทำอย่างนี้ ทำให้ขาดความคิดสิ่งใหม่ๆขาดการมองด้วยมุมมองที่หลากหลาย หรือเรียกว่าขาดความคิดสร้างสรรค์นั่นเองในด้านหน้าที่ของพลเมือง การเป็นสมาชิกที่ดีนั้นควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคมด้วย การเรียนการสอนหน้าที่ของพลเมืองส่วนใหญ่มักจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดี แต่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึก เป็นผลให้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มักดูดายต่อปัญหา ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการสอนในชั้นเรียนที่มักจะมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นวิชาการสูงเน้นทฤษฎีมากผู้เรียนต้องนั่งเรียนอย่างมีระเบียบ ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยมาก ในทางกลับกันมีการแข่งขันกันเรียนมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้เรียนขาดความเอื้ออาทรต่อเพื่อน ขาดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้เป็นแหล่งบ่มเพาะบุคลากรที่มี "ความใจแคบ" ออกมาสู่สังคม ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยากที่จะแก้ไขได้จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเสนอเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาบางส่วนนั้นเกิดจากระบบการศึกษา ความเชื่อและค่านิยมทางการศึกษาของคนไทยที่มีมาแต่อดีต รวมทั้งบางส่วนมาจากวิธีการสอนที่ถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่นๆ โดยครูมีบทบาทที่เป็นผู้ให้มากเกินไป(ด้วยความหวังดีหรือความเคยชิน) จนผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นว่าการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นั้นไม่ดี หรือควรจะยกเลิกการสอนแบบเดิมทั้งหมด จริงๆแล้วการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางมีประโยชน์ และเหมาะสมกับการสอนเนื้อหาหลายๆอย่าง ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีชีวิตชีวาและมีความสุขในการเรียน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกเผชิญปัญหาและหาทางแก้ไขด้วยตนเองมากขึ้น เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาก็จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญา นอกจากนั้นยังฝึกให้เขาพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข




แนวความคิดนโยบาย
Ira Sharkansky (1970: 1)  นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
Thomas R. Dye (1984: 1) นโยบายสาธารณะคือ  สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ    ในส่วนที่จะกระทำครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล  ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
James E. Anderson (1994: 5-6)  นโยบายสาธารณะคือ แนวทางการปฏิบัติหรือการกระทำซึ่งมีองค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติหรือชุดของผู้กระทำที่จะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม  โดย  มีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า สิ่งใดที่จะต้องกระทำให้สำเร็จ มิใช่สิ่งที่รัฐบาลเพียงแต่ตั้งใจกระทำหรือเสนอให้กระทำเท่านั้น เป็นการจำแนกให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนโยบายกับ การตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญระหว่างการเลือกทางเลือกที่ต้องเปรียบเทียบกัน (Competing Alternatives)
Kenneth Prewith and Sidney Verba (1983: 652-653) นโยบายสาธารณะ     คือ พันธะสัญญาระยะยาวในการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นแบบแผนของรัฐบาล โดยมุ่งถึงสิ่งที่รัฐบาลกระทำจริงมากกว่าสิ่งที่รัฐบาลพูดดังนั้นเพื่อให้สามารถเข้าใจในนโยบายสาธารณะของรัฐบาลได้อย่างชัดเจน ประชาชนต้องติดตามการบัญญัติกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติและการนำนโยบายไปปฏิบัติของฝ่ายรัฐบาลอย่างใกล้ชิด 
Carl J. Friedrich (1963: 70) นโยบายสาธารณะ คือ ชุดของข้อเสนอเกี่ยวกับการกระทำของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาลภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยปัญหา อุปสรรคและโอกาส  นโยบายจะถูกนำเสนอเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน  โดยมุ่งที่จะกระทำให้บรรลุเป้าหมาย


แผนการดำเนินงานตามนโนบายนโยบายการศึกษา รัฐบาลยิ่งลักษณ์
นโยบายการศึกษา รัฐบาลยิ่งลักษณ์สรุป คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาใน ส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ ๔ ปีของรัฐบาลชุดนี้ นโยบายด้านการศึกษา”   ได้กำหนดไว้ใน นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิตซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วย การยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียม กับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้น โดยวัดผลจากการผ่านการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความเสมอภาค และดำเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอำนาจสู่พื้นที่ให้เสร็จ สมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
๒. สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากร ทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและ ลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา
นอกจากนี้ จะดำเนินการลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ชั้นสูง โดยจัดให้มี โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตโดย ให้ผู้กู้เริ่มใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พักชำระหนี้ แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนการชำระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดำเนิน โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต
. ปฏิรูปครู ยกฐานะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความ สามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบาย แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครู ขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
๔. จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้ สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่ง งานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้ศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ โดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ รวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจำชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้าง ทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน
ทั้ง นี้ จะดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูง ตามความสามารถ
๕. เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยน กระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการ เรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ ไซเบอร์โฮมที่ สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการ ศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนำร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดำเนินการตามภารกิจได้
๖. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทาง ปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐาน ใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสำหรับสาขาวิชาที่จำเป็น พัฒนาโครงสร้างการบริหารงานวิจัยของชาติโดยเน้นความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา
๗. เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อ รองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน อาชีพ และการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม
จุดมุ่งหมายของนโยบายรัฐบาล ๓ ประการ
หลัก การของนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล จะยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่นที่คำนึงถึงพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยรัฐบาลจะรายงานต่อรัฐสภาเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุงนโยบายให้เกิด ประโยชน์ต่อประเทศให้มากที่สุด นโยบายของรัฐบาลมีจุดมุ่งหมาย ๓ ประการ คือ
· ประการที่หนึ่ง เพื่อ นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
· ประการที่สอง เพื่อ นำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลัก นิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อ ประชาชนคนไทยทุกคน
· ประการที่สาม เพื่อ นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง



วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย
การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำฐานข้อมูล โดยวิเคราะห์และสกัดปัจจัยสำคัญออกมา บทความนี้นำเสนอปัจจัยภายนอก 5 ประการสำคัญที่มีผลต่อการจัดการศึกษาไทย ดังนี้
1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ มีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องมีการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในหลักสูตรการเรียนการสอน และปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเนื่องจากโลกวิวัฒการณ์ไปอย่างรวดเร็วดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงเพื่อการก้าวไปข้างหน้าทันยุคทันสมัย เพื่อจะได้มาซึ่งประสิทธิภาะ-ประสิทธิผล
2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลต่อตลาดแรงงานและตลาดการศึกษา เนื่องจากการกำหนดลักษณะของแรงงานที่ต้องการ อาทิ เศรษฐกิจใหม่ จะแข่งขันกันด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น การศึกษาต้องพัฒนาคนให้มีทักษะการทำวิจัย ให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ต้องลดการกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ยังต้องแข่งขันกันด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ การบริหาร ฯลฯ
3. ปัจจัยด้านระบบราชการ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเคลื่อนไปอย่างยากลำบาก เนื่องด้วยระบบราชการเป็นอุปสรรค ซึ่งเกิดจาก ความล่าช้าในการประสานงาน เนื่องจากการทำงานตามระบบราชการไทย มักทำงานแบบต่างคนต่างทำไม่ไปในทิศเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของการรวมศูนย์ที่ส่วนกลางมากเกินไป การทำงานแบบราชการ ที่ยึดกฎระเบียบตายตัว ขาดความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาและครูบางส่วนที่ไม่ยอมปรับตัวเพราะเรื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างที่ครูหรือผู้บริหารบริหารบางคนไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนระบบ
4. ปัจจัยด้านการเมือง กล่าวกันว่า การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
อาทิการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณ มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี ศธ. บ่อยมาก คนละ 9 เดือนโดยเฉลี่ย นักการเมืองมอง ศธ. ว่า เป็นกระทรวงที่สร้างผลงานได้ยาก ตำแหน่ง รมว. ศธ. จึงนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อาทิ เป็นรางวัลแก่ผู้สนับสนุนพรรค ผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจึงมิใช่ผู้มีความรู้ในด้านการศึกษาอย่างแท้จริงความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมืองเป้าหมายของนักการเมืองหลายคนคือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทำให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั่นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง อันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย
5. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคมไทยมีเงื่อนไขทางวัฒนธรรมหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ขาดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม สังคมไทยในปัจจุบันขาดความเหนียวแน่น ขาดความร่วมแรงร่วมใจ คนในสังคมจึงมองการศึกษาว่า รักความสนุกและความสบายคนไทยส่วนใหญ่สนใจความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังคมอุปถัมภ์ สังคมไทยยังมีลักษณะสังคมอุปถัมภ์ เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าส่วนร่วม ผู้ที่มีอำนาจมักแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยที่ประชาชนไม่กล้าขัดขวาง เพราะต้องพึ่งพาอาศัย ดังนั้น เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการศึกษา อาจ ขาดการเปิดกว้างทางความคิดและการรับฟังความเห็นของผู้อื่น สังคมไทยมีค่านิยมว่า การมีความคิดที่แตกต่างหรือการเป็นแกะดำ เป็นสิ่งไม่ดี มองผู้ที่คิดแตกต่างเป็นศัตรู และพยายามหักล้างความคิดซึ่งมักกระทำโดยใช้อารมณ์มิได้ใช้เหตุผลเป็นที่ตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนที่ปัจจุบันมุ่งสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่หน่วยงานกำหนดธงพัฒนาระบบการศึกษาไทย จะต้องให้ความสำคัญ และนำไปใช้วิเคราะห์วางแผนกำหนดทิศทางและนโยบาย โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อการพัฒนาการศึกษาไทย เพราะหากแม้ว่าจะมีการขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นมากเพียงใด แต่หากปัจจัยการเมืองไม่ถูกพัฒนาให้เอื้อต่อการจัดการศึกษา ย่อมส่งผลให้การขยับหรือพัฒนาปัจจัยอื่นย่อมกระทำได้ยาก และอาจไม่นำพาสู่ความสำเร็จได้ หากเปรียบเทียบให้ปัจจัยทางการเมือง เปรียบเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยงให้ระบบการศึกษาไทยเติบโตงอกงามผลิดอกออกผลที่มีคุณภาพ แต่หากขาดการหล่อเลี้ยงน้ำที่มากเพียงพอ ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาเหี่ยวเฉา และไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาการจัดการศึกษาไทย จึงขึ้นอยู่กับจุดยืนและภาวะของผู้นำประเทศและผู้นำกระทรวงศึกษาธิการที่ให้ความสำคัญ ผลักดันและสนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย
นโยบายการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ทุกวันนนี้มีนักวิชาการและบุคคลต่างๆ ออกมาวิวิเคราะห์และวิจารณ์การจัดการศึกษาของไทยมากมายซึ่งเสียวส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบทั้งระบบการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว จนทำการศึกษาของไทยและมาตรฐานผู้เรียนของไทยก้าวไม่ทันโลกอย่างรวดเร็วจนทำให้การศึกษาของไทยและมาตรฐานผู้เรียนของไทยก้าวไม่ทันโลก จึงสมควรที่จะหันกลับมามองและคิดว่าเกิดอะไรขึ้น โดยวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษาของไทยและพิจารณาว่ามีแนวทางใดที่จะพัฒนาการศึกษาของไทยในปัจจุบันและวางแผนเกี่ยวกับการศึกษาของไทยในอนาคตของไทยและพิจารณาว่ามีแนวทางใดที่จะพัฒนาการศึกษาของไทยในปัจจุบันและวางแผนเกี่ยวกับการศึกษาในอนาคตของไทย โดยการพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ สอดคล้องกับความเป็นไทยในบริบทโลก ถ้าจะมาวิเคราะห์นโยบายการศึกษาไทยถ้าจะมาวิเคราะห์นโยบายการศึกษาไทย จะพบว่ามีกำหนดไว้ในเอกสารของเอกสารของราชการหลายแหล่งที่สำคัญมี 4แหล่ง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา (สุโขทัยธรรมาธิราชมหาวิทยาลัย. 2536 :379-381)นโยบายสมัยดั้งเดิมของไทยเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ยังไม่มีระบบโรงเรียน การศึกษาสมัยใหม่เริ่มในรัชกาลที่ 5 เน้นผลิตกำลังคนเข้ารับราชการ นโยบายการศึกษาสมัยเริ่มการปกครองระบอบประชาธิปไตย เน้นพื้นฐานการเป็นพลเมืองดี การเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตย ในช่วงยุคสงครามโลกเน้นความเป็นชาตินิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นการขยายตัวของการศึกษาทุกระดับ ในสมัยประชาธิปไตยเปลี่ยนชื่อโครงการศึกษามาเป็นแผนการศึกษาชาติ และมีการกำหนดนโยบายการศึกษาในรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งนโยบายการศึกษาสมัยพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ กำหนดนโยบายและทิศทางของการพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการขยายการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และเมื่อพิจารณานัยแห่งเจตนารมณ์บางมาตราในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แสดงเจตจำนงของรัฐและรัฐบาลอย่างชัดเจนในเรื่องนโยบายการศึกษาของไทย โดยให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์องค์ประอบของนโยบายการศึกษานี้ ตามแนวทางทั้ง 4 ลักษณะ ตามโครงสร้างและกระบวนการ คือ 1. นโยบายในฐานะแม่บทของการบริหาร 2. นโยบายในฐานะส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษา 3. นโยบายในฐานะเป็นกรอบของการปฏิบัติ และ 4. นโยบายในฐานะเป็นกระบวนการ จะเห็นว่านโยบายการศึกษามีความชัดเจนเป็นแม่บทของการบริหาร ครอบคลุมหน่วยงานทุกระดับ เป็นแม่บทของการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และยังมีการกำหนดเงื่อนไขของระยะเวลาที่ปฏิบัติ มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจลังคม ซึ่งมีการปรับตามความเหมาะสมว่าควรเร่งพัฒนาคนอย่างไร ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 8 จนถึงปัจจุบันฉบับที่ 10 ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงพัฒนาการศึกษาให้ทันยุคทันการเปลี่ยนแปลงของโลก และนโยบายในฐานะที่เป็นกรอบของการปฏิบัติ คือ มีทั้งแนวทางปฏิบัติและกฎเกณฑ์ปรากฏชัดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ส่วนในฐานะของกระบวนการ ก็คือ เมื่อมีการกำหนดนโยบาย ก็ต้องมีการนำโยบายไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการประเมินผล และนำผลย้อนกลับมาพิจารณาตัดสินว่า นโยบายควรมีพลวัต ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก ซึ่งประการนี้ก็ปรากฏให้เห็นว่า เจตจำนงของผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายมีการพิจารณาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจริง ดังปรากฏตามวาระเมื่อมีการเปลี่ยนสมัยของรัฐบาลเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติในรูปนโยบายและแผน เป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าชัดเจน ซึ่งถ้าเปรียบนโยบายเป็นหางเสือในการเดินเรือไปตามทิศทางที่กำหนด และแผนเป็นการจัดเตรียมสัมภาระต่างๆที่ใช้ในการเดินเรือ ตลอดจนตรวจสภาพเรือก่อนออกเดินทาง นโยบายและแผนก็ดูเหมือนพร้อมที่จะนำพาการศึกษาของไทยไปสู่จุดมุ่งหมาย ถ้าพิจารณาวัตถุประสงค์ ที่ว่าจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6) โดยมุ่งปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งพาตนเองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง (มาตรา 7) (สำนักนโยบายและแผนการศึกษาฯ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2543) ทิศทางก็ยิ่งชัดเจน ส่วนนโยบายข้อที่ 1 คือ ความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เร่งจัดการศึกษาให้บุคลมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยมีเป้าหมายความสำเร็จภายในไม่เกิน 5 ปี นโยบายข้อที่ 2 เป็นเรื่องการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา ซึ่งก็กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติไว้ นโยบายข้อที่ 3 เกี่ยวกับปฏิรูประบบริหารและการจัดการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของส่วนที่เกี่ยวข้อง นโยบายข้อที่ 4 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิตครู การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชัพชั้นสูง(มาตรา 9 (4), 52) นโยบายข้อที่ 5 หลักสูตร และนโยบายข้อที่ 6 กระบวนการเรียนรู้ จะเห็นว่านโยบาย 2 ข้อนี้ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ นโยบายข้อที่ 7 เกี่ยวกับทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาและนโยบายข้อที่ 8 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้มีแนวทางและกติกาการจัดรูปแบบการจัดการศึกษาของชาติไว้อย่างละเอียดและครบถ้วนสมบูรณ์ จึงนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า “ปัญจปฏิรูป” (ธีระ รุญเจริญ. 2550: 9) การนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ มีการประเมินตลอดทั้งผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการการศึกษาและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมีนักวิชาการทำการวิจัยถึงผลของการปฏิบัติการ ซึ่งปรากฏเป็นข่าวให้รับทราบกันตลอดเวลา เพราะแนวทางหนึ่งในการกำกับนโยบายก็คือ การศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการกำกับติดตามนโยบาย ที่ดูเหมือนคนในชาติแทบทุกส่วนพยายามทำหน้าที่นี้ ซึ่งก็เป็นข้อดีสำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้มีหน้าที่ในการตัดสินใจกำหนดนโยบายจะได้มีข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังเช่นในรัฐบาลปัจจุบันที่มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีวาระการทำงานเพียง 1 ปี ได้แถลงนโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษา ว่าในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีจะต้องทำงานด้านการศึกษาให้เป็นรูปธรรม โดยทบทวน 3ประเด็นหลัก อันเป็นที่มาของนโยบายการศึกษาดังนี้ 1. การปรับแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลที่แล้ว ได้แก่ การจัดอัตรารับรองข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปัญหาเงินวิทยฐานะ 2. การเสริมเติมเต็มการปฏิรูปการศึกษาให้เดินทั้งระบบและครบกระบวนการ 3. ปรับแต่งให้การปฏิรูปการศึกษาสอดคล้อง-สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง และได้นำ 3 ส่วนนี้มากำหนดเป็นนโยบายปฏิรูปการศึกษา 6 ประการ ซึ่งได้แก่ 1. เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ 2. ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 3. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ 4. กระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา 5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชนและท้องถิ่น 6. การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สร.สาร สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ.7(พ.ย. 2549:1-5) นอกจากนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายในงานเฉลิมฉลอง “5 ทศวรรษ ครุศาสตร์ จุฬาฯ-ร่วมเฉลิมฉลอง 90 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ 115 ปีการฝึกหัดครูไทย” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับโอกาสและความหวังของการศึกษาไทย โดยวิเคราะห์ว่าโอกาสและความหวังของการศึกษาไทยขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ โดยปัจจัย 2 ประการแรก คือ เจตจำนงแห่งรัฐและเจตจำนงแห่งรัฐบาลนั้นเป็นโอกาส เนื่องจากมีความชัดเจนในนโยบายที่สนับสนุนด้านการศึกษา ปัจจัยที่ 3 คือเจตจำนงแห่งประชาชน ก็ถือเป็นปัจจัยสนับสนุน เพราะประชาชนทุกระดับให้ความสนใจในเรื่องการศึกษามากขึ้น แต่ปัญหา คือ ปัจจัยที่ 4 ประเทศไทยนั้นยังวิกฤตเรื่องขาดภาวะผู้นำทางการศึกษา ทั้งระดับรัฐและระดับองค์การ จึงสมควรที่จะสร้างผู้นำไม่ใช่รอให้เกิดเอง และปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยเกื้อหนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยี ซึ่งยังขาดกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ให้ทรัพยากรที่มีสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โลกดูเหมือนจะถูกย่อให้เล็กลงด้วยวิทยาการก้าวหน้าด้านการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้กลายเป็นโลกไร้พรมแดน และทำให้คนบนโลกทีการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษยชาติหรือที่เรียกว่า “โลกาภิวัตน์” ที่นำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศใหม่ อันมีผลกระทบต่อทุกชาติ ทุกภาษารวมทั้งประเทศไทย ถึงแม้กระแสโลกาภิวัตน์จะมีประโยชน์มากมายแต่ก็นำมาซึ่งสิ่งไม่ดีที่แฝงมาด้วย และก่อให้เกิดโทษมากมาย ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันทุกวันนี้ มีข่าวและประเด็นต่างๆที่มีผู้นำเสนอผลงานวิจัยบ้าง ออกมาวิจารณ์แสดงความคิดเห็นบ้าง ถึงความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทย ทั้งการปฏิรูปการศึกษาที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ คุณภาพผู้เรียนตกต่ำ ปัญหาครูไม่มีคุภาพ หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องการบ้าง ซึ่งผลงานส่วนใหญ่กระทรวงศึกษาก็รับไปเต็มๆ เช่น ตัวอย่างข่าวการศึกษา (คม-ชัด-ลึก 17 สิงหาคม 2550) ระบบการศึกษาไทยห่วย มหาวิทยาลัยถูกคุมเข้ม-หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน  ศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวเปิดพร้อมปาฐกถาพิเศษ ในงานสัมมนาวิชาการครบรอบ 30ปี ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโก-มหาวิยาลัยหอการค้าไทย เรื่อง ยุทธศาสตร์ด้านไอทีต่อการพัฒนาองค์ความรู้ ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงปัญหา ระบบการศึกษาไทยระดับอุดมศึกษาค่อนข้างแย่มาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยถูกควบคุมเยอะมาก หลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่ดี  รศ.วิทยา เชียงกูลควรสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนา  คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง สภาวะการศึกษาไทย ปีพ.ศ. 2549-2550 “รัฐบาลจัดสรรงบด้านการศึกษาให้ถึง 21% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ –จีดีพี แต่ตัวเลขของเด็กที่มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาลดลงจากเมื่อ 4 ปีที่แล้ว นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่า(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: 17  นักวิชาการชี้ปัญหาการศึกษาไทยถึงขั้นโคม่าสิงหาคม 2550)  ทั้งปัญหาขาดคนเก่งมาเป็นครู ใช้งบประมาณไม่มีประสิทธิภาพ มาตรฐานผู้เรียนค่อนข้างวิกฤต มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เอกชนยังมีส่วนร่วมจัดการศึกษาไม่เต็มที่ แถมไร้ผู้นำทางการศึกษาในทุกระดับ  ดร.เลขา(ข้อคิดจาก ศ.ดร.บุญเสริม วีสกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา กระจายอำนาจการบริหารการศึกษาสู่โรงเรียนหรือสถานศึกษา 2. การประกันคุณภาพ 3. การฝึกหัดครูและความเป็นผู้นำในด้านการศึกษา 4. การให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในโรงเรียน 5. งบประมาณและการโอนการศึกษาให้ภาคเอกชน 6. การขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 7. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษา 8. การศึกษากับประเด็นทางการเมือง มีหลายแนวคิดที่เสนอแนะให้กับการพัฒนาการศึกษาของไทย เริ่มมีคนบางกลุ่มที่ไมเชื่อในระบบโรงเรียน ได้นำการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือ Home School มาใช้อีก การศึกษาไทยในทศวรรษนี้ หรือการที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้โลกแคบเข้า เกิดความร่วมมือและแข่งขันในด้านต่างๆสูง จำเป็นต้องสร้างปัจจัยอันเป็นข้อได้เปรียบในการพัฒนา โดยพัฒนาคุณภาพประชากร กำลังคน เทคโนโลยีสารสนเทศ การให้คนไดรับการศึกษาสูงขึ้น โดยมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต โดยการมุ่งการศึกษาตลอดชีวิต เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เร่งการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้มากขึ้น ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ มีอีกแนวทางที่น่าสนใจ ในหนังสือ อาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา ซึ่งมี ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เป็นบรรณาธิการ เสนอ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมฐานความรู้ (สุดาพร ลักษณียนาวิน .2550) การพัฒนาประเทศไทยซึ่งมีภาคเกษตรเป็นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจ ควรพัฒนาสินค้าทางเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร หรือสินค้าแปรรูปจึงจะเหมาะสมการศึกษาต้องเกิดจากความเข้าใจสภาพของผู้เรียนรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน เช่น ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สื่อ รวมทั้งสภาพสังคมนอกห้องเรียน การศึกษาตามทฤษฎีสานสร้างความรู้จากสังคม มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งแนวคิดนี้เสนอวิธีการเรียนการสอนหลายรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -Based Learning) การเรียนรู้ที่มีวิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) และการเรียนรู้ด้วยการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Learning) ในภาพรวมสรุปว่านโยบายการศึกษาของไทยนั้นชัดเจน ทั้งกฎหมายที่เป็นบทบัญญัติ ทั้งภาคการเมืองและประชาชนก็มีส่วนสนับสนุน แต่การที่ยังไม่ส่งผลในการพัฒนาประเทศและประชาชนไทยนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ถ้าจะเทียบกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จในด้านการศึกษา เช่น ผู้นำและผู้กำหนดนโยบายในหลายประเทศได้สร้างวิสัยทัศน์ขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่าประเทศมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศและสังคมโลกที่มีการแข่งขันสูง รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ ได้เสนอวิสัยทัศน์ 2020 โดยเน้นว่า การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความเป็นเอกภาพของประเทศ ความเสมอภาคในสังคม และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ กำหนดวิสัยทัศน์ “โรงเรียนแห่งความคิด ชาติแห่งการเรียนรู้” และรณรงค์ให้การเรียนรู้เป็นวัฒนธรรมของชาติ ส่วนจีน ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง ไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ต่างทบทวนจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในทศวรรษใหม่(ศูนย์ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543:49-56) โดยรวมนโยบายการศึกษาของไทยมีความชัดเจน ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งทุกคนต้องถือปฏิบัติ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ส่วนการนำนโยบายทางการศึกษาไปใช้ ในระยะเวลาที่ผ่านมาสำหรับการศึกษาของไทย มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไป โดยเร่งสร้างเร่งพัฒนาผู้นำทางการศึกษา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อสร้างคุณภาพให้ผู้เรียนที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะไม่มีนโยบายใดที่นำไปปฏิบัติแล้วได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในทันที และใช่ว่าประเทศอื่นจะไม่ประสบปัญหา เพราะประเด็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเผชิญ เมื่อนำนโยบายด้านการศึกษาโดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาไปใช้ในการกระจายอำนาจการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ความมีอิสระในการบริหารตนเอง กับความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบ การกระจายอำนาจการบริหารกับความเสมอภาคทางการศึกษา การเปลี่ยนแลงเทคโนโลยีและวัฒนธรรม การกระจายอำนาจการบริหารกับผลที่ได้รับ รวมถึงการลดขนาดหน่วยงานกลางลงเมื่อมีการกระจายอำนาจ ซึ่งปัญหาก็ขึ้นกับบริบทของประเทศ การจะแก้ปัญหาต้องพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม พิจารณาถึงความเป็นไปได้ของประเทศไทย

สรุปบทความ
นโยบายการศึกษา คือ การ เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทยอันประกอบด้วย การยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากลจัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่ บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญา ท้องถิ่นส่งเสริมการอ่านพร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและ ภาษาถิ่นจัดให้มีระบบการจัดการความรู้ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รอง รับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและ ความเป็นไทยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้นโดยวัดผลจากการผ่านการ ทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคม ไทยจัดให้มีครูดีเพียงพอในทุกห้องเรียนให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษา คุณภาพสูงในทุกพื้นที่พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลกพัฒนาระบบการศึกษาให้ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมมุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจกรวมทั้งสร้าง ความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ความเสมอภาคและดำเนินการให้การศึกษาเป็นพื้น ฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดย การกระจายอำนาจสู่พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม และ สร้างโอกาสทางการศึกษากระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยโดยคำนึงถึงการสร้าง ความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่มซึ่งรวมถึงผู้ยาก ไร้ผู้ด้อยโอกาสผู้พิการผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิดให้ได้รับการ ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็กสนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและ พัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยจัดให้ มีการเทียบโอนวุฒิการศึกษาสำหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่นกลุ่ม แม่บ้านจัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้าง ขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษานอกจากนี้จะดำเนินการลดข้อจำกัดของการ เข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาชั้นสูงโดยจัดให้มีโครงการเงิน กู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตโดยให้ผู้กู้เริ่มใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พักชำระ หนี้แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยปรับเปลี่ยนการชำระหนี้เป็น ระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับ ให้เอื้อต่อการกระจายโอกาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลาง เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมดำเนินโครงการ๑ อำเภอ๑ทุนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศจัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่ง ให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต


บรรณานุกรม

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2071.0
http://www.youtube.com/watch?v=iW66LVL-DIo&list=UURSRIwJzZ4X1RssB7PTahiw&index=9

2 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบเกับกับนโยบายสาธาณะของรัฐบาลเกี่ยวกับรถย์ยนต์คันแรกคะ

    ตอบลบ
  2. ใครพอจะให้ความรู้น้องบ้างคะเแชร์ให้กันหน่อยขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)

วัดหนองโว้ง(พระอารามหลวง)
ตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

พระวิสัน (พธบ./รปม)

รูปแบบ การวิจัย โดย ผศ.(พิเศษ) นภดล สุชาติ พ.บ M.P.H

อ้างอิงจาก http://www.slideshare.net/guest9e1b8/9-presentation-948269

South East Asia University

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ตัวแบบนโยบายสาธารณะสมัยใหม่

กิจกรรมดูงานเชื่อมสายสัมพันธ์ MPA12and MPA13

Download

เสียงปลง

Nonstop - I'm The Sexy Girl - DJ Back Up